เตือนใจ ดีเทศน์
เตือนใจ ดีเทศน์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 เมษายน พ.ศ. 2495 |
เตือนใจ ดีเทศน์ (สกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา; เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น แดง[1] เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย[2] และเป็นนักพัฒนาสังคม ปัจจุบันเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน
ประวัติ
[แก้]เตือนใจ ดีเทศน์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของหม่อมหลวงขาบ กุญชร อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับ นางอุไร กุญชร ณ อยุธยา สถานภาพ สมรสกับนายธนูชัย ดีเทศน์ มีบุตร 2 คน
การศึกษา
[แก้]เตือนใจ ดีเทศน์ จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เกียรตินิยมอันดับสอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 23) เมื่อปี 2517 และประกาศนียบัตรชั้นสูง บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 6 (พื้นที่บ้านบางสา อ.แม่จัน จ.เชียงราย พ.ศ. 2517-2520)
นอกจากนั้น เตือนใจ ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ได้แก่
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2543
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชาติพันธุ์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[3] ปี 2557
- ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชนบทศึกษาและการพัฒนา สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2558
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาคติชนวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2559
การทำงาน
[แก้]เตือนใจ ดีเทศน์ เป็นนักพัฒนาสังคม[4] จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย[5] กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนของกลุ่มการพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รางวัล
[แก้]1994 Goldman Environmental Prize, Recipient Asia, Sustainable Development. Goldman Environmental Foundation. USA. [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศึกเลือกตั้งส.ว.เหนือ ใต้ร่มเงา'เรดโซน' : รายงาน
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓)[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://web.facebook.com/pg/CRRUNEWS/photos/?tab=album&album_id=1645103722427696
- ↑ ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย (นางเตือนใจ ดีเทศน์ พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ http://www.goldmanprize.org/recipient/tuenjai-deetes/
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๑, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลกุญชร
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวไทย