สงครามอิรัก–อิหร่าน
สงครามอิรัก–อิหร่าน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งที่อ่าวเปอร์เซีย | |||||||||
บนซ้ายไปล่างขวา:
| |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
|
สนับสนุนโดย:
| ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
|
ซัดดัม ฮุสเซน คนอื่น ๆ:
| ||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
ดูลำดับสงคราม | ดูลำดับสงคราม | ||||||||
กำลัง | |||||||||
เริ่มต้น:[45]
เพิ่มเติม:
|
เริ่มต้น:[45]
เพิ่มเติม:
| ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ทหารเสียชีวิต:
|
ทหารเสียชีวิต: | ||||||||
พลเมืองเสียชีวิต: มากกว่า 100,000 คน[หมายเหตุ 4] |
สงครามอิรัก–อิหร่าน (อังกฤษ: Iran–Iraq War; เปอร์เซีย: جنگ ایران و عراق; อาหรับ: الحرب الإيرانية العراقية) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท)
สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก
แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบ ๆ ครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม[72] เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003[73][74]
สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด"[75][76][77] และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็ล่วงเลยไปถึงวันที่ 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว
เบื้องหลัง
[แก้]ความขัดแย้งอิรัก-อิหร่าน
[แก้]อิหร่านและอิรักมีความขัดแย้งกันจากปัญหาเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของอิรักมีเชื้อสายอาหรับใช้ภาษาอารบิก ในขณะที่ส่วนน้อยมีเชื้อสายเปอร์เซียใช้ภาษาเปอร์เซีย คนเชื้อสายเปอร์เซียในอิรักมีสถานะเป็นรองเชื้อสายอาหรับอยู่เสมอและมักถูกกดขี่โดยคนเชื้ออาหรับ ทำให้ชาวอิรักเชื้อสายเปอร์เซียเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจต่อชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ปัญหาเช่นนี้เกิดในอิหร่านเช่นกัน ประชากรของอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซียกับอาหรับอย่างละครึ่ง แต่ชนชั้นปกครองในอิหร่านเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายเปอร์เซีย ฉะนั้นในอิหร่านเองก็มีความไม่พอใจของคนเชื้อสายอาหรับต่อคนเชื้อสายเปอร์เซีย
คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดฆูเซสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดฆูเซสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อม ๆ อยู่เสมอในจังหวัดนี้
นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า "ชาวเคิร์ด" เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอารยัน ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี และสหภาพโซเวียต ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่น ๆ แก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งและยังเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น "สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบแก่อิหร่าน
จากสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อิหร่านไม่ได้มีส่วนแก้ปัญหาชาวเคิร์ดในอิรักเลย แต่อิรักกลับต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งแก่อิหร่าน อิรักมองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวหาความเป็นธรรมไม่ได้
จุดยืนของสหรัฐอเมริกา
[แก้]สหรัฐอเมริกาถือเป็นมิตรประเทศของประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติ แม้กระทั่งหลังการปฏิวัติอิหร่านแล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ก็ยังคงมองอิหร่านเป็นปราการเพื่อต่อต้านอิรักและสหภาพโซเวียต สหรัฐมีการเจรจาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเฉพาะกาลของอิหร่าน มีการอนุมัติความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างสองประเทศในปี 1979 ทั้งสหรัฐและอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน ขาดสะบั้นลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน และอิหร่านยังกล่าวหาสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารอิหร่านในปี 1953 สหรัฐได้ตัดทางการทูตเป็นการตอบโต้ ในขณะที่บรรดาผู้นำของอิหร่านรวมทั้งรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีต่างเชื่อทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าสหรัฐให้ "ไฟเขียว" แก่ซัดดัม ฮุสเซน ในการบุกอิหร่าน และยังสงสัยว่าสหรัฐจะใช้อิรักเป็นหมากในการแก้แค้นเรื่องวิกฤตตัวประกัน ตามบันทึกของประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ได้ระบุในไดอารีของเขาว่า "พวกผู้ก่อการร้ายอิหร่านกำลังจะทำเรื่องบ้า ๆ อย่างฆ่าตัวประกันชาวอเมริกันถ้าพวกเขาถูกบุกโดยอิรัก ที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา"
ความพร้อมของอิรัก
[แก้]อิรักได้วางแผนโจมตีอิหร่านโดยเชื่อมั่นอย่างมากว่าจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านในขณะนั้นยังขาดเสถียรภาพและแตกออกเป็นสองขั้วระหว่างขั้วอเมริกันกับขั้วอังกฤษ อิรักมีศักยภาพในการจัดกองพลยานเกราะได้ 12 กองพล และตลอดช่วงทศวรรษที่ 1970 ซัดดัมได้เสริมสร้างแสนยานุภาพของอิรักด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่สุดจากสหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต[78]
นอกจากนี้ แม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนกำลังพลของอิรัก เนื่องจากกองทัพอิรักมีสะพานสำเร็จรูปที่ประกอบได้อย่างรวดเร็ว อิรักยังคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าแนวป้องกันของอิหร่านบริเวณแม่น้ำคาร์เคและแม่น้ำคารุนนั้นมีกำลังทหารไม่เพียงพอ ทำให้อิรักสามารถข้ามแม่น้ำได้โดยง่าย การข่าวกรองของอิรักยังยืนยันอีกว่า กำลังทหารอิหร่านในจังหวัดฆูเซสถานนั้นมียุทโธปกรณ์ที่ล้าหลังและประสิทธิภาพต่ำ และมีเพียงรถถังเพียงหยิบมือเท่านั้นที่ใช้งานได้[78]
สิ่งเดียวที่อิรักเป็นกังวลก็คือกำลังทางอากาศของอิหร่านซึ่งมีศักยภาพ นั่นเองจึงทำให้ผู้บัญชาการทหารของอิรัก ตัดสินใจที่จะทำการโจมตีแบบฉาบฉวยต่อฐานทัพและโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศของอิหร่านก่อนเพื่อเป็นการเบิกทางให้กับการรุกรานทางบก[78]
ความพร้อมของอิหร่าน
[แก้]กองทัพอิหร่านในขณะนั้นกำลังอยู่ในสภาพอ่อนแอ นายทหารจำนวนมากถูกประหารโดยศาลปฏิวัติอิสลามในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน กองทัพขาดอาวุธยุทโธปกรณ์และอะไหล่ที่ผลิตโดยสหรัฐ-อังกฤษอย่างรุนแรง ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงกันยายน 1979 รัฐบาลอิหร่านประหารนายพลระดับสูงกว่า 85 ราย และบังคับนายพลคนอื่นๆที่เหนือรวมถึงเหล่าผู้บัญชาการกองพลน้อยให้เกษียณก่อนกำหนด[79]
ก่อนเดือนกันยายน 1980 รัฐบาลอิหร่านปลดเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 12,000 นาย การปลดครั้งนี้ได้ลดศักยภาพความพร้อมรบของกองทัพอิหร่านลงอย่างรุนแรง กำลังทหารปกติของอิหร่าน (ซึ่งเคยได้รับการยอมรับว่ามีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในปี 1978[80]) อ่อนแอลงอย่างมาก อัตราการหนีทหารสูงลิบกว่า 60% นายทหารและนักบินทักษะสูงส่วนใหญ่ต่างลี้ภัย, ถูกจำคุก หรือถูกประหาร นับเป็นภาวะสมองไหลที่ส่งผลต่อศักยภาพกองทัพอิหร่านมาจนถึงปัจจุบัน[81]
อิหร่านยังถูกขัดขวางไม่ให้เข้าถึงอาวุธหนักอย่างรถถังหรืออากาศยานได้ ซึ่งเป็นผลจากการแทรงแซงโดยสหรัฐและสหราชอาณาจักร เมื่ออิรักเริ่มทำการบุก มีการปล่อยตัวนักบินและนายทหารจำนวนมากออกจากคุก หรือเปลี่ยนโทษประหารเป็นส่งไปรบกับอิรักแทน นอกจากนี้ ยังได้มีการเลื่อนขั้นทหารรุ่นใหม่จำนวนมากขึ้นเป็นนายพล ทำให้กองทัพอิหร่านมีความเป็นเนื้อเดียวกับรัฐบาลมากขึ้นตั้งแต่สิ้นสุดสงครามจวบจนปัจจุบัน[81] แม้จะถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจภายนอก แต่อิหร่านก็ยังคงมีรถถังที่ใช้งานได้อย่างน้อยกว่า 1,000 คันรวมถึงอากาศยานอีกหลายร้อยเครื่อง ทำให้สามารถใช้ชิ้นส่วนของเครื่องที่มีอยู่เป็นอะไหล่ได้อยู่บ้าง[82]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Pollack ระบุจำนวนรถถังที่ใช้งานได้เต็มที่ 1,000 คันในเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ส่วน Cordesman ให้จำนวนระบุจำนวนรถถังที่ใช้งานได้เต็มที่มากกว่า 1,500 คันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1988 (1,298 คันถูกฝ่ายอิรักยึดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1988, 200 คันอยู่ในฝ่ายอิหร่าน และไม่ทราบจำนวนรถถังที่ถูกทำลาย) โดยไม่ทราบจำนวนโรงงาน
- ↑ จำนวนประมาณการของชาวอิหร่านที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในสงครามอิรักมีหลากหลาย[53][54][55][56][57][58][59][60][61]
- ↑ จำนวนประมาณการของชาวอิรักที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในสงครามอิรักมีหลากหลาย[63][65][66][67][68][69]
- ↑ ไม่รวมพลเมืองชาวเคิร์ด 50,000–200,000 คนที่ถูกฆ่าในการสังหารหมู่อัลอันฟาล[70][71]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dr. Nimrod Raphaeli (11 February 2009). "The Iranian Roots of Hizbullah". MEMRI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2009.
- ↑ "Memoires of Afghan volunteers in Iran-Iraq war published (tehrantimes.com)". 7 October 2018.
- ↑ ""Mohsen, the Japanese" chronicles life of Afghan volunteer fighter in Iran-Iraq war (tehrantimes.com)". 16 December 2020.
- ↑ Williamson Murray, Kevin M. Woods (2014): The Iran–Iraq War. A Military and Strategic history. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-06229-0 p. 223
- ↑ Garver, John W. (2006). China and Iran: Ancient Partners in a Post-Imperial World. Seattle, WA: University of Washington Press. pp. 72, 80–81. ISBN 978-0295986319.
- ↑ Treacherous alliance. Yale University Press. 2007. ISBN 978-0300120578 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ "Iraq Breaks Ties with Libya over Support for Iran". Los Angeles Times. 27 June 1985. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2018. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
- ↑ "The Iran-North Korea Connection". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ Allam, Shah (October–December 2004). "Iran-Pakistan Relations: Political and Strategic Dimensions" (PDF). Strategic Analysis. The Institute for Defence Studies and Analyses. 28 (4): 526. doi:10.1080/09700160408450157. S2CID 154492122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-01. สืบค้นเมื่อ 20 October 2013.
- ↑ Ansar, Arif (27 January 2013). "Preventing the next regional conflict". Pakistan Today. สืบค้นเมื่อ 20 October 2013.
- ↑ Shah, Mehtab Ali (1997). The Foreign Policy of Pakistan: Ethnic Impacts on Diplomacy, 1971–1994. London [u.a.]: Tauris. ISBN 1-86064-169-5.
- ↑ Karsh, Efraim (1989). The Iran–Iraq War: Impact and Implications. ISBN 978-1349200504.
- ↑ El-Azhary, M. S. (23 May 2012). The Iran–Iraq War (RLE Iran A). ISBN 978-1136841750.
- ↑ Razoux, Pierre (2015). The Iran–Iraq War. ISBN 978-0674088634.
- ↑ Iran and Syria เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Jubin Goodarzi
- ↑ Johnson, Rob (24 November 2010). The Iran–Iraq War. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1137267788 – โดยทาง Google Books.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Murray, Williamson; Woods, Kevin M. (2014). The Iran–Iraq War: A Military and Strategic History. Cambridge University Press. ISBN 978-1107062290 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Middleton, Drew (4 October 1982). "Sudanese Brigades Could Provide Key Aid for Iraq; Military Analysis". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ "Iraq-Iran war becoming Arab-Persian war? (The Christian Science Monitor)". The Christian Science Monitor. 5 February 1982. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ "Jordan's call for volunteers to fight Iran misfires (The Christian Science Monitor)". The Christian Science Monitor. 11 February 1982. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ Schenker, David Kenneth (2003). Dancing with Saddam: The Strategic Tango of Jordanian-Iraqi Relations (PDF). The Washington Institute for Near East Policy / Lexington Books. ISBN 0-7391-0649-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 January 2017.
- ↑ "Jordanian Unit Going To Aid Iraq 6 Hussein Will Join Volunteer Force Fighting Iranians (The Washington Post)". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ Dictionary of modern Arab history, Kegan Paul International 1998. ISBN 978-0710305053 p. 196.
- ↑ Berridge, W. J. "Civil Uprisings in Modern Sudan: The 'Khartoum Springs' of 1964 and 1985", p. 136. Bloomsbury Academic, 2015
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbulloch89
- ↑ "china and the iran-iraq conflict" (PDF). CIA. 1986-09-19. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
- ↑ Gonzalez, Henry B. (21 September 1992), "Oil Sales to Iraq and more details on Matrix-Churchill Corp.", Congressional Record: H8820, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27, สืบค้นเมื่อ 2022-05-05
- ↑ Ibrahim, Youssef M. (21 September 1990), "Confrontation in the Gulf; French Reportedly Sent Iraq Chemical War Tools", The New York Times
- ↑ Metz, Helen Chapin, ed. (1988), "Arms from France" เก็บถาวร 14 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Iraq: a Country Study, Library of Congress[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
- ↑ Timmerman, Kenneth R. "Chapter 7: Operation Staunch". Fanning the Flames: Guns, Greed & Geopolitics in the Gulf War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 17 September 2015 – โดยทาง Iran Brief. Syndicated by New York Times Syndication Sales, 1987, published in book form as "Öl ins Feuer Internationale Waffengeschäfte im Golfkrieg" Orell Füssli Verlag Zürich and Wiesbaden 1988 ISBN 3-280-01840-4
- ↑ Anthony, John Duke; Ochsenwald, William L.; Crystal, Jill Ann. "Kuwait". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
- ↑ 32.0 32.1 Vatanka, Alex (22 March 2012). "The Odd Couple". The Majalla. Saudi Research and Publishing Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
- ↑ Metz, Helen Chapin, ed. (1988), "The Soviet Union" เก็บถาวร 8 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Iraq: a Country Study, Library of Congress Country Studies
- ↑ Metz, Helen Chapin, ed. (1988), "Arms from The Soviet Union" เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Iraq: a Country Study, Library of Congress
- ↑ Stothard, Michael (30 December 2011). "UK secretly supplied Saddam". Financial Times.
- ↑ "US and British Support for Hussein Regime". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
- ↑ "U.S. Links to Saddam During Iran–Iraq War". NPR. 22 September 2005.
- ↑ Friedman, Alan. Spider's Web: The Secret History of How the White House Illegally Armed Iraq, Bantam Books, 1993.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Timmerman, Kenneth R. (1991). The Death Lobby: How the West Armed Iraq. New York: Houghton Mifflin Company. ISBN 0-395-59305-0.
- ↑ "Statement by former NSC official Howard Teicher to the U.S. District Court, Southern District of Florida" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017. Plain text version
- ↑ "Iraqi Scientist Reports on German, Other Help for Iraq Chemical Weapons Program". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
- ↑ "Yugoslavia Arms Sales". Environmental News and Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-07. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
- ↑ Cordesman, Anthony H. (2006). Iraqi Security Forces: A Strategy for Success. Greenwood Publishing Group. p. xviii. ISBN 978-0275989088.
Hundreds of thousands of Arab Shi'ites were driven out of [Iraq], and many formed an armed opposition with Iranian support. While most of the remaining Arab Shi'ites remained loyal, their secular and religious leaders were kept under constant surveillance and sometimes imprisoned and killed.
- ↑ Mearsheimer, John J.; Walt, Stephen M. (12 November 2002). "Can Saddam Be Contained? History Says Yes". International Security. Belfer Center for Science and International Affairs.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 45.0 45.1 Pollack, p. 186.
- ↑ Farrokh, Kaveh, 305 (2011)
- ↑ Pollack, p. 187.
- ↑ Farrokh, Kaveh, 304 (2011)
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Pollack, p. 232.
- ↑ Cordesman, Anthony H. "The Lessons of Modern War: The Iran–Iraq War." Boulder, CO: Westview Press, 1990. Chapter 10: "In fact, Iraq had captured so much equipment that it was able to put on an incredible show on the outskirts of Baghdad. Rather than include all of Iraq's gains, it included the equipment that could either be used immediately or be easily reconditioned. Iraqi sources claimed that since March, Iraq had captured a total of 1,298 tanks, 155 armored infantry fighting vehicles, 512 heavy artillery weapons, 6,196 mortars, 5,550 recoilless rifles and light guns, 8,050 rocket propelled grenades, 60,694 rifles, 322 pistols, 6,156 telecommunications devices, 501 items of heavy engineering equipment, 454 trucks, 1,600 light vehicles and trailers, 16,863 items of chemical defense gear, and 16,863 caskets... After its recent defeats, Iran was virtually defenseless in the south. It was down to less than 200 tanks."
- ↑ Pollack, p. 3.
- ↑ 53.0 53.1 53.2 53.3 Hiro, Dilip (1991). The Longest War: The Iran–Iraq Military Conflict. New York: Routledge. p. 205. ISBN 978-0-415-90406-3. OCLC 22347651.
- ↑ 54.0 54.1 54.2 Rajaee, Farhang (1997). Iranian Perspectives on the Iran–Iraq War. Gainesville, FL: University Press of Florida. p. 2. ISBN 978-0-8130-1476-0. OCLC 492125659.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Mikaberidze, Alexander (2011). Conflict and Conquest in the Islamic World: A Historical Encyclopedia. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. p. 418. ISBN 978-1-59884-336-1. OCLC 775759780.
- ↑ Hammond Atlas of the 20th Century (1999), pp. 134–135.
- ↑ Dunnigan, A Quick and Dirty Guide to War (1991)
- ↑ Dictionary of Twentieth Century World History, by Jan Palmowski (Oxford, 1997)
- ↑ Clodfelter, Micheal, Warfare and Armed Conflict: A Statistical Reference to Casualty and Other Figures, 1618–1991
- ↑ Chirot, Daniel: Modern Tyrants : the power and prevalence of evil in our age (1994)
- ↑ "B&J": Jacob Bercovitch and Richard Jackson, International Conflict : A Chronological Encyclopedia of Conflicts and Their Management 1945–1995 (1997), p. 195.
- ↑ 62.0 62.1 Abrahamian, Ervand (2008). A History of Modern Iran. Cambridge; New York: Cambridge University Press. pp. 171–175, 212. ISBN 978-0511984402. OCLC 171111098.
- ↑ 63.0 63.1 63.2 Potter, Lawrence G.; Sick, Gary (2006). Iran, Iraq and the Legacies of War. Basingstoke: Palgrave Macmillan. p. 8. ISBN 978-1-4039-7609-3. OCLC 70230312.
- ↑ 64.0 64.1 Zargar, Moosa; Araghizadeh, Hassan; Soroush, Mohammad Reza; Khaji, Ali (December 2012). "Iranian casualties during the eight years of Iraq-Iran conflict". Revista de Saúde Pública. São Paulo: Faculdade de Higiene e Saúde Pública da Universidade de São Paulo. 41 (6): 1065–1066. doi:10.1590/S0034-89102007000600025. ISSN 0034-8910. OCLC 4645489824. PMID 18066475.
- ↑ 65.0 65.1 65.2 Hiro, Dilip (1991). The Longest War: The Iran–Iraq Military Conflict. New York: Routledge. p. 251. ISBN 978-0-415-90406-3. OCLC 22347651.
- ↑ Rumel, Rudolph. "Centi-Kilo Murdering States: Estimates, Sources, and Calculations". Power Kills. University of Hawai'i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
- ↑ 67.0 67.1 67.2 Karsh, Efraim (2002). The Iran–Iraq War, 1980–1988. Oxford, England: Osprey Publishing. p. 89. ISBN 978-1-84176-371-2. OCLC 48783766.
- ↑ Koch, Christian; Long, David E. (1997). Gulf Security in the Twenty-First Century. Abu Dhabi: Emirates Center for Strategic Studies and Research. p. 29. ISBN 978-1-86064-316-3. OCLC 39035954.
- ↑ Black, Ian (23 September 2010). "Iran and Iraq remember war that cost more than a million lives". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2017. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016.
- ↑ Rumel, Rudolph. "Lesser Murdering States, Quasi-States, and Groups: Estimates, Sources, and Calculations". Power Kills. University of Hawai'i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2012. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
- ↑ Sinan, Omar (25 June 2007). "Iraq to hang 'Chemical Ali'". Tampa Bay Times. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ Farrokh, Kaveh. Iran at War: 1500–1988. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 9781780962214.
- ↑ Molavi, Afshin (2005). The Soul of Iran: A Nation's Journey to Freedom (Revised ed.). England: W. W. Norton & Company. p. 152. ISBN 978-0-393-32597-3.
- ↑ Fathi, Nazila (14 March 2003). "Threats And Responses: Briefly Noted; Iran-Iraq Prisoner Deal". The New York Times.
- ↑ "IRAQ vii. IRAN–IRAQ WAR". Encyclopædia Iranica. 15 December 2006.
- ↑ Hiltermann, Joost (17 January 2003). "America Didn't Seem to Mind Poison Gas". Global Policy Forum.
- ↑ King, John (31 March 2003). "Arming Iraq and the Path to War". U.N. Observer & International Report.
- ↑ 78.0 78.1 78.2 "Iran-Iraq War 1980–1988". History of Iran. Iran Chamber Society.
- ↑ Karsh, Efraim (25 April 2002). The Iran–Iraq War: 1980–1988. Osprey Publishing. pp. 1–8, 12–16, 19–82. ISBN 978-1-84176-371-2.
- ↑ Farmanfarmaian, Roxane (14 February 2011). "What makes a revolution succeed?". Al Jazeera.
- ↑ 81.0 81.1 "National Security". Pars Times.
- ↑ Pollack, Kenneth M. (2004). "Iraq". Arabs at War: Military Effectiveness, 1948–1991. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-8783-9.
ข้อมูล
[แก้]- Brogan, Patric k (1989). World Conflicts: A Comprehensive Guide to World Strife Since 1945. London: Bloomsbury. ISBN 0-7475-0260-9.
- Bulloch, John; Morris, Harvey (1989). The Gulf War: Its Origins, History and Consequences (1st published ed.). London: Methuen. ISBN 978-0-413-61370-7.
- Lewental, D. Gershon (November 2014). ""Saddam's Qadisiyyah": Religion and history in the service of state ideology in Baʿthi Iraq". Middle Eastern Studies. Taylor & Francis. 50 (6): 891–910. doi:10.1080/00263206.2013.870899. S2CID 143904965.
- Farrokh, Kaveh (2011). Iran at War: 1500–1988. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-78096-221-4.
- "Phase Five: New Iranian Efforts at "Final Offensives", 1986–1887" (PDF). The Lessons of Modern War – Volume II: Iran–Iraq War. Center for Strategic and International Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- "Iran–Iraq War 1980–1988". History of Iran. Iran Chamber Society.
- Karsh, Efraim (2002). The Iran–Iraq War: 1980–1988. Osprey Publishing. pp. 1–8, 12–16, 19–82. ISBN 978-1-84176-371-2.
- Pollack, Kenneth M. (2004). "Iraq". Arabs at War: Military Effectiveness, 1948–1991. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-8783-9.
- Wright, Edwin M. (January 1942). "Iran as a Gateway to Russia". Foreign Affairs. Council on Foreign Relations. 20 (2): 367–372. doi:10.2307/20029156. JSTOR 20029156. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06.
- Pelletiere, Stephan C. (1992). The Iran–Iraq War: Chaos in a Vacuum. Praeger Publishers. ISBN 978-0-275-93843-7.
- Timmerman, Kenneth R. "Chapter 7: Operation Staunch". Fanning the Flames: Guns, Greed & Geopolitics in the Gulf War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 17 September 2015 – โดยทาง Iran Brief. (syndicated by New York Times Syndication Sales, 1987, published in book form as "Öl ins Feuer Internationale Waffengeschäfte im Golfkrieg" Orell Füssli Verlag Zürich and Wiesbaden 1988 ISBN 3-280-01840-4
- Leopold, Mark (2005). Inside West Nile. Violence, History & Representation on an African Frontier. Oxford: James Currey. ISBN 978-0-85255-941-3.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Cooper, Tom (July–August 2002). "'Floggers" in Action: Early MiG-23s in Operational Service". Air Enthusiast. No. 100. pp. 56–67. ISSN 0143-5450.
- Murray, Williamson; Woods, Kevin (2014). The Iran–Iraq War: A Military and Strategic History. New York, NY: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-06229-0. OCLC 877852628.
- Razoux, Pierre; Elliott, Nicholas (2015). The Iran–Iraq War. Cambridge, MA: The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-08863-4. OCLC 907204345.
- บทความที่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องตั้งแต่October 2013
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการอ้างอิงหมายเลขหน้าตั้งแต่November 2019
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่December 2021
- สงครามอิรัก–อิหร่าน
- สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สงครามเกี่ยวข้องกับตะวันออกกลาง
- สงครามเกี่ยวข้องกับอิรัก
- สงครามเกี่ยวข้องกับอิหร่าน
- บทความเกี่ยวกับ การทหาร ที่ยังไม่สมบูรณ์