บีเยินส์จาเนอ บีเยินซ็อน
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2375 |
---|---|
เสียชีวิต | 26 เมษายน พ.ศ. 2453 |
อาชีพ | กวี นักประพันธ์ นักเขียนบทละคร |
สัญชาติ | นอร์เวย์ |
แนว | บทละคร |
ลายมือชื่อ |
บีเยินส์จาเนอ มัตตีนียึส บีเยินซ็อน (นอร์เวย์: Bjørnstjerne Martinius Bjørnson; 8 ธันวาคม พ.ศ. 2375 – 26 เมษายน พ.ศ. 2453) ชาวนอร์เวย์ เป็นทั้งกวี นักเขียนบทละคร นวนิยาย นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ ผู้กำกับการแสดงละคร และบุคคลที่มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นของนอร์เวย์ โดยเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในสี่ของผู้ยิ่งใหญ่แห่งวรรณกรรมนอร์เวย์ยุคนั้น อีกสามคนคือ เฮ็นริก อิปเซิน (Henrik Ibsen) อาเล็กซันเดอร์ เช็ลลัน (Alexander Kielland) และยูนัส ลี (Jonas Lie) บทกวีของเขาชื่อ Ja, vi elsker dette landet (ใช่แล้ว เรารักแผ่นดินนี้) ยังถูกนำไปแต่งเป็นเพลงชาติของนอร์เวย์ด้วย บีเยินซ็อนได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903)
บีเยินซ็อนเกิดทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ บิดาเป็นบาทหลวงลูเทอรัน มารดาเป็นบุตรสาวพ่อค้า เขาผละจากมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้ 20 ปี เพื่อมุ่งหน้าทำงานทางด้านวัฒนธรรม โดยเริ่มจากการเป็นนักวิจารณ์ละครเวทีเมื่ออายุได้ 26 ปีเขาแต่งงานกับนักแสดง มีลูกสองคน ชีวิตการเขียนนวนิยายของเขามีอยู่สองช่วง งานช่วงแรกสมัยอายุยี่สิบตอนปลาย เป็นเรื่องของชีวิตชาวไร่ในชนบท ส่วนนวนิยายที่เขียนในวัยห้าสิบขึ้นไป กล่าวถึงประเด็นทางสังคมและการเมืองมากขึ้น ในยุครุ่งเรือง เขาเขียนบทละคร บทกวี และบทความไว้จำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เข้าไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและการเมือง อันทำให้เขาต้องถูกเนรเทศกลาย ๆ ซ้ำซ้อนหลายคราว ในทางการเมือง เขาเปลี่ยนจากแนวคิดชาตินิยมจัดมายึดหลักสังคมนิยม โดยทำงานด้านการสร้างความสงบและความเข้าใจระหว่างประเทศ บีเยินซ็อนต่างจากอิปเซินผู้เป็นสหาย เพราะเขาได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ. 2446 ทว่าชนรุ่นหลังกลับไม่คิดเช่นนั้น ในช่วงท้ายของชีวิตบีเยินซ็อนเป็นอัมพาตครึ่งตัว และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2453 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะอายุ 78 ปี
คำคม - Every joy you have you pay for with sorrow. (ทุกความสุขสันต์ ต้องชดใช้ด้วยความเศร้าโศก)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติในเว็บไซต์ของประทรวงต่างประเทศนอร์เวย์ (ภาษาอังกฤษ)
ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย
[แก้]- ทางรถไฟและสุสาน (The railroad and the churchyard) เก็บถาวร 2005-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความขัดแย้งระหว่างสาธารณประโยชน์กับความทะเยอทะยานส่วนตัว และอันตรายของการที่ผู้นำมุ่งพัฒนาอย่างไร้หลักการ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด และพุ่งเป้าไปที่การยกฐานะอิทธิพลของตนเป็นใหญ่
- บิดา (The father) เก็บถาวร 2005-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หัวอกผู้เป็นพ่อ
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด มาจากเว็บไซต์ วรรณกรรมดอตคอม เก็บถาวร 2005-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์