มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
เชร์เนน
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ Михаи́л Серге́евич Горбачёв | |
---|---|
ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต (ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตตั้งแต่ 15 มีนาคม 2533) | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | อันเดรย์ โกรมีโค |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2528 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | คอนสตันติน เชร์เนนโก |
ถัดไป | วลาดีมีร์ อิวาชโก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มีนาคม พ.ศ. 2474 ปรีวอลโนเย, สตัฟโรปอล ไคร, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (2494 - 2534) พรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (2544 - 2547) |
มีฮาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ[1] (รัสเซีย: Михаи́л Серге́евич Горбачёв, อังกฤษ: Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นรัฐบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตรัสเซีย (พ.ศ. 2528-2534) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) (พ.ศ. 2531-2534) ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การยุติสงครามเย็น และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2533
การศึกษาและการทำงาน
กอร์บาชอฟเกิดที่เมืองปรีวอลโนเย รัสเซีย ศึกษาวิชาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโกและที่สถาบันเกษตรกรรมสตัฟโรโปล และเริ่มทำงานพนักงานเดินเครื่องจักรกลเมื่อปี พ.ศ. 2489 และเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2495 กอร์บาชอฟได้ทำงานก้าวหน้าในตำแหน่งระดับสูงต่าง ๆ ในเมืองสตัฟโรโปลและในองค์กรพรรคประจำอำเภอมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499-2513
ความก้าวหน้าทางการเมือง
กอร์บาชอฟได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยผู้บริหารสูงสุดของ "สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต" ในปี พ.ศ. 2513 และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี พ.ศ. 2514 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี พ.ศ. 2523-2528 เป็นสมาชิกโปลิตบูโรในปี พ.ศ. 2533 และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. 2528-2534) แทนเชเนนโกที่เสียชีวิต ได้เป็นประธานคณะผู้บริหารโซเวียตสูงสุด (President of the Presidium of the Supreme Soviet) ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนสุดท้ายของระบอบใหม่ก่อนการล่มสลายของสหภาพ
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค กอร์บาชอฟได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างแบบหน้ามือเป็นหลังมือในระบบเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของโซเวียตที่รู้จักกันในชื่อ "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) มีการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ เพิ่มเสรีภาพแก่สื่อและสิ่งพิมพ์ ปล่อยไห้มีเสรีภาพทางวัฒนธรรม ยอมได้มีการประเมินและแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศภายใต้นโยบายเปิดเสรีด้านข่าวสารหรือ "กลาสนอสต์" (Glasnost)
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร ริเริ่มนโยบาย "การผ่อนคลายของสงครามเย็น" (Detente) และลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตกพร้อมกับการถอนทหารออกจากการยึดครองประเทศอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2532) กอร์บาชอฟรอดจากการรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2534 มาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ในที่สุดก็ถูกบังคับให้ลาออกหลังจากการยุบพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัวของสหภาพเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2534
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นมา กอร์บาชอฟได้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธินานาชาติเพื่อการศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคมและการเมือง (มูลนิธิกอร์บาชอฟ)
อ้างอิง
- ↑ สัญชัย สุวังบุตร (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 85. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
ก่อนหน้า | มีฮาอิล กอร์บาชอฟ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คอนสตันติน เชร์เนนโก | เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985 - 1991) |
วลาดิมีร์ อิวัชโก | ||
คอราซอน อากีโน | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1987) |
โลก | ||
โลก | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ บุคคลแห่งทศวรรษ (ค.ศ. 1989) |
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช |