ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การแรงงานระหว่างประเทศ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{Infobox |
{{Infobox organization |
||
| name = องค์การแรงงานระหว่างประเทศ |
| name = องค์การแรงงานระหว่างประเทศ |
||
| |
| logo = Flag of ILO.svg |
||
| logo_size = 175px |
|||
|caption = ธง |
|||
| logo_caption = ธง |
|||
⚫ | |||
| image = ILO Geneva.JPG |
|||
⚫ | |||
| image_size = 260px |
|||
⚫ | |||
| caption = สำนักงานใหญ่ไอแอลโอ ณ เจนีวา |
|||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
| languages = {{hlist|[[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]|[[ภาษาสเปน|สเปน]]|[[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]}} |
|||
⚫ | |||
| leader_title = ผู้อำนวยการ |
|||
| website = {{URL|https://www.ilo.org/global/lang--en/index.htm|www.ilo.org}} |
|||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
⚫ | |||
| footnotes = |
|||
⚫ | |||
⚫ | |||
| website = {{official URL}} |
|||
⚫ | |||
⚫ | |||
}} |
}} |
||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:34, 14 กรกฎาคม 2567
ธง | |
สำนักงานใหญ่ไอแอลโอ ณ เจนีวา | |
ชื่อย่อ | ไอแอลโอ |
---|---|
ก่อตั้ง | 11 เมษายน 1919 |
ประเภท | ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินงานอยู่ |
สํานักงานใหญ่ | เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
ภาษาทางการ | |
ผู้อำนวยการ | กิลเบิร์ต ฮองโบ |
องค์กรปกครอง | สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1969) |
เว็บไซต์ | www |
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (อังกฤษ: International Labour Organization; ILO) องค์การไอแอลโอ ตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสันนิบาตชาติ เมื่อ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เป็นองค์การชำนาญเฉพาะเรื่อง และเข้ามาอยู่ในสังกัดของสหประชาชาติเมื่อสันนิบาตชาติถูกยุบลง
ภารกิจหลัก
ภารกิจหลักของไอแอลโอ คือช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานทั่วโลกให้ได้รับความยุติธรรมจากสังคม ให้มีชีวิต และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น ผลงานขององค์การทำให้ได้รับรางวัลโนเบล เพื่อสันติภาพ เมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) [1] ทั้งนี้โดยที่องค์การยึดมั่นในหลักการที่ว่า สันติสุขแห่งโลกจะเกิดขึ้นได้และมีความต่อเนื่องมั่นคงก็ด้วยการที่มีความยุติธรรมในสังคม มีฐานรากคือ ความเคารพในสิทธิมนุษยชน มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี มีสภาพการทำงานซึ่งเกื้อกูลความผาสุกของผู้ใช้แรงงาน การมีโอกาสทำงานและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานของไอแอลโอ
ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานของไอแอลโอ คือจัดให้มีการเจรจาร่วมของผู้เกี่ยวข้องสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายแรงงาน ในกรณีที่มีความขัดแย้งและพยายามแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ภารกิจขององค์การนี้ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกมีความหลากหลายและยุ่งยาก เพราะประเทศต่างๆ มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้าง รายได้และสวัสดิการสังคม การพาณิชย์ การลงทุน แรงงาน ปัญหาด้านสังคมและแรงงาน ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศที่เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆ อีกมากมาย
ไอแอลโอ จัดลำดับเรื่องสำคัญรีบด่วนไว้สามประการ คือ
- การจัดให้มีงานทำและขจัดความยากจน
- การคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน
- ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิแห่งมนุษยชน
ในข้อแรกไอแอลโอ ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการฝึกอบรมผู้ใช้แรงงานให้มีประสิทธิภาพ ในข้อที่สอง ไอแอลโอ ช่วยประเทศต่างๆ ให้เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัย และให้ตระหนักถึงภัยที่เกิดจากการทำงานในโรงงาน ในข้อที่สามไอแอลโอช่วยเหลือในการออกกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับนายจ้าง สนับสนุนองค์การของผู้ใช้แรงงาน ได้กำหนดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งช่วยในการสร้างเสริมประชาธิปไตยและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
สำนักงานประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
องค์การไอแอลโอ มีสำนักงานภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศหลายแห่งในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ จัดการฝึกอบรม ทำการศึกษาวิจัย เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างรัฐบาล แรงงานและนายจ้าง ในระดับประเทศ สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร