อิซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
อิซาเบลแห่งอารากอน (อารากอน: Isabel d'Aragón; สเปน: Isabel de Aragón, ฝรั่งเศส: Isabelle d'Aragon; ค.ศ. 1248 – 28 มกราคม ค.ศ. 1271)[1] เป็นอินฟันตาแห่งอารากอน และเป็นพระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส[2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1270 ถึง ค.ศ. 1271 จากการสมรสกับพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นพระอัยกีทางฝั่งบิดาของอีซาแบลแห่งฝรั่งเศส พระราชินีคู่สมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษที่สันนิษฐานว่าได้รับการตั้งชื่อตามพระองค์
อิซาเบลแห่งอารากอน | |
---|---|
พระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส | |
ครองราชย์ | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 – 28 มกราคม ค.ศ. 1271 |
ประสูติ | ค.ศ. 1248 |
สิ้นพระชนม์ | 28 มกราคม ค.ศ. 1271 (22–23 พรรษา) |
ฝังพระศพ | มหาวิหารแซ็ง-เดอนี |
พระสวามี | พระเจ้าฟีลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส |
พระบุตร | หลุยส์ พระเจ้าฟีลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส รอแบต์ ชาร์ล เคานต์แห่งวาลัว |
ราชวงศ์ | บาร์เซโลนา |
พระบิดา | พระเจ้าไชเมที่ 1 แห่งอารากอน |
พระมารดา | โยลานแห่งฮังการี สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน |
พระราชประวัติ
แก้สายตระกูล
แก้อิซาเบลเป็นพระธิดาของพระเจ้าไชเมที่ 1 ผู้พิชิตแห่งอารากอน[3] กับพระมเหสีคนที่สอง โยลานแห่งฮังการี[4] พระธิดาของพระเจ้าอ็อนด์ราชที่ 2 แห่งฮังการีและโครเอเชีย บิอูลันต์แห่งอารากอน พระเชษฐภคินีคนโตของอิซาเบลอภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งกัสติยาและเป็นพระมารดาของพระเจ้าซันโชที่ 4 พระเจ้าเปโดรที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์สืบทอดตำแหน่งเป็นกษัตริย์แห่งอารากอนต่อจากพระบิดาและเป็นพระบิดาของพระเจ้าอัลโฟนส์ที่ 3 ส่วนพระเจ้าไชเมที่ 2 พระเชษฐาคนที่สองของพระองค์กลายเป็นกษัตริย์แห่งมาจอร์กา
การสมรสและการสิ้นพระชนม์
แก้วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1262 อิซาเบลวัย 15 พรรษาสมรสกับพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (ขณะนั้นยังไม่เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส) พระโอรสวัย 17 พรรษาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 กับมาร์การิดาแห่งพรอว็องส์ในแกลร์มง พระองค์กลายเป็นพระราชินีหลังพระสวามีขึ้นครองบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1270
ในช่วงปี ค.ศ. 1270–1271 ราชตระกูลฝรั่งเศสได้ประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 ระหว่างทำสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ที่ประสบความล้มเหลวในตูนิส ฌ็อง ทริสต็อง พระโอรสคนที่สี่ (ซึ่งอาวุโสเป็นลำดับที่สองในบรรดาพระโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่) วัย 20 พรรษาสิ้นพระชนม์ในตูนิสก่อนหน้าพระองค์สามสัปดาห์ คาดกันว่าทั้งคู่น่าจะสิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิด อีซาแบล พระราชินีแห่งนาวาร์ พระธิดาคนโตสิ้นพระชนม์ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1271 ขณะมีพระชนมายุไม่ถึง 30 พรรษา มาร์เกอรีต ดัชเชสแห่งบราบ็องต์ พระธิดาคนที่สามสิ้นพระชนม์หลังคลอดบุตรในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1271 ด้วยวัยเพียง 16 พรรษา อาลฟงส์แห่งปัวตีเย พระอนุชาของพระนางสิ้นพระชนม์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1271 โดยที่ฌานแห่งตูลูซ พระชายาของอาลฟงส์เสียชีวิตหลังสามีสี่วันในวันครบรอบหนึ่งปีของการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์
ผู้เคราะห์ร้ายอีกหนึ่งคนในช่วงเวลาแห่งโศกนาฏกรรมของราชตระกูลฝรั่งเศสคืออิซาเบลแห่งอารากอน พระสุณิสาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 พระชายาของฟิลิป พระโอรสคนที่สอง อิซาเบลได้ให้กำเนิดพระโอรสธิดาสี่คนที่รอดชีวิตสองคน คือ ฟีลิปที่ต่อมากลายเป็นพระเจ้าฟีลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และชาร์ล เคานต์แห่งวาลัว พระบิดาของพระเจ้าฟีลิปที่ 6 แห่งฝรั่งเศส พระนางติดตามพระสวามีไปทำสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ที่ตูนิส ระหว่างเดินทางกลับ ทั้งคู่แวะพักที่โกเซนซาในคาลาเบรีย วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1271 อิซาเบลแห่งอารากอนในวัยยี่สิบกลาง ๆ ตกจากหลังม้าระหว่างออกเดินทางกลับฝรั่งเศส พระนางกำลังตั้งครรภ์พระโอรสธิดาคนที่ห้า ไม่กี่วันหลังประสบอุบัติเหตุพระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสที่สิ้นพระชนม์ในครรภ์ ความบอบช้ำจากอาการบาดเจ็บและการให้กำเนิดพระโอรสทำให้พระนางสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 มกราคม หลังเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสได้เพียงห้าเดือน
พระเจ้าฟีลิปที่ 3 พระสวามีได้นำร่างของพระองค์และพระโอรสที่สิ้นพระชนม์ในครรภ์กลับไปฝังที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีในฝรั่งเศส[5] หลุมฝังศพของพระนางถูกทำลายพร้อมกับหลุมฝังศพอื่น ๆ ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793
อ้างอิง
แก้- ↑ Rodrigo Estevan, María Luz (2009). "Los testamentos de Jaime I: Repartos territoriales y turbulencias políticas". Cuadernos, Centro de Estudios de Monzón y Cinca Media (in Spanish) (35): 61–90. ISSN 1133-3790, p. 90.
- ↑ Sabine Geldsetzer, Frauen auf Kreuzzügen
- ↑ The new Cambridge medieval history / 5 C. 1198 - c. 1300. by David Abulafia and Rosamond MacKitterick. The standard work of reference on the whole of Europe, east and west, during the thirteenth century. Page 654.
- ↑ The book of deeds of James I of Aragon: a translation of the medieval Catalan Llibre dels Fetsby Damian J Smith and Helena Buffery. Page 139.
- ↑ Alain Erlande-Brandenburg, Le roi est mort. Étude sur les funérailles, les sépultures et les tombeaux des rois de France jusqu'à la fin du xiiie siècle