ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารีตและวิถีประชา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
[[ไฟล์:National-stereotypes.jpg|thumb|250px|right|หนังสือสำหรับเด็กในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขียนไว้ว่า[[ชาวดัตช์]]เป็นเชื้อชาติที่ขยันขันแข็ง และ[[ชาวจีน]]เป็นเชื้อชาติที่เคารพเชื่อฟังญาติผู้อาวุโสอย่างสูง]] |
|||
ในทาง[[สังคมวิทยา]] '''จารีต''' ({{lang-en|mores}}) เป็น[[บรรทัดฐาน]]ที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม ({{lang-en|taboo}}) เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย<ref>มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย''. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5 และหน้า 17.</ref> |
ในทาง[[สังคมวิทยา]] '''จารีต''' ({{lang-en|mores}}) เป็น[[บรรทัดฐาน]]ที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม ({{lang-en|taboo}}) เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย<ref>มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย''. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5 และหน้า 17.</ref> |
||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:26, 23 ตุลาคม 2553
ในทางสังคมวิทยา จารีต (อังกฤษ: mores) เป็นบรรทัดฐานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม (อังกฤษ: taboo) เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย[1]
ส่วน วิถีประชา (อังกฤษ: folkways) เป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่คนยอมรับนับถือจนเกิดความเคยชิน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่ และไม่มีกฎหมายข้อบังคับใด ๆ สั่งให้ปฏิบัติ กับทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่คนคาดหวังกันว่าคนอื่นจะทำหรือไม่ทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การยกมือไหว้ หรือการสวมชุดดำในงานศพ โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางพฤติกรรม ไม่มีการบังคับควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อมีการละเมิดผู้ละเมิดก็เพียงได้รับคำติฉินนินทา
จารีต
จารีตประเพณีนั้นวิวัฒนามาจากศีลธรรม (อังกฤษ: morality) ซึ่งเกิดแต่ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แต่ละคนว่าการกระทำอย่างไรชอบ อย่างไรไม่ชอบ เกิดจากมโนสำนึกและมโนธรรมของแต่ละคน[2] มีขึ้นได้เพราะแต่ละคนมีสติปัญญาจะหยั่งรู้ว่าเมื่อตนกระทำอย่างไรไปแล้ว อีกฝ่ายจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร และจะมีปฏิกิริยาอย่างไร[3]
ศีลธรรมนั้นมีอยู่ในทุกสังคมมาแต่โบราณกาล และเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติอย่างเดียวกับกฎหมายเช่นกัน แต่ก็มีความแตกต่างกับกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ศีลธรรมมีวัตถุประสงค์มุ่งเอาความสมบูรณ์ของจิตใจ เน้นมโนสำนึกเป็นหลัก ส่วนกฎหมายนั้นเน้นรักษาความสงบของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งบางทีก็ไม่เกี่ยวกับมโนสำนึก เช่น การคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ในใจ กฎหมายไม่ถือว่าผิด แต่ทางศีลธรรมว่าเป็นผิดเป็นชั่ว อย่างไรก็ดี ศีลธรรมกับกฎหมายนั้นก็มีความสัมพันธ์กันในฐานะที่เป็นวิวัฒนาการแห่งกัน เป็นต้นว่า มีกฎหมายหลายบทหลายมาตราที่กำหนดว่าการกระทำที่ขัดต่อ "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่รับรู้ แต่กรณีนี้ต้องเป็นศีลธรรมที่คนหมู่ยืดถือร่วมกัน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง และต้องเป็นศีลธรรมอันดีด้วย[4]
อันศีลธรรมนั้น หากเป็นของที่คนหมู่ซึ่งประกอบอาชีพลักษณะเดียวกันถือร่วมกัน ศีลธรรมของวิชาชีพนั้นจะเรียก "จริยธรรม" (อังกฤษ: ethics) เช่น จริยธรรมของแพทย์ จริยธรรมของนักกฎหมาย
เมื่อศีลธรรมนั้นได้รับการประพฤติปฏิบัตินานเข้า ๆ และเกิดความรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติเช่นนั้น ก็กลายเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติที่เรียกว่า "จารีตประเพณี" ดังกล่าวมาแล้ว จารีตประเพณีนี้มีสภาพบังคับสำหรับกรณีที่มีการฝ่าฝืน คือ สมาชิกในสังคมนั้นจะร่วมกันประณามหรือเกิดความรู้สึกเป็นผิดเป็นชั่วสำหรับผู้ฝ่าฝืนจารีตประเพณี ซึ่งสภาพบังคับเช่นนี้บางทีก็ไม่ชัดเจน กระนั้น จารีตประเพณีเป็นเรื่องอันครอบคลุมทุกมิติของสังคมมากกว่ากฎหมาย กฎหมายจึงใช้จารีตประเพณีอุดช่องว่างของกฎหมาย เช่น ที่กำหนดในประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ของไทยว่า ในกรณีที่กฎหมายไม่ครอบคลุม ก็ให้เอาจารีตประเพณีมาใช้[5]
ประเภทของวิถีประชา
วิถีประชาสามารถจำแนกได้ดังนี้[6]
- สมัยนิยม (อังกฤษ: fashion) เป็นปทัสถานทางสังคมที่แสดงออกถึงความนิยมของกลุ่มคนซึ่งแพร่หลายไปรวดเร็วในช่วงเวลาหนึ่ง และก็เสื่อมไปรวดเร็วเช่นกัน ในช่วงแพร่ระบาดนั้น คนในสังคมทั่วไปมีความรู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม มิเช่นนั้นก็ถูกว่า "เชย" เป็นต้น เช่น เรื่องแบบทรงผม แบบเครื่องแต่งกาย
- ความนิยมชั่วครู่ (อังกฤษ: fad) เป็นแบบพฤติกรรมเพียงผิวเผินและไม่จริงจัง เปลี่ยนแปลงง่าย รวดเร็ว มาเร็วไปเร็ว เช่น สมัยหนึ่งคนไทยเคยสนทนากันด้วยสำนวน "อย่าให้เซด"
- ความคลั่งไคล้ (อังกฤษ: craze) เป็นเรื่องราวของความไม่มีเหตุผล เมื่อครอบงำผู้ใดแล้วผู้นั้นก็มักประพฤติปฏิบัติในในทำนองโง่เขลาเบาปัญญา หมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่ตนคลั่งไคล้เป็นต้น เช่น การคลั่งไคล้ดารานักร้อง
- งานพิธี (อังกฤษ: ceremony) เป็นการแสดงออกซึ่งเกียรติยศ ความมีหน้ามีตา ยังผลให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน สนับสนุนความสมานฉันท์ภายในกลุ่ม แต่ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ เช่น งานฉลองวันครบรอบวันเกิด งานฉลองวันครบรอบวันสมรส เป็นต้น
- พิธีการ (อังกฤษ: rite) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่มีลำดับขั้นตอนแน่นอน และต้องทำซ้ำ ๆ เช่น วันพระ วันสงกรานต์ วันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ วันมาฆบูชา
- พิธีกรรม (อังกฤษ: ritual) เป็นแบบแผนพฤติกรรมตามความเชื่อที่มักไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั้งหมด เช่น พิธีรับน้องใหม่
- มารยาททางสังคม (อังกฤษ: etiquette) เป็นการปฏิบัติตนให้เหมาะสมแก่กาลเทศะในการสมาคม เช่น มรรยาทในการรับประทานอาหาร การโดยสารรถประจำทางควรลุกให้เด็ก คนชรา และสตรีมีครรภ์นั่ง เป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5 และหน้า 17.
- ↑ มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 13.
- ↑ ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. หน้า 6.
- ↑ มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 14.
- ↑ มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 17.
- ↑ มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ‘‘ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย.’’ มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 4-5.