ประเทศรัสเซีย
สหพันธรัฐรัสเซีย Российская Федерация (รัสเซีย) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มอสโก |
ภาษาราชการ | รัสเซียเป็นภาษาทางการทั่วประเทศ มีภาษาทางการร่วมอีก 27 ภาษาในภูมิภาคต่าง ๆ |
การปกครอง | สหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี |
วลาดีมีร์ ปูติน | |
ดมีตรี เมดเวเดฟ | |
• ประธานสภาสหพันธ์ | วาเลนตินา มัตวิเยนโก |
• ประธานสภาดูมา | เซียเกย์ นารีชกิน |
ก่อตั้ง | |
พ.ศ. 1405 | |
พ.ศ. 1425 | |
พ.ศ. 1712 | |
พ.ศ. 1826 | |
16 มกราคม พ.ศ. 2090 | |
22 ตุลาคม พ.ศ. 2264 | |
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 | |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2465 | |
• สหพันธรัฐรัสเซีย | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 |
พื้นที่ | |
• รวม | 17,098,242 ตารางกิโลเมตร (6,601,668 ตารางไมล์) (1) |
4.2 [1] | |
ประชากร | |
• 2555 ประมาณ | 138,082,178 [1] (9) |
• สำมะโนประชากร 2553 | 142,905,200 [2] |
8.3 ต่อตารางกิโลเมตร (21.5 ต่อตารางไมล์) (217) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2554 (ประมาณ) |
• รวม | 2.376 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ[3] (6) |
• ต่อหัว | 16,840 ดอลลาร์สหรัฐ[3] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2554 (ประมาณ) |
• รวม | 1.894 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (9) |
• ต่อหัว | 13,542 ดอลลาร์สหรัฐ[3] |
จีนี (2551) | 42.3[4] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
เอชดีไอ (2554) | 0.755[5] ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 66 |
สกุลเงิน | รูเบิล (RUB) |
เขตเวลา | UTC+2 ถึง +12 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 ถึง +13 |
รหัสโทรศัพท์ | +7 |
โดเมนบนสุด | .ru, .su, .рф |
ประเทศรัสเซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัสเซีย (รัสเซีย: Россия, อักษรโรมัน: รอสซิยา, สัทอักษรสากล: [rɐˈsʲijə] ) และ สหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Российская Федерация, อักษรโรมัน: รอสซิสกายา เฟเดราเซีย, สัทอักษรสากล: [rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə] ) ทั้งสองชื่อ[6] เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน[7][8] รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสก์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก[9] และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก[10] เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก[11] รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก[12]
ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8[13] รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์[14] เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า[14] ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของโกลเดนฮอร์ดเร่ร่อน[15] อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวมราชรัฐรัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของจักรวรรดิรัสเซีย นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ในยุโรปจรดอะแลสกาในอเมริกาเหนือ[16][17]
หลังการปฏิวัติรัสเซีย รัสเซียกลายมาเป็นสาธารณรัฐใหญ่ที่สุดและผู้นำในสหภาพโซเวียต เป็นรัฐสังคมนิยมมีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของโลกและอภิมหาอำนาจที่ได้การยอมรับ[18] ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง[19][20] สมัยโซเวียตได้ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตรวรรษที่ 20 รวมทั้งการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นสู่อวกาศ สหพันธรัฐรัสเซียก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 แต่ได้รับการยอมรับเป็นสภาพบุคคลสืบทอดจากสหภาพโซเวียต[21]
รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10 ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก[22] รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกจี 8 จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเซีย องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช
ภูมิศาสตร์
ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[23] รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[12] และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป"[24] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[24] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[25]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ และทะเลแคสเปียน[26] นอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลลัปเตฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลชุคชี ทะเลเบริง ทะเลโอคอตสค์ และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร
ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซีย บริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักในนามวาแรนเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปี ค.ศ.880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟ และได้ตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนเหนือและใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus')
ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสต์จักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่นๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือเครมลินขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก
อาณาจักรมัสโควี
ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกล นำโดยบาตูข่าน เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ
ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรืออีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมีตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโว บนฝั่งแม่น้ำดอน ในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดีมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาวในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382
จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรือพระเจ้าอีวานมหาราช (ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเคนมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย
ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับสถาปนาเป็นซาร์พระองค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก เมื่อหมดยุคของพระเจ้าอีวานที่ 4 ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริก และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ก็มีมติเลือกมิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
จักรวรรดิรัสเซีย
ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 ชันษา พร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปีค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย
ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าพอลล์ที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้นในเดือนธันวาคม เรียก กบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ทรงมีฉายาว่า Tzar Liberator (ซาร์ผู้ปลดปล่อย) เนื่องจากพระองค์ทรงปลดปล่อยทาสติดที่ดิน (Serf) หลายล้านคนให้พ้นจากการเป็นทาส แต่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมการชาวนาในปี 1905 ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน
สมัยสหภาพโซเวียต
การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ (The Great Patriotic War) กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
สหพันธรัฐรัสเซีย
บอริส เยลต์ซินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ระหว่างและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการเปิดเสรีตลาดและการค้า[27] และยังมีการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งตามแนวทาง "ชอคบำบัด" (shock therapy) ดังที่สหรัฐอเมริกาและกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำ[28] ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งรัสเซียมีจีดีพีและปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 50% ระหว่าง พ.ศ. 2533-2538[29]
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้โอนการควบคุมวิสาหกิจจากหน่วยงานของรัฐไปเป็นของปัจเจกบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงภายในในระบบรัฐบาล นักธุรกิจที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่หลายคนได้นำเงินสดและสินทรัพย์นับพัน ๆ ล้านออกนอกประเทศในการโยกย้ายทุนขนานใหญ่[30] ภาวะตกต่ำของรัฐและเศรษฐกิจนำไปสู่การล่มสลายของบริการสังคม อัตราการเกิดตกฮวบ ขณะที่อัตราการตายพุ่งทะยาน ประชาชนหลายล้านคนอยู่ในภาวะยาจน จากระดับความยากจน 1.5% ในปลายยุคโซเวียต เป็น 39-49% ราวกลาง พ.ศ. 2536[31] คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความไม่มีกฎหมายสุดขีด การเพิ่มขึ้นของแก๊งอาชญากรและอาชญากรรมรุนแรง[32]
คริสต์ทศวรรษ 1990 รัสเซียได้เผชิญกับความขัดแย้งด้วยอาวุธในคอเคซัสเหนือ ทั้งการสู้รบประรายด้านชาติพันธุ์ท้องถิ่นและการก่อการกบฏของกลุ่มอิสลามแบ่งแยกดินแดน นับตั้งแต่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชเชนได้ประกาศเอราชในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ได้เกิดสงครามกองโจรขึ้นเป็นระยะ ๆ ระหว่างกลุ่มกบฏกับกองทัพรัสเซีย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้โจมตีก่อการร้ายต่อพลเรือน ที่มีชื่อเสีงที่สุด คือ วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก และการล้อมโรงเรียนเบสลัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยศพและเรียกความสนใจจากทั่วโลก
รัสเซียยอมรับความรับผิดชอบในการจัดการหนี้สินภายนอกของสหภาพโซเวียต แม้ประชากรรัสเซียจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรสหภาพโซเวียตเมื่อสหภาพล่มสลายไปนั้น[33] การขาดดุลงบประมาณอย่างสูงเป็นเหตุของวิกฤตการณ์การเงินรัสเซีย พ.ศ. 2541[34] และยิ่งทำให้จีดีพีลดลงไปอีก[27]
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีเยลต์ซินลาออก ส่งมอบตำแหน่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ วลาดีมีร์ ปูติน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 ปูตินปราบปรามการก่อกบฏเชเชน แม้ความรุนแรงเป็นพัก ๆ ยังเกิดขึ้นทั่วคอเคซัสเหนือ ราคาน้ำมันที่สูงและเงินตราที่เดิมอ่อนค่าเกิดขึ้นหลังอุปสงค์ภายในที่เพิ่มขึ้น การบริโภคและการลงทุนได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นเก้าปีติดต่อกัน ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มอิทธิพลของรัสเซียในเวทีโลก[35] แม้การปฏิรูปหลายอย่างที่ปูตินดำเนินการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยทั่วไปมักถูกชาติตะวันตกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[36] แต่ความเป็นผู้นำของปูตินเหนือการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพและความก้าวหน้าได้ทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในรัสเซีย[37]
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ดมิทรี เมดเวเดฟได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ขณะที่ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี
การเมืองการปกครอง
หลังจากวิกฤติทางการเมืองในปี 1993 รัสเซียมีการออกรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชามติในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัสเซียเป็นสหพันธรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุข[38] และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล สหพันธรัฐรัสเซียปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน รัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจบริหาร[39] ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายดมีตรี เมดเวเดฟ
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศรัสเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
- เขตสหพันธ์ (federal districts)
- สาธารณรัฐ (Republics - respubliki )
- ดินแดน (Territories - kraya )
- แคว้น (Provinces - oblasti )
- นครสหพันธ์ (Federal cities - federalnyye goroda )
- แคว้นปกครองตนเอง (Autonomous oblast - avtonomnaya oblast )
- เขตปกครองตนเอง (Autonomous districts - avtonomnyye okruga )
การต่างประเทศ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพบก
กองทัพอากาศ
กองทัพเรือรัสเซีย
กองกำลังกึ่งทหาร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร
สัดส่วนของเชื้อชาติ (ค.ศ. 2002)[40] | |
---|---|
ชาวรัสเซีย | 79.8% |
ทาทาร์ | 3.8% |
ชาวยูเครน | 2.0% |
ชูวาช | 1.1% |
เชเชน | 0.9% |
ชาวอาร์เมเนีย | 0.8% |
อื่น ๆ/ไม่ระบุ | 10.3% |
จากการประมาณวันที่ 1 มกราคม 2008 ประเทศรัสเซียมีประชากร 142 ล้านคน จำนวนประชากรของรัสเซียมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสตทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นผลจากอัตราการตายที่สูงและอัตราการเกิดที่ต่ำ ในขณะที่อัตราการเกิดในรัสเซียมีพอ ๆ กับประเทศยุโรปอื่น ๆ (อัตราการเกิด 11.3 คนต่อประชากร 1000 คนในปี 2007[42] เทียบกับอัตราเฉลี่ย 10.25 คนต่อประชากร 1000 คนของสหภาพยุโรป[43]) แต่ประชากรกลับลดลงเพราะอัตราการตายสูงกว่า (ในปี 2007 อัตราการตายของรัสเซียคือ 14.7 คนต่อประชากร 1000 คน[42] เมื่อเที่ยบกับอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 10.39 คนต่อ 1000 คน[44]) ปัญหาประชากรที่ลดลงนี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[45] รัฐบาลจึงตั้งมาตรการต่าง ๆ ในการลดอัตราการตาย เพิ่มอัตราการเกิด พัฒนาสุขภาพของประชาชน[46] กระทรวงสาธารณสุขของรัสเซียคาดการณ์ว่าอัตราการตายและอัตราการเกิดจะปรับตัวจนเท่ากันภายในปี 2011[46]
ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ รัสเซียมีพื้นที่มากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับประชากรแล้ว ความหนาแน่นเพียงแค่ 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น
เศรษฐกิจ
รัสเซียสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติทางการเงินในปี 1998 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของการบริโภคในประเทศ และความมั่นคงทางการเมือง[26] ในปี 2007 รัสเซียมีจีดีพีใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก[48] (มูลค่า 2.088 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[48]) ค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนในรัสเซียเพิ่มขึ้นจาก 80 ดอลลาร์ในปี 2000 เป็น 640 ดอลลาร์ในต้นปี 2008[49] ชาวรัสเซียที่ยากจนมีประมาณร้อยละ 14 ในปี 2007[50] ซึ่งลดลงอย่างมากจากร้อยละ 40 ในปี 1998 ซึ่งสถิติสูงสุดหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย[31] อัตราว่างงานในรัสเซียลดลงจากร้อยละ 12.4 ในปี 1999 เหลือร้อยละ 6 ในปี 2007[51][52] การที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ตลาดของชนชั้นกลางในรัสเซียขยายตัวหลายเท่า[53]
รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก[54] มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก[55] รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกแก๊สธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง[56] และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก[54] น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ โลหะ และไม้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด[26][57]แต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้ว่าราคาทรัพยากรด้านพลังงานจะสูงขึ้นมาก แต่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.7 ของจีดีพี และรัฐบาลคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ภายในปี 2011[58] รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่น ๆ[53] รัสเซียมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป[59]
ระบบภาษีที่เข้าใจง่ายกว่าเดิมเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งทำให้ภาระต่อประชาชนลดลงในขณะที่รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น[60] รัสเซียใช้ระบบอัตราภาษีคงที่ที่ร้อยละ 13 กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และทำให้กลายเป็นประเทศที่มีระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ดึงดูดผู้บริหารได้ดีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากการสำรวจในปี 2007[61][62] งบประมาณของรัฐเกินดุลตั้งแต่ปี 2001 และจนถึงสิ้นปี 2007 มีงบประมาณเกินดุลมาร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รัสเซียใช้รายได้จากน้ำมันที่ได้รับผ่านกองทุนความมั่นคงของสหพันธรัฐรัสเซียในการจ่ายหนี้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคโซเวียตคืนแก่ปารีสคลับและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รายได้จากการส่งออกน้ำมันยังสามารถทำให้รัสเซียมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มจาก 1 หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1999 เป็น 5.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2008 ซึ่งสูงเป็นอันดับสามของโลก[63] รัสเซียยังสามารถลดหนี้ต่างประเทศที่ก่อขึ้นในอดีตได้อย่างมาก[64]
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภูมิภาค โดยเขตมอสโกเป็นเขตที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากที่สุด[65]
วัฒนธรรม
ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย (ร้อยละ 70) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 5.5) คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก (ร้อยละ 1.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน (ร้อยละ 0.6)
การศึกษา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันหยุด
วันที่ | ชื่อ | ชื่อภาษาท้องถิ่น | ภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 มกราคม | วันปีใหม่ | Новый год (Novy god) | Новогодние каникулы (Novogodniye kanikuly) | |
7 มกราคม | วันคริสต์มาส | Rozhdestvo Khristovo | Рождество Христово | วันคริสต์มาสตามนิกายออเทอร์ดอกซ์ |
13 มกราคม | วันปีใหม่เดิมของรัสเซีย (Old-Calendar New Year) | Старый-Новый год Календарь | ชาวรัสเซียเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 13 ด้วย อันเนื่องมาจากยึดตามปฏิทินเก่า | |
23 กุมภาพันธ์ | วันกองทหารแห่งโซเวียด (Homeland Defender’s Day) | Den zashchitnika Otechestva | День Защитника Отечества | เพื่อรำลึกการก่อตั้ง กองทัพแดง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1918 ขณะนี้รัสเซียเรียกวันนี้ว่า "วันผู้รักษามาตุภูมิ" День Советской Армии и Военно-Морского Флота (yen' Sovyetskoy Armii i Voyenno-Morskogo flota) และ ในปี ค.ศ. 1923 ผู้ชายทุกคนในรัสเซียถูกเรียกให้รายงานตัวเข้าประจำการกองทัพแดง เพื่อเข้าร่วมสงครามต่อต้านทหารเยอรมัน |
8 มีนาคม | วันสตรีสากล | Восьмое марта (Vosmoe marta) | Международный Женский День | วันหยุดสากลให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศแก่สตรี |
12 เมษายน | วันนักบินอวกาศ (Day of Cosmonautics) | День Космонавтики | คือวันที่ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกได้ขึ้นไปในห้วงอวกาศ ในปีพ.ศ. 2504. ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติในรัสเซีย. | |
1 พฤษภาคม | วันแรงงานสากล | Первое Мая (May Day) | День Солидарности Трудящихся ("International Day of Worker's Solidarity") | มีการฉลองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 2 พฤษภาคม. หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันแรงงานและเฉลิมฉลองเข้าสู่ฤดูใบไม้พลิ." |
9 พฤษภาคม | ชัยชนะเหนือเยอรมนี (Victory Day) | Den Pobedy | День Победы | วันสิ้นสุดของมหาสงครามของผู้รักชาติ ซึ่งกองทัพแดง,เอาชนะนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2, พ.ศ. 2488 |
12 มิถุนายน | วันประกาศอิสรภาพ (Independence Day) | День России (Den Rossii) | день независимости | เป็นวันที่ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ประกาศตั้งประเทศรัสเซียออกจากสหภาพโซเวียตเป็นประเทศใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2537 และวันนี้ถือว่าเป็นวันหยุดราชการของรัสเซียเช่นกัน |
1 กันยายน | วันแห่งความรู้ (Knowledge Day) | день знаний | วันแรกของปีการศึกษาในทุกโรงเรียนและทุกภูมิภาคของรัสเซีย เด็กนักเรียนจะไปโรงเรียนพร้อมกับดอกไม้เพื่อมอบให้ครู ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติในรัสเซีย. | |
4 พฤศจิกายน | วันเอกภาพแห่งมวลชน (People’s Unity Day) | Den narodnogo edinstva | День Народного единства | เป็นวันที่มีการรวมตัวกัน ของชาวมอสโกโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสถานะในสังคมเพื่อทำการต่อต้าน การรุกรานของโปแลนด์ที่เข้ามาในปี ค.ศ. 1612 |
7 พฤศจิกายน | การปฏิวัติสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต | Седьмое ноября | Годовщина Великой Октябрьской социалистической революции | การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 День Примирения и Согласия ; ซึ่งเรียกวันนี้ว่า День Примирения и Согласия ("Day of Reconciliation and Agreement") และมีการฉลองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน. แต่หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 การเฉลิมฉลองก็เริ่มลดน้อยลง แต่วันนี้ก็ยังคงถือเป็นวันหยุดราชการอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2548 ได้มีประกาศยกเลิกให้เป็นวันหยุดราชการ และเปลี่ยนวันหยุดราชการมาเป็นวันที่ 4 พฤศจิกายน แทน. |
12 ธันวาคม | วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) | День Конституции | เป็นวันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสหพันธรัฐรัสเซียในปี พ.ศ. 2536 (เนื่องจากรัฐธรรมนูญเดิมที่ใช้มาก่อนหน้านี้เป็นของรัฐบาลสหภาพโซเวียต) |
นอกจากนี้ชาวรัสเซียชื่นชอบวันหยุดเฉลิมฉลองมาก ปัจจุบันนี้ วันสำคัญอื่นๆ ที่ชาวโลกฉลอง ชาวรัสเซียก็ร่วมเฉลิมฉลองด้วยกัน เช่น วันวาเลนไทน์ วันคริสต์มาส (ทั้งคาทอลิกและออร์โธดอกส์) เช่น วันที่ 1 เมษายน หรือที่เรียกว่าวันแห่งการหัวเราะ (April’s fools day) หรือจะเป็นวันฮอลโลวีน ฯลฯ วันหยุดของรัสเซียหากตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะมีการหยุดชดเชยเช่นเดียวกันกับในประเทศไทย ช่วงวันหยุดยาว เช่น เทศกาลปีใหม่ ชาวรัสเซียมักจะเดินทางไปต่างประเทศหรือต่างเมืองและพักผ่อน ส่วนวันหยุดอื่นๆ คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาเพื่อเดินทางไปดาช่า (Dasha) หรือบ้านพักต่างอากาศนอกเมืองเพื่อชื่นชมธรรมชาติ[66]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "The World Factbook: Russia". CIA. กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (อังกฤษ) - ↑ "สำมะโนประชากรปี 2010". รัฐบาลรัสเซีย. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (รัสเซีย) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Russia". International Monetary Fund.
{{cite web}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help);|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2011/02/weodata/weorept.aspx?sy=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "Distribution of family income – Gini index". The World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
- ↑ "2011 Human development Report" (PDF). United Nations Development Programme. pp. 148–151. สืบค้นเมื่อ 5 November 2011.
- ↑ "ชื่อสหพันธรัฐรัสเซียและรัสเซียจักเสมอกัน". "The Constitution of the Russian Federation". (Article 1). สืบค้นเมื่อ 25 June 2009.
- ↑ Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ "Russia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 31 Jan. 2008.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Commission of the Russian Federation for UNESCO: Panorama of Russia". Unesco.ru. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcia-gas
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcia-oil
- ↑ 12.0 12.1 Library of Congress. "Topography and drainage". สืบค้นเมื่อ 26 Dec. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "loc" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Russia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 31 Jan. 2008.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 Excerpted from Glenn E. Curtis (ed.) (1998). "Russia: A Country Study: Kievan Rus' and Mongol Periods". Washington, DC: Federal Research Division of the Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 20 Jul. 2007.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Mongol empire: its rise and legacy, By Michael Prawdin, Gérard Chaliand, (2005) page 512-550
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 475–504. doi:10.1111/0020-8833.00053.
- ↑ Peter Turchin, Thomas D. Hall and Jonathan M. Adams, "East-West Orientation of Historical Empires", Journal of World-Systems Research Vol. 12 (no. 2), pp. 219–229 (2006).
- ↑ Superpower politics: change in the United States and the Soviet Union Books.Google.com
- ↑ Weinberg, G.L. (1995). A World at Arms: A Global History of World War II. Cambridge University Press. p. 264. ISBN 0521558794.
- ↑ Rozhnov, Konstantin, Who won World War II?. BBC.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อuk
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfas
- ↑ World Time Zone: Russia
- ↑ 24.0 24.1 Walsh, Nick Paton. "It's Europe's lungs and home to many rare species. But to Russia it's £100bn of wood". Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
- ↑ Fish Industry of Russia — Production, Trade, Markets and Investment. Eurofish, Copenhagen, Denmark. 2006. p. 211. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ 26.0 26.1 26.2 "The World Factbook: Russia". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
- ↑ 27.0 27.1 "Russian Federation" (PDF). Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 24 Feb. 2008.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Sciolino, E. (21 Dec. 1993). "U.S. is abandoning 'shock therapy' for the Russians". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 Jan. 2008.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Russia: Clawing Its Way Back to Life (int'l edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 Dec. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Russia: Clawing Its Way Back to Life (int'l edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 Dec. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 31.0 31.1 Branko Milanovic (1998). Income, Inequality, and Poverty During the Transformation from Planned to Market Economy. The World Bank. pp. 186–189. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "worldbank" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Jason Bush (19 October 2006). "What's Behind Russia's Crime Wave?". BusinessWeek Journal.
- ↑ "Russia pays off USSR's entire debt, sets to become crediting country". Pravda.ru. สืบค้นเมื่อ 27 Dec. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Aslund A. "Russia's Capitalist Revolution" (PDF). สืบค้นเมื่อ 28 Mar. 2008.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcia
- ↑ Treisman, D. "Is Russia's Experiment with Democracy Over?". UCLA International Institute. สืบค้นเมื่อ 31 Dec. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Stone, N (4 Dec. 2007). "No wonder they like Putin". The Times. UK. สืบค้นเมื่อ 31 Dec. 2007.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "The Constitution of the Russia Federation: Article 80". สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
- ↑ "The Constitution of the Russia Federation: Article 110". สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
- ↑ "Russian Census of 2002". 4.1. National composition of population. Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
- ↑ "Demographics". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-1-15.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 42.0 42.1 "Demography". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-03-05.
- ↑ The World Factbook. "Rank Order — Birth rate". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ The World Factbook. "Rank Order — Death rate". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ "The incredible shrinking people". The Economist. 2008-11-27.
- ↑ 46.0 46.1 "Russia's birth, mortality rates to equal by 2011 - ministry". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.
- ↑ The City Built on Oil: EU-Russia Summit Visits Siberia's Boomtown, Spiegel
- ↑ 48.0 48.1 "Gross domestic product 2007, PPP" (PDF). The World Bank. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
- ↑ "Russians weigh an enigma with Putin's protégé". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2009-01-10.
- ↑ "Russia's economy under Vladimir Putin: achievements and failures". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
- ↑ "Russia's unemployment rate down 10% in 2007 - report". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
- ↑ "Russia — Unemployment rate (%)". indexmundi.com. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
- ↑ 53.0 53.1 Jason Bush (2006-12-07). "Russia: How Long Can The Fun Last?". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.
- ↑ 54.0 54.1 "Russia Key facts: Energy". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ "Rank Order - Oil - proved reserves". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ "Rank Order - Natural gas - exports". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ "Russia Factsheet". The Economist. 2008-12-16.
- ↑ "Russia fixed asset investment to reach $370 bln by 2010 - Kudrin". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ "CEE Biweekly (page 6)" (PDF). UNESCO Institute for Statistics, UniCredit New Europe Research Network. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
- ↑ Tavernise, Sabrina (23 March 2002). "Russia Imposes Flat Tax on Income, and Its Coffers Swell". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ Rabushka, Alvin. "The Flat Tax at Work in Russia: Year Three". Hoover Institution. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ "Global personal taxation comparison survey – market rankings". Mercer (consulting firms). สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ "International Reserves of the Russian Federation in 2008". The Central Bank of the Russian Federation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
- ↑ "Russia's foreign debt down 31.3% in Q3—finance ministry". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ "Gross regional product by federal subjects of the Russian Federation 1998–2006". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30. (รัสเซีย)
- ↑ "วันหยุดสำคัญของรัสเซีย". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
แหล่งอื่น
- เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมอสโก
- รูปภาพเกี่ยวกับประเทศรัสเซีย ที่ฟลิคเกอร์
- แม่แบบ:Wikitravel
แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA ak:Russia