ข้ามไปเนื้อหา

โยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์

โยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์ (Joseph von Fraunhofer, 6 มีนาคม 1787[1] – 7 มิถุนายน 1826[1]) เป็นนักประดิษฐ์และ นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักจากชื่อเส้นเฟราน์โฮเฟอร์ ในสเปกตรัมของแสงอาทิตย์และ การเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์ ในสาขาทัศนศาสตร์ นอกจากนี้แล้ว สมาคมเฟราน์โฮเฟอร์ ของเยอรมนีเพื่อการวิจัยประยุกต์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเขา

ชีวประวัติ

[แก้]

เฟราน์โฮเฟอร์เกิดในเมืองชเตราบิง รัฐไบเอิร์น เป็นลูกคนที่ 11 ของช่างทำแก้ว[1] เขากลายเป็นเป็นเด็กกำพร้าในปี 1797 หลังจากมารดาเสียชีวิต และบิดาของเขาเสียชีวิตใน ปี 1798 จากนั้นเขาจึงไปเป็นเด็กฝึกงานของ เพ.อา. ไวช์เซิลแบร์เกอร์ (P. A. Weichselberger) ช่างทำกระจกในมึนเชิน

เขาได้ความรู้มากมายจากการศึกษาด้วยตนเองและอิทธิพลของนักดาราศาสตร์ อู. ชีค (U. Schiegg) และเข้าเรียนที่สถาบันคณิตศาสตร์และเครื่องจักรใน ปี 1806 ในราวปี 1813 เขาได้สร้างปริซึมสำหรับสเปกโทรสโกปี และ ในปี 1814 เขาค้นพบเส้นมืดประมาณ 700 เส้นในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ซึ่งวิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตันได้เคยค้นพบ[1] ภายหลังเส้นสเป็กตรัมนี้จึงได้รับการตั้งชื่อว่า เส้นเฟราน์โฮเฟอร์

ใน ปี 1817 เขาตัดสินใจวัดดรรชนีหักเหของแก้วโดยพิจารณาจากเส้นมืดของสเปกตรัมแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในเทคโนโลยีทัศนศาสตร์

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1817 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ไบเอิร์น และใน 1821 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกพิเศษ ซึ่งเขาได้พบกับบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมทั้ง คาร์ล ฟรีดริช เกาส์

ในปี 1819 เขาได้สร้างเลนส์ใกล้วัตถุที่มีรูรับแสงขนาด 24.4 ซม. ความยาวโฟกัส 432 ซม. F17.7 สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงให้กับหอดูดาวตาร์ตู ในเมืองตาร์ตู ประเทศเอสโตเนีย และในปีเดียวกันนั้น เขายังได้ชุบกระจกด้วยทองและสร้างโครงตาข่ายที่มีเส้นขนาน 300 เส้นต่อมิลลิเมตรเพื่อศึกษาการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีคลื่นของแสงซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ในเวลานั้น

ใน ปี 1822 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน

ใน 1824 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางและได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุล "ฟ็อน" และได้เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของมึนเชิน

ปลายฤดูร้อนปี 1825 เขาตรวจพบว่าติดเชื้อวัณโรคปอด แต่ก็ยังคงพยายามผลิตแก้วคราวน์ต่อไป จนเขาได้เสียชีวิตลงใน ปี 1826 ขณะอายุ 39 ปี[1] ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่อัลเทอร์ ซืทฟรีทฮ็อฟ ในมึนเชิน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編』pp.1-54「世界史の中の屈折望遠鏡」。
  2. http://www.findagrave.com/cgi-bin/fg.cgi?page=gr&GSln=Fraunhofer&GSbyrel=in&GSdyrel=in&GSob=n&GRid=6049&