ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรยูดาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กษัตริย์แห่งยูดาห์)
ราชอาณาจักรยูดาห์

𐤉‬𐤄𐤃𐤄‬
ศตวรรษที่ 9[1][2] หรือ ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล[3]–586 ปีก่อนค.ศ.
ตรา LMLK (700–586 ปีก่อนค.ศ.)ของยูดาห์
ตรา LMLK (700–586 ปีก่อนค.ศ.)
แผนที่ภูมิภาคในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล
แผนที่ภูมิภาคในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล
เมืองหลวงฮีบรอน
เยรูซาเลม
ภาษาทั่วไปฮีบรู
ศาสนา
เอกเทวนิยมลัทธิยาห์เวห์/ศาสนายูดาห์
พหุเทวนิยมคะนาอัน
พหุเทวนิยมเมโสโปเตเมีย
ศาสนาพื้นบ้าน[4]
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็กลิแวนต์
ศตวรรษที่ 9[1][2] หรือ ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล[3]
586 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหราชอาณาจักรอิสราเอล
เยฮุด (จังหวัดบาบีโลน)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิสราเอล
ปาเลสไตน์
ภาพแสดงถึงพระราชาและทหารในราชอาณาจักรยูดาห์โบราณ

ราชอาณาจักรยูดาห์ (ฮีบรู: מַמְלֶכֶת יְהוּדָה; มัมเลกเฮต เยฮูดาห์) คืออดีตรัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณตอนใต้ของเขตลิแวนต์ในช่วงยุคเหล็ก มักถูกเรียกขานโดยทั่วไปว่า อาณาจักรใต้ เพื่อที่จะไม่ให้สับสนกับราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งทั้งสองอาณาจักรเคยมีสถานะเป็นรัฐเดียวกันมาก่อนในนามว่า สหราชอาณาจักรอิสราเอล

ยูดาห์ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนากลายมาเป็นรัฐในช่วงหลังศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้[5][6] ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมีประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งมากกว่าประชากรของรัฐข้างเคียงมาก ต่อมาพวกอัสซีเรียเข้ารุกรานและควบคุมยูดาห์เนื่องจากต้องการทรัพยากรน้ำมันมะกอกอันล้ำค่าของยูดาห์ ยูดาห์จึงตกเป็นรัฐบริวารของอัสซีเรีย[7] ราชราชอาณาจักรยูดาห์สงบสุขและรุ่งเรืองระหว่างที่อยู่ใต้อาณัตของอัสซีเรีย (ขณะที่มีการก่อกบฏรุนแรงในรัชสมัยของกษัตริย์เซนนาเชริบแห่งอัสซีเรีย) แต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล อัสซีเรียก็ล่มสลายลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิดสงครามแย่งชิงดินแดนแถบนี้ระหว่างอียิปต์โบราณกับจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ตามมานับครั้งไม่ถ้วน จนในที่สุดนำไปสู่การล่มสลายของราชอาณาจักรยูดาห์ในช่วง 597 - 582 ปีก่อนคริสตกาล รวมไปถึงการเนรเทศขับไล่ชนชั้นปกครองออกจากดินแดนดังกล่าว[7]

รายนามกษัตริย์แห่งยูดาห์ (อิสราเอลใต้)

[แก้]
พระนาม ระยะเวลาการครองราชย์
ดาวิด (David) ค.ศ. 1010 - ค.ศ. 970 (41 ปี)
ซาโลมอน (Solomon) ค.ศ. 970 - ค.ศ. 931 ( 41 ปี)
เรโหโบอัม (Rehoboam) ค.ศ. 931 - ค.ศ. 912 (18 ปี)
อาบียัม (Abijah) ค.ศ. 913 - ค.ศ. 911 (2 ปี)
อาสา (Asa) ค.ศ. 911 - ค.ศ. 870 (41 ปี)
เยโฮชาฟัท (Jehoshaphat) ค.ศ. 870 - ค.ศ. 848 (22 ปี)
เยโฮรัม (Jehoram) ค.ศ. 848 - ค.ศ. 841 (7 ปี)
อาหัสยาห์ (Ahaziah) ค.ศ. 841 - ค.ศ. 841 (1 ปี )
อาธาลิยาห์ (Athaliah) ค.ศ. 841 - ค.ศ. 835 (6 ปี)
เยโฮอาช (Joash) ค.ศ. 835 - ค.ศ. 796 (39 ปี)
อามาซิยาห์ (Amaziah) ค.ศ. 796 - ค.ศ. 781 (15 ปี)
อาซาริยาห์/อุสซียาห์ (Azariah/Uzziah) ค.ศ. 781 - ค.ศ. 740 (41 ปี)
โยธาม (Jotham) ค.ศ. 740 - ค.ศ. 736 (4 ปี)
อาหัส (Ahaz) ค.ศ. 736 - ค.ศ. 716 (20 ปี)
เฮเซคียาห์ (Hezekiah) ค.ศ. 716 - ค.ศ. 687 (29 ปี)
มนัสเสห์ (Manasseh) ค.ศ. 687 - ค.ศ. 642 (45 ปี)
อาโมน (Amon) ค.ศ. 642 - ค.ศ. 640 (2 ปี)
โยสิยาห์ (Josiah) ค.ศ. 640 - ค.ศ. 609 (31 ปี)
เยโฮอาหา (Jehoahaz) ค.ศ. 609 - ค.ศ. 606 (3 ปี )
เยโฮยาคิม (Jehoiakim) ค.ศ. 606 - ค.ศ. 595 (11 ปี)
เยโฮยาคีน (Jehoiachin) ครอบครองอยู่ 3 เดือน
เศเดคียาห์ (Zedekiah) ค.ศ. 592 - ค.ศ. 581 (11 ปี)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grabbe, Lester L., บ.ก. (2008). Israel in Transition: From Late Bronze II to Iron IIa (c. 1250–850 B.C.E.). A&C Black. pp. 225–226. ISBN 978-0567027269. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
  2. Vaughn, Andrew G.; Killebrew, Ann E., บ.ก. (2003). Jerusalem in Bible and Archaeology: The First Temple Period. Society of Biblical Literature. p. 149. ISBN 978-1589830660. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
  3. Finkelstein, Israel (2006). Amit, Yairah; Ben Zvi, Ehud; Finkelstein, Israel; Lipschits, Oded (บ.ก.). The Last Labayu: King Saul and the Expansion of the First North Israelite Territorial Entity. Eisenbrauns. p. 179. ISBN 978-1575061283. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |encyclopedia= ถูกละเว้น (help)
  4. Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2001). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Sacred Texts. The Free Press. pp. 240–243. ISBN 978-0743223386.
  5. Grabbe 2008, pp. 225–6.
  6. Lehman in Vaughn 1992, p. 149.
  7. 7.0 7.1 Thompson 1992, pp. 410–1.