ข้ามไปเนื้อหา

พนักงานราชการไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พนักงานราชการ)

พนักงานราชการ คือ บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่หน่วยงานของรัฐ ตามสัญญา โดยรับค่าตอบแทนจากรัฐบาล

ประวัติ

[แก้]

ภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการตามการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้นำระบบลูกจ้างสัญญาจ้างเดิม มาปรับรูปแบบการจ้างงานในหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และทดแทนอัตราลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งขยายให้ครอบคลุมถึงการจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา โดยกำหนดชื่อว่า "พนักงานราชการ" เพื่อดึงดูดใจและแสดงสถานะที่ชัดเจน[1]

ปรัชญาของระบบพนักงานราชการ

[แก้]
  1. เพื่อเป็นทางเลือกของการจ้างงานภาครัฐที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว
  2. เน้นการจ้างบุคลากรตามหลักสมรรถนะ และหลักผลสัมฤทธิ์ของงาน
  3. ให้มีการเข้าและออกจากงานตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นไปตามภารกิจ โดยมีการต่อสัญญาได้
  4. ไม่ใช่การจ้างงานตลอดชีพกล่าวคือต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดตามนโยบายแผนงาน หรือโครงการ
  5. ให้ความเป็นอิสระ และยืดหยุ่นแก่ส่วนราชการในการดำเนินการ

วิธีการของระบบพนักงานราชการ

[แก้]
  1. พนักงานราชการสามารถจ้างได้ทุกลักษณะงานตั้งแต่ที่ปรึกษาระดับสากล จนถึงงานบริการ โดยกำหนดเป็น 2 ประเภท คือ พนักงานราชการทั่วไปและพนักงานราชการพิเศษ
  1. มีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
  2. เน้นการวางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า
  3. มีสัญญาจ้างเป็นกลไกรองรับกระบวนการจ้างงาน
  4. แนวปฏิบัติในการจ้างงานแตกต่างกันตามประเภทและลักษณะงานของพนักงานราชการ
  5. การมอบอำนาจส่วนราชการเป็นผู้บริหารจัดการเองภายใต้แนวปฏิบัติที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกำหนดไว้

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พนักงานราชการ สามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชี 32 เมื่อปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนี้[2]

  • กลุ่มงานบริการ / กลุ่มงานเทคนิค เริ่มขอพระราชทาน บ.ม. เลื่อนได้จนถึง จ.ช.
  • กลุ่มงานบริหารทั่วไป เริ่มขอพระราชทาน บ.ช. เลื่อนได้จนถึง ต.ม.
  • กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ เริ่มขอพระราชทาน จ.ม. เลื่อนได้จนถึง ต.ช.
  • กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ เริ่มขอพระราชทาน จ.ช. เลื่อนได้จนถึง ท.ม.
  • กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
    • ระดับทั่วไป เริ่มขอพระราชทาน ต.ม. เลื่อนได้จนถึง ท.ช.
    • ระดับประเทศ เริ่มขอพระราชทาน ต.ช. เลื่อนได้จนถึง ป.ม.
    • ระดับสากล เริ่มขอพระราชทาน ท.ม. เลื่อนได้จนถึง ป.ช.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-21.
  2. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 33ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 105ก วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549