ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดเสียง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
[[หมวดหมู่:สัทศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:สัทศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:การเขียน]]
[[หมวดหมู่:การเขียน]]

[[af:Transkripsie]]
[[ar:نسخ لفظي]]
[[bg:Транскрибиране]]
[[ca:Transcripció lingüística]]
[[cs:Transkripce (lingvistika)]]
[[da:Transskription (sprog)]]
[[de:Transkription (Schreibung)]]
[[en:Transcription (linguistics)]]
[[eo:Transskribado (lingvoscienco)]]
[[es:Transcripción (lingüística)]]
[[fa:ترانویسی]]
[[fr:Transcription (linguistique)]]
[[gl:Transcrición]]
[[hu:Átírás (nyelvészet)]]
[[it:Trascrizione]]
[[ja:転写 (言語学)]]
[[ka:ტრანსკრიფცია]]
[[ko:전사 (언어학)]]
[[mk:Транскрипција (лингвистика)]]
[[ml:വരമൊഴി സോഫ്റ്റ്‌വെയർ]]
[[nl:Transcriptie (taal)]]
[[nn:Transkripsjon]]
[[no:Transkripsjon (språkvitenskap)]]
[[pl:Transkrypcja (językoznawstwo)]]
[[ro:Transcriere (lingvistică)]]
[[simple:Transcription (linguistics)]]
[[sk:Transkripcia (jazykoveda)]]
[[sr:Транскрипција (лингвистика)]]
[[sv:Transkription (språkvetenskap)]]
[[tr:Transkripsiyon (dilbilim)]]
[[uk:Транскрипція (лінгвістика)]]
[[zh:音译]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 8 มีนาคม 2556

การถอดเสียง[1] หรือ การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง (อังกฤษ: Transcription) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอดอักษรซีริลลิกเป็นอักษรละตินสำหรับภาษารัสเซีย (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น

มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ สัทอักษรสากล และ แซมปา

ตารางด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการทับศัพท์ โดยมี การทับศัพท์แบบถอดอักษร และสัทอักษรสากลกำกับ

การทับศัพท์
ต้นฉบับ ภาษารัสเซีย (อักษรซีลิลิก) Борис Николаевич Ельцин
คำทับศัพท์แบบถอดอักษรอย่างเป็นทางการ (GOST) Boris Nikolaevič El'cin
คำทับศัพท์แบบถอดอักษรในทางวิชาการ Boris Nikolajevič Jel’cin
คำทับศัพท์แบบถ่ายเสียงในลักษณะสัทอักษรสากล [bʌˈɾʲis nʲɪkʌˈɫajɪvʲɪʧʲ ˈjelʲʦɨn]
เขียนชื่อบุคคลเดิมในภาษาอื่น
ภาษาอังกฤษ Boris Nikolayevitch Yeltsin
ภาษาเยอรมัน Boris Nikolajewitsch Jelzin
ภาษาฮิบรู בוריס ניקולאייביץ' יילצין
ภาษาสเปน Borís Nikoláievich Yeltsin
ภาษาตุรกี Boris Nikolayeviç Yeltsin

การทับศัพท์ในภาษาต่างๆ

คำเดียวกันมักจะมีการทับศัพท์แตกต่างกัน ถ้าใช้ระบบที่ต่างกัน เช่นในภาษาจีน ชื่อเมืองหลวง ปักกิ่ง ได้มีการทับศัพท์ 2 แบบ คือ Beijing ในระบบฮั่นหยู่พินอิน และ Pei-Ching ในระบบWade-Giles

การทับศัพท์จากภาษาอื่นไปเป็นภาษาจีน ใช้การเขียนคำศัพท์ที่มีเสียงใกล้เคียง เช่นชื่อ บุช ในชื่อจอร์จ บุช ทับศัพท์ในภาษาจีนเป็น "โบวซู" (布殊) โดยตัวอักษรมีความหมายว่า "ผ้า" และ "พิเศษ" สำหรับภาษาญี่ปุ่น คำทับศัพท์จากภาษาอื่นมา จะถูกเขียนในตัวอักษรคะตะกะนะ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการเขียนของภาษาญี่ปุ่น

ในภาษาไทย ระบบการทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถานเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้สำหรับเอกสารทางราชการในประเทศไทย และยังคมนิยมใช้เป็นมาตรฐานหลักในประเทศไทย โดยมีระบบสำหรับการทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษามลายู ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาอิตาลี นอกจากนี้การทับศัพท์จากภาษาไทยเป็นตัวอักษรละติน ในระบบ ALA-LC โดย The Library of Congress [2] และ มาตรฐาน ISO 11940 (ค.ศ. 1998) แบบถ่ายถ่ายทอดตัวอักษรโดยระบบของแอนซี

ภายหลังจากการทับศัพท์

ภายหลังจากการทับศัพท์ เสียงต้นฉบับของคำอาจจะมีการสูญหายไป เนื่องจากมีการพัฒนาระบบของแต่ละภาษาแตกต่างกันไป หรือมีการนำคำศัพท์เดิมในรูปแบบตัวอักษรไปเขียนและอ่านในภาษาใหม่แทนที่ เช่น คำว่า ฌาน ในภาษาบาลี หรือ ธฺยาน ในภาษาสันสกฤต เขียนในอักษระละตินว่า Dhyāna ต่อมาได้ทับศัพท์ในภาษาจีนว่า ฌาน (禪) และชาวญี่ปุ่นได้นำศัพท์ภาษาจีน ไปใช้ในรูปแบบของอักษรคันจิของภาษาญี่ปุ่นในอักษรเดิมแต่อ่านว่า เซน (禅, ゼン) หลังจากนั้นภาษาอังกฤษได้มีการนำศัพท์คำว่า เซน จากภาษาญี่ปุ่นทับเป็นคำว่า zen ซึ่งคำต้นฉบับคือคำว่า dhyāna ได้เปลี่ยนเป็น Zen ในการทับศัพท์หลายครั้ง

ดูเพิ่ม

การทับศัพท์เฉพาะภาษา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น