ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดเสียง"
Rescuing 2 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8 |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ |
||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
'''การถอดเสียง'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20170715173151/http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |date=2017-07-15 }} (สืบค้นออนไลน์)</ref> หรือ '''การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง''' ({{lang-en|Transcription}}) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับ[[การทับศัพท์แบบถอดอักษร]] ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอด[[อักษรซีริลลิก]]เป็น[[อักษรละติน]]สำหรับภาษา[[รัสเซีย]] (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น |
'''การถอดเสียง'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20170715173151/http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |date=2017-07-15 }} (สืบค้นออนไลน์)</ref> หรือ '''[[การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง]]''' ({{lang-en|Transcription}}) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับ[[การทับศัพท์แบบถอดอักษร]] ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอด[[อักษรซีริลลิก]]เป็น[[อักษรละติน]]สำหรับภาษา[[รัสเซีย]] (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น |
||
มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ [[สัทอักษรสากล]] และ แซมปา |
มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ [[สัทอักษรสากล]] และ แซมปา |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:09, 30 กรกฎาคม 2566
การถอดเสียง[1] หรือ การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง (อังกฤษ: Transcription) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอดอักษรซีริลลิกเป็นอักษรละตินสำหรับภาษารัสเซีย (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น
มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ สัทอักษรสากล และ แซมปา
ตารางด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการทับศัพท์ โดยมี การทับศัพท์แบบถอดอักษร และสัทอักษรสากลกำกับ
การทับศัพท์ | |
---|---|
ต้นฉบับ ภาษารัสเซีย (อักษรซีลิลิก) | Борис Николаевич Ельцин |
คำทับศัพท์แบบถอดอักษรอย่างเป็นทางการ (GOST) | Boris Nikolaevič El'cin |
คำทับศัพท์แบบถอดอักษรในทางวิชาการ | Boris Nikolajevič Jel’cin |
คำทับศัพท์แบบถ่ายเสียงในลักษณะสัทอักษรสากล | เปลี่ยนคำพูดภาษาอื่นๆเป็นภาษาไทย |
เขียนชื่อบุคคลเดิมในภาษาอื่น | |
ภาษาอังกฤษ | Boris Nikolayevitch Yeltsin |
ภาษาเยอรมัน | Boris Nikolajewitsch Jelzin |
ภาษาฮิบรู | בוריס ניקולאייביץ' יילצין |
ภาษาสเปน | Borís Nikoláievich Yeltsin |
ภาษาตุรกี | Boris Nikolayeviç Yeltsin |
การทับศัพท์ในภาษาต่างๆ
คำเดียวกันมักจะมีการทับศัพท์แตกต่างกัน ถ้าใช้ระบบที่ต่างกัน เช่นในภาษาจีน ชื่อเมืองหลวง ปักกิ่ง ได้มีการทับศัพท์ 2 แบบ คือ Beijing ในระบบฮั่นหยู่พินอิน และ Pei-Ching ในระบบWade-Giles
การทับศัพท์จากภาษาอื่นไปเป็นภาษาจีน ใช้การเขียนคำศัพท์ที่มีเสียงใกล้เคียง เช่นชื่อ บุช ในชื่อจอร์จ บุช ทับศัพท์ในภาษาจีนเป็น "โบวซู" (布殊) โดยตัวอักษรมีความหมายว่า "ผ้า" และ "พิเศษ" สำหรับภาษาญี่ปุ่น คำทับศัพท์จากภาษาอื่นมา จะถูกเขียนในตัวอักษรคาตากานะ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการเขียนของภาษาญี่ปุ่น
ในภาษาไทย ระบบการทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถานเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้สำหรับเอกสารทางราชการในประเทศไทย และยังคมนิยมใช้เป็นมาตรฐานหลักในประเทศไทย โดยมีระบบสำหรับการทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษามลายู ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาอิตาลี นอกจากนี้การทับศัพท์จากภาษาไทยเป็นตัวอักษรละติน ในระบบ ALA-LC โดย The Library of Congress [2] และ มาตรฐาน ISO 11940 (ค.ศ. 1998) แบบถ่ายถ่ายทอดตัวอักษรโดยระบบของแอนซี
ภายหลังจากการทับศัพท์
ภายหลังจากการทับศัพท์ เสียงต้นฉบับของคำอาจจะมีการสูญหายไป เนื่องจากมีการพัฒนาระบบของแต่ละภาษาแตกต่างกันไป หรือมีการนำคำศัพท์เดิมในรูปแบบตัวอักษรไปเขียนและอ่านในภาษาใหม่แทนที่ เช่น คำว่า ฌาน ในภาษาบาลี หรือ ธฺยาน ในภาษาสันสกฤต เขียนในอักษระละตินว่า Dhyāna ต่อมาได้ทับศัพท์ในภาษาจีนว่า ฌาน (禪) และชาวญี่ปุ่นได้นำศัพท์ภาษาจีน ไปใช้ในรูปแบบของอักษรคันจิของภาษาญี่ปุ่นในอักษรเดิมแต่อ่านว่า เซน (禅, ゼン) หลังจากนั้นภาษาอังกฤษได้มีการนำศัพท์คำว่า เซน จากภาษาญี่ปุ่นทับเป็นคำว่า zen ซึ่งคำต้นฉบับคือคำว่า dhyāna ได้เปลี่ยนเป็น Zen ในการทับศัพท์หลายครั้ง
ดูเพิ่ม
การทับศัพท์เฉพาะภาษา
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษามลายู
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาเยอรมัน
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษารัสเซีย
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาสเปน
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอาหรับ
- การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอิตาลี
อ้างอิง
- ↑ ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นออนไลน์)
- ↑ ระบบการทับศัพท์ภาษาไทยเป็นอักษรละติน ระบบ ALA-LC
แหล่งข้อมูลอื่น
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ระบบราชบัณฑิตยสถาน ใน ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษามลายู ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาอิตาลี
- ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลศัพท์บัญญัติ ในสาขาต่าง ๆ