ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัทอักษรสากล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: io:Internaciona fonetik alfabeto
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 226: บรรทัด 226:


[[หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:สัทอักษร]]
[[หมวดหมู่:สัทอักษรสากล|*]]


{{Link GA|en}}
{{Link GA|en}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:32, 15 สิงหาคม 2555

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2005

สัทอักษรสากล (อังกฤษ: International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไทย

ประวัติ

สัทอักษรสากลเมื่อเริ่มแรกพัฒนาขึ้นโดยคณะของครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งนำโดย พอล แพสซี พร้อม ๆ กับการก่อตั้งสมาคมสัทศาสตร์สากลขึ้นในกรุงปารีสเมื่อ ค.ศ. 1886 (ทั้งสมาคมและสัทอักษรสากลใช้คำย่อในภาษาอังกฤษว่า IPA เหมือนกัน) สัทอักษรสากลรุ่นแรกอย่างเป็นทางการได้รับการตีพิมพ์ใน Passy (1888) โดยคณะผู้พัฒนาใช้อักษรโรมิก (Romic alphabet) ของ เฮนรี สวีต (Sweet 1880-1881, 1971) เป็นพื้นฐาน ซึ่งอักษรโรมิกนั้นก็นำรูปแบบมาจากอักษรฟอนอไทปิก (Phonotypic Alphabet) ของ ไอแซก พิตแมน และ แอลิกแซนเดอร์ จอห์น เอลลิส อีกทีหนึ่ง (Kelly 1981)

หลังจากนั้น สัทอักษรสากลได้ผ่านการชำระปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งมีขึ้นในการประชุมของสมาคมฯ ที่คีลเมื่อ ค.ศ. 1989 การชำระครั้งล่าสุดมีขึ้นใน ค.ศ. 1993 และมีการปรับปรุงอีกครั้งใน ค.ศ. 1996

รายละเอียด

ในชุดสัทอักษรสากล ส่วนใหญ่ของสัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีรูปร่างเหมือนกับพยัญชนะในอักษรละตินนั้น จะมีค่าของเสียง (sound-value) สัมพันธ์กับเสียงของพยัญชนะเดียวกันในภาษายุโรปส่วนใหญ่ รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย สัญลักษณ์ในประเภทนี้ประกอบด้วย [p], [b], [t], [d], [k], [g], [m], [n], [f], [v], [s], [h], [z], [l], [w]

สัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงสระที่มีรูปร่างเหมือนกับสระในอักษรละติน ซึ่งได้แก่ [a], [e], [i], [o], [u] จะมีค่าของเสียงสัมพันธ์กับสระเดียวกันในภาษาเยอรมัน สเปน หรืออิตาลี โดยประมาณ หรืออาจเทียบกับเสียงสระในภาษาไทยได้เป็น อะ, เอะ, อิ, โอะ และ อุ ตามลำดับ

สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เหลือในส่วนที่นำมาจากอักษรละตินนั้น เช่น [j], [r], [c] และ [y] จะสัมพันธ์กับเสียงของตัวอักษรเดียวกันในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น [j] มีค่าของเสียงเหมือนกับ j ในภาษาเยอรมัน สแกนดิเนเวีย หรือดัตช์ หรืออาจเทียบได้กับเสียง ในภาษาไทย เป็นต้น ข้อสำคัญของหลักเกณฑ์การกำหนดใช้สัทอักษรสากลคือ ใช้สัญลักษณ์เพียงตัวเดียวสำหรับหน่วยเสียงแต่ละหน่วย โดยหลีกเลี่ยงการประสมอักษรอย่างเช่น sh และ th ในการเขียนภาษาอังกฤษ

บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์

แผนภูมิสัทอักษรสากล

พยัญชนะ (ใช้ลมปอด)

ตำแหน่งเกิดเสียง ริมฝีปาก ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง โคนลิ้น (ไม่มี)
ลักษณะการออกเสียง ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ช่องคอ ลิ้นปิดกล่องเสียง เส้นเสียง
นาสิก    m    ɱ    n    ɳ    ɲ    ŋ    ɴ  
ระเบิด p b t d ʈ ɖ c ɟ k ɡ q ɢ   ʡ ʔ  
เสียดแทรก ɸ β f v θ ð s z ʃ ʒ ʂ ʐ ç ʝ x ɣ χ ʁ ħ ʕ ʜ ʢ h ɦ
เปิด    β̞    ʋ    ɹ    ɻ    j    ɰ      
รัว    ʙ    r    *    ʀ    *  
ลิ้นกระทบหรือลิ้นสะบัด    ̟ (ѵ̟)     (ѵ)    ɾ    ɽ          *  
เสียดแทรกข้างลิ้น ɬ ɮ *    *    *       
เปิดข้างลิ้น    l    ɭ    ʎ    ʟ  
สะบัดข้างลิ้น      ɺ    *    *    *    
  • ในแถวที่มีสัญลักษณ์ปรากฏคู่กัน (อ็อบสตรูอันต์) ตัวซ้ายมือจะแทนเสียงอโฆษะหรือเสียงไม่ก้อง และตัวขวามือจะแทนเสียงโฆษะหรือเสียงก้อง (ยกเว้น [ɦ] ซึ่งเป็นเสียงพูดลมแทรก) อย่างไรก็ตาม เสียง [ʔ] ไม่สามารถก้องได้ และการออกเสียง [ʡ] ยังกำกวม ส่วนในแถวอื่น ๆ (ซอนอรันต์) สัญลักษณ์ที่อยู่เดี่ยว ๆ ก็จะแทนเสียงโฆษะเช่นกัน
  • ช่องที่มีเครื่องหมายดอกจันหมายถึงเสียงนั้น (ยัง) ไม่มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลอย่างเป็นทางการ
  • ช่องสีเทาแสดงว่าการออกเสียงเช่นนั้นไม่สามารถกระทำได้
  • สัญลักษณ์ [ʁ, ʕ, ʢ] แทนทั้งเสียงเสียดแทรกโฆษะและเสียงเปิดโฆษะ
  • [h] และ [ɦ] ไม่ใช่เสียงเส้นเสียง เสียงเสียดแทรก หรือเสียงเปิดอย่างแท้จริง แต่เป็นการเปล่งเสียงพูด (phonation) มากกว่า

สัญลักษณ์ระบุลักษณะการออกเสียง

ˈ เสียงเน้นหลัก
ˌ เสียงเน้นรอง
ː เสียงยาว
ˑ เสียงกึ่งยาว
˘ เสียงสั้นพิเศษ
. แยกพยางค์ของเสียง
| กลุ่มย่อย (foot)
กลุ่มหลัก (intonation)
เสียงต่อเนื่อง

วงเล็บเหลี่ยมและทับ

การอธิบายถึงสัทอักษรสากล ใช้เครื่องหมายปิดหน้าหลังสองรูปแบบได้แก่

  • [วงเล็บเหลี่ยม] ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดการออกเสียงเชิงสัทศาสตร์ และอาจรวมถึงรายละเอียดที่อาจไม่สามารถใช้จำแนกคำในภาษาที่กำลังทับศัพท์ ซึ่งผู้เขียนก็ยังคงต้องการแสดงรายละเอียดเช่นนั้น
  • /ทับ/ ใช้สำหรับกำกับหน่วยเสียง ซึ่งแตกต่างกันเป็นเอกเทศในภาษานั้น โดยไม่มีรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ

ตัวอย่างเช่น หน่วยเสียง /p/ ในคำว่า pin และ spin ของภาษาอังกฤษ โดยแท้จริงออกเสียงแตกต่างกันเล็กน้อย ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญในภาษาอังกฤษ (แต่ก็อาจมีนัยสำคัญในภาษาอื่น) ดังนั้นการอธิบายการออกเสียงเชิงหน่วยเสียงจึงเป็น /pɪn/ และ /spɪn/ ซึ่งแสดงด้วยหน่วยเสียง /p/ เหมือนกัน อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นความแตกต่างดังกล่าว (เสียงแปรต่าง ๆ ของ /p/) สามารถอธิบายเชิงสัทศาสตร์ได้เป็น [pʰɪn] และ [spɪn]

อ้างอิง

  • Albright, Robert W. (1958). The International Phonetic Alphabet: Its background and development. International journal of American linguistics (Vol. 24, No. 1, Part 3) ; Indiana University research center in anthropology, folklore, and linguistics, publ. 7. Baltimore. (Doctoral dissertation, Standford University, 1953).
  • Ball, Martin J.; Esling, John H.; & Dickson, B. Craig. (1995). The VoQS system for the transcription of voice quality. Journal of the International Phonetic Alphabet, 25 (2) , 71-80.
  • Duckworth, M.; Allen, G.; Hardcastle, W.; & Ball, M. J. (1990). Extensions to the International Phonetic Alphabet for the transcription of atypical speech. Clinical Linguistics and Phonetics, 4, 273-280.
  • Ellis, Alexander J. (1869-1889). On early English pronunciation (Parts 1 & 5). London: Philological Society by Asher & Co.; London: Trübner & Co.
  • Hill, Kenneth C. (1988). [Review of Phonetic symbol guide by G. K. Pullum & W. Ladusaw]. Language, 64 (1) , 143-144.
  • Hultzen, Lee S. (1958). [Review of The International Phonetic Alphabet: Its backgrounds and development by R. W. Albright]. Language, 34 (3) , 438-442.
  • International Phonetic Association. (1989). Report on the 1989 Kiel convention. Journal of the International Phonetic Association, 19 (2) , 67-80.
  • International Phonetic Association. (1999). Handbook of the International Phonetic Association: A guide to the use of the International Phonetic Alphabet. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-65236-7 (hb) ; ISBN 0-521-63751-1 (pb).
  • Jespersen, Otto. (1889). The articulations of speech sounds represented by means of analphabetic symbols. Marburg: Elwert.
  • Jones, Daniel. (1989). English pronouncing dictionary (14 ed.). London: Dent.
  • Kelly, John. (1981). The 1847 alphabet: An episode of phonotypy. In R. E. Asher & E. J. A. Henderson (Eds.) , Towards a history of phonetics. Edinburgh: Edinburgh University Press.
  • Kemp, J. Alan. (1994). Phonetic transcription: History. In R. E. Asher & J. M. Y. Simpson (Eds.) , The encyclopedia of language and linguistics (Vol. 6, pp. 3040-3051). Oxford: Pergamon.
  • Ladefoged, Peter. (1990). The revised International Phonetic Alphabet. Language, 66 (3) , 550-552.
  • Ladefoged, Peter; & Halle, Morris. (1988). Some major features of the International Phonetic Alphabet. Language, 64 (3) , 577-582.
  • MacMahon, Michael K. C. (1996). Phonetic notation. In P. T. Daniels & W. Bright (Ed.) , The world's writing systems (pp. 821-846). New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-507993-0.
  • Passy, Paul. (1888). Our revised alphabet. The Phonetic Teacher, 57-60.
  • Pike, Kenneth L. (1943). Phonetics: A critical analysis of phonetic theory and a technic for the practical description of sounds. Ann Arbor: University of Michigan Press.
  • Pullum, Geoffrey K.; & Laduslaw, William A. (1986). Phonetic symbol guide. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-68532-2.
  • Sweet, Henry. (1880-1881). Sound notation. Transactions of the Philological Society, 177-235.
  • Sweet, Henry. (1971). The indispensible foundation: A selection from the writings of Henry Sweet. Henderson, Eugénie J. A. (Ed.). Language and language learning 28. London: Oxford University Press.
  • Wells, John C. (1987). Computer-coded phonetic transcription. Journal of the International Phonetic Association, 17, 94-114.

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA