โอลิมปิกฤดูร้อน 1972
เมืองเจ้าภาพ | มิวนิก เยอรมนีตะวันตก |
---|---|
คำขวัญ | เกมอันชื่นบาน (เยอรมัน: Glückliche Spiele) |
ประเทศเข้าร่วม | 121 ประเทศ |
นักกีฬาเข้าร่วม | 7,170 (6,075 ชาย 1,059 หญิง) |
กีฬา | 21 ชนิด |
พิธีเปิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2515 |
พิธีปิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2515 |
ประธานพิธี | กุสทัฟ ไฮเนอมัน (ประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีตะวันตก) |
สนามกีฬาหลัก | โอลึมเพียชตาดิโยน |
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 20 ประจำปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) จัดขึ้นที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตกในขณะนั้น)
สหภาพโซเวียตมองเห็นช่องทางในการเผยแพร่ลัทธิทางการเมืองของตนโดยอาศัยการแข่งขันโอลิมปิก โดยพยายามที่จะเป็นผู้นำในการแข่งขัน และโน้มน้าวชาติอื่น ๆ ให้เห็นว่าสหภาพโซเวียตเป็นประเทศมหาอำนาจ ภายหลังพบว่านักกีฬาโซเวียตเป็นนักกีฬาอาชีพที่รัฐบาลว่าจ้างให้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น และยังพบอีกว่านักกีฬาจากสหภาพโซเวียตใช้ยาเสริมกำลัง ในปีนั้นสหภาพโซเวียตสามารถพิชิตเหรียญทองได้ถึง 99 เหรียญ นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในเมืองมิวนิก นับเป็นโศกนาฏกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์โอลิมปิก
ในการแข่งขันบาสเกตบอลนักกีฬาจากสหรัฐอเมริกาได้พ่ายแพ้แก่นักกีฬาจากสหภาพโซเวียต เป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกจากการแข่งขัน 63 ครั้ง ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธไม่ขึ้นรับเหรียญเงิน
ในปีนี้นั้นมีนักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขันถึง 122 ประเทศ
ชนิดกีฬา
195 รายการ 21 ชนิดกีฬา:
- กีฬาทางน้ำ
- ยิงธนู (2)
- กรีฑา (38)
- บาสเกตบอล (1)
- มวยสากลสมัครเล่น (11)
- เรือแคนู
- Flatwater (7)
- Slalom (4)
- จักรยาน
- Road (2)
- Track (5)
- ขี่ม้า
- Dressage (2)
- Eventing (2)
- Show jumping (2)
- ฟันดาบ (8)
- ฟุตบอล (1)
- ยิมนาสติก (14)
- แฮนด์บอล (1)
- ฮอกกี้ (1)
- ยูโด (6)
- ปัญจกีฬาสมัยใหม่ (2)
- เรือพาย (7)
- เรือใบ (6)
- ยิงปืน (8)
- วอลเลย์บอล (2)
- ยกน้ำหนัก (9)
- มวยปล้ำ
- Freestyle (10)
- Greco-Roman (10)
กีฬาสาธิต
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
สรุปเหรียญการแข่งขัน
ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
อันดับ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | สหภาพโซเวียต | 50 | 27 | 22 | 99 |
2 | สหรัฐ | 33 | 31 | 30 | 94 |
3 | เยอรมนีตะวันออก | 20 | 23 | 23 | 66 |
4 | เยอรมนีตะวันตก (เจ้าภาพ) | 13 | 11 | 16 | 40 |
5 | ญี่ปุ่น | 13 | 8 | 8 | 29 |
6 | ออสเตรเลีย | 8 | 7 | 2 | 17 |
7 | โปแลนด์ | 7 | 5 | 9 | 21 |
8 | ฮังการี | 6 | 13 | 16 | 35 |
9 | บัลแกเรีย | 6 | 10 | 5 | 21 |
10 | อิตาลี | 5 | 3 | 10 | 18 |
เหตุการณ์กันยาทมิฬ
ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 5 กันยายน ระหว่างที่มหกรรมการแข่งขันดำเนินอยู่นั้น ได้มีกลุ่มโจรผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด 8 คน จากกลุ่มกันยาทมิฬ พร้อมอาวุธปืนและระเบิดมือ บุกเข้าโจมตีหอพักนักกีฬาชาวอิสราเอลในหมู่บ้านนักกีฬา สังหารนักกีฬาอิสราเอลลงทันที 2 คน แล้วจับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่รวม 9 คน เป็นตัวประกัน เรียกร้องให้อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี แต่รัฐบาลอิสราเอลปฏิเสธ
ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียด เวลา 15.30 น. ได้มีการยุติการแข่งขันกีฬาไว้ชั่วคราว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ขอเครื่องบินเจ็ตเพื่อบินไปลงที่สนามบินกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และขอเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เพื่อขนตัวประกันกับสมาชิกในกลุ่มไปลงที่สนามบินมิวเซิน ฝ่ายตำรวจเยอรมันจัดให้ และในเวลา 22.30 น. เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ บรรทุกผู้ก่อการร้ายและตัวประกันจากหมู่บ้านโอลิมปิกไปลงยังฐานบินฟูลสเตนเฟลด์บรูก ซึ่งมีเครื่องบินโบอิ้ง 727 จอดรออยู่ โดยที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายคิดว่าที่นั่นเป็นสนามบินเรียม ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลของมิวเซิน พร้อมเครื่องบินโบอิ้งที่เตรียมไว้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นหุ่นจำลอง
เมื่อล่วงมาจนถึงเวลา 00.30 น. ของวันที่ 6 กันยายน ด้วยการไม่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของอิสราเอล ตำรวจเยอรมันก็ลงมือทันที จากนั้นการยิงต่อสู้กันก็เริ่มขึ้น ผู้ก่อการร้ายได้กราดปืนยิงเร็วและขว้างระเบิดมือซ้ำถล่มเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำที่กักตัวประกันไว้ ทำให้ตัวประกันเสียชีวิตทั้งหมด
เวลาประมาณ 01.30 น. การยิงต่อสู้จบลง ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตไป 3 คน ถูกจับ 3 คน ฝ่ายตำรวจเยอรมันเสียชีวิต 1 นาย ส่วนทางฝ่ายอิสราเอลสูญเสียตัวประกันทั้ง 9 คน กับอีก 2 คนที่เสียชีวิตในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่บ้านพักนักกีฬา
หลังจากการปะทะกันแล้ว การแข่งขันได้หยุดลงเป็นเวลา 36 ชั่วโมง ได้มีการชักธงครึ่งเสาเพื่อเป็นการไว้อาลัย และนักกีฬาอิสราเอลทั้งหมดเดินทางกลับประเทศทันที แต่การแข่งขันก็ยังคงดำเนินต่อไป[1][2]