ข้ามไปเนื้อหา

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.75250°N 100.49417°E / 13.75250; 100.49417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรุงเทพและปริมณฑล)
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Bangkok Metropolitan Region
ภาพถ่ายดาวเทียมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาพถ่ายดาวเทียมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
แผนที่ประเทศไทย เน้นกรุงเทพมหานครด้วยสีแดงเข้ม และเน้นปริมณฑลด้วยสีแดงอ่อน
แผนที่ประเทศไทย เน้นกรุงเทพมหานครด้วยสีแดงเข้ม และเน้นปริมณฑลด้วยสีแดงอ่อน
พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.75250°N 100.49417°E / 13.75250; 100.49417
ประเทศ ไทย
ภูมิภาคภาคกลาง
เมืองหลักกรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่
 • เขตเมือง1,568.7 ตร.กม. (605.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,761.60 ตร.กม. (2,996.77 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • เขตเมือง10,820,921[a] คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง3,622.20 คน/ตร.กม. (9,381.5 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล15,624,700 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,452.63 คน/ตร.กม. (3,762.3 คน/ตร.ไมล์)
จีดีพี2021 ประมาณการ
ตัวเงิน8,025,935 ล้านบาท[1][2]

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อังกฤษ: Bangkok Metropolitan Region)[3] เป็นเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบ ("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7 พันตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีประชากรที่มีภูมิลำเนาจดทะเบียนตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมกันประมาณ 10.6 ล้านคน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555) แต่ยังมีจำนวนผู้อยู่อาศัย (residents) ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นภูมิลำเนาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลากลางวันจะมีประชากรถึง 16 ล้านกว่าคนที่อยู่ในเขตนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนับว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเจริญที่สุด และเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการ พาณิชยกรรม และการเงินของประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 6 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด)

ตราประจำ
จังหวัด
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
กรุงเทพมหานคร Bangkok 5,682,415 1,568.7 3,622.2
นครปฐม Nakhon Pathom 911,492 2,168.3 420.37
นนทบุรี Nonthaburi 1,229,735 622.3 1,976.11
ปทุมธานี Pathum Thani 1,129,115 1,525.9 739.98
สมุทรปราการ Samut Prakan 1,310,766 1,004.1 1,305.42
สมุทรสาคร Samut Sakhon 568,465 872.3 651.69

สถิติประชากรแต่ละจังหวัด

[แก้]

พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลครอบคลุมเขตการปกครองดังนี้

เขตการปกครอง เนื้อที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2566[4]
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2559[5]
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2553[6]
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2547[7]
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2541[8]
ความหนาแน่นประชากร
(คน/ตร.กม.)
พ.ศ. 2566
ความหนาแน่นประชากร
(คน/ตร.กม.)
พ.ศ. 2559
ความหนาแน่นประชากร
(คน/ตร.กม.)
พ.ศ. 2555
จำนวน
เขต/อำเภอ
จำนวน
แขวง/ตำบล
กรุงเทพมหานคร 1,568.737 5,471,588 5,686,646 5,701,394 5,634,132 5,647,799 3,443.99 3,624.98 3,616.64 50 180
จังหวัดนครปฐม 2,168.327 924,521 905,008 860,246 798,016 765,425 426.38 417.38 403.36 7 106
จังหวัดนนทบุรี 622.303 1,308,092 1,211,924 1,101,743 942,292 826,464 2,102.02 1,947.48 1,834.59 6 52
จังหวัดปทุมธานี 1,525.856 1,219,199 1,111,376 985,643 769,998 616,636 799.03 728.36 677.55 7 60
จังหวัดสมุทรปราการ 1,004.092 1,372,970 1,293,553 1,185,180 1,049,416 969,321 1,367.37 1,288.29 1,218.32 6 50
จังหวัดสมุทรสาคร 872.347 592,033 556,719 491,887 442,687 416,393 678.67 638.19 583.27 3 40
รวม 7,761.662 10,888,403 10,765,226 10,326,093 9,636,541 9,242,038 1,402.84 1,386.97 1,347.11 79 488

การศึกษา

[แก้]

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในช่วงแรกตั้งอยู่ในเมืองหลวง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงแรกๆเพื่อผลิตบัณฑิตรองรับการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่​​การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ ด้านคุณภาพและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในระดับโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของไทยที่ติดอันดับ top 400 ของการจัดอันดับ Times Higher Education World University Ranking อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเพียง 2 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 500 ของการจัดอันดับ QS World University Ranking

เศรษฐกิจ

[แก้]
เซ็นทรัล เอ็มบาสซี

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[9]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 50 มาจากรุงเทพมหานครและปริมณฑล[10] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04

กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[11]

จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[12] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[13]

การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[14] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี

อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[10] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[15]

ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[16]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ประมาณจำนวนประชากรทั้งขึ้นทะเบียนราษฎร และไม่ขึ้นทะเบียนราษฎร

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. "ตารางสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (2538-2562) Table of Gross Regional and Provincial Product (1995-2019) (Excel) ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional 2564. สืบค้น 5 กันยายน 2564.
  2. วิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 : จังหวัดและกลุ่มจังหวัด สำนักงบประมาณของรัฐสภา
  3. NESDB, Bangkok Metropolitan Region Study, 1985
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2554.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2548. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย.https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/file/41/stat_c41.txt
  9. "ข้อมูลสถิติด้านการเงินการคลัง‏". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-28. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  10. 10.0 10.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-28.
  11. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
  12. กรุงเทพโพลล์: แรงงานต่างด้าว ปัญหาและความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไ
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  14. "นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-02.
  15. "Bangkok ranks 61st place in list of world's most expensive cities in 2014 - Thai PBS English News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-03-14.
  16. เบรกกิ้งนิวส์ : กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมแบรนด์สินค้าอินเตอร์มากที่สุดอันดับที่ 18 ของโลก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]