เทนเซ็นต์
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอื่น คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ชื่อท้องถิ่น | 腾讯控股有限公司 |
---|---|
ประเภท | บริษัทมหาชน SEHK: 700 |
ISIN | KYG875721634 |
อุตสาหกรรม | บริษัทที่มีการลงทุนในกิจการ (Conglomerate Holding Company) |
ก่อตั้ง | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 |
ผู้ก่อตั้ง |
|
สำนักงานใหญ่ | เชินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน |
รายได้ | CN¥560.118 พันล้าน (US$86.84 พันล้าน) (2564) [1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | CN¥271.62 พันล้าน (US$42.11 พันล้าน) (2564) [1] |
รายได้สุทธิ | CN¥227.81 พันล้าน (US$35.32 พันล้าน) (2564) [1] |
สินทรัพย์ | CN¥1.612 ล้านล้าน (US$249.98 พันล้าน) (2564) [1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | CN¥876.693 พันล้าน (US$135.92 พันล้าน) (2564) [1] |
เจ้าของ | Naspers (30.86%; ตั้งแต่ 2562 ผ่านบริษัท Prosus) [2] หม่า ฮั่วเถิง (8.42%) จาง จื้อตง (3.5%) [3] |
พนักงาน | 112,771 (2564) [1] |
เว็บไซต์ | https://www.tencent.com/ |
เทนเซ็นต์ (อังกฤษ: Tencent Holdings Limited; จีน: 腾讯控股有限公司, พินอิน: Téngxùn kònggǔ yǒuxiàn gōngsī) ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อปี 2541 ขึ้นด้วยเงินทุน 500,000 หยวน ในช่วงแรกบริษัท เทนเซ็นต์ (อังกฤษ: Tencent) ให้บริการด้าน System Integration หรือบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรเป็นหลัก[4] และเปิดตัวโปรแกรมคิวคิว ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542 พร้อมกับการเปิดตัวเว็บไซต์ คิวคิว (www.qq.com) หลังการเปิดให้บริการ คิวคิว ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในตลาดจีนและกลายเป็นโปรแกรมระบบส่งข้อความทันที ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน ด้วยตัวเลขสมาชิกสูงถึง 448 ล้านคน (สถิติถึงครึ่งปีแรกของปี 2552) ส่งผลให้นายหม่า ฮั่วเถิง (马化腾) หรือที่รู้จักกันในนาม โพนี่ หม่า (Pony Ma) ผู้ก่อตั้งบริษัท Tencent กลายเป็นคนดังในสังคมจีนอย่างรวดเร็ว เขาได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อโลกเมื่อปี 2551 ซึ่งใน 100 บุคคลนี้มีชาวจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับเพียง 5 คนเท่านั้น วันที่ 16 มิถุนายน 2004 เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (มหาชน) (SEHK 700) [5] ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง [6]
ประวัติการดำเนินกิจการ
[แก้]- ปี 1998 สองผู้ก่อตั้ง หม่า ฮั่วเถิง และ จาง จื้อตง โดย หม่า เคยติดอันดับที่ 16 ของคนรวยที่สุดในแผ่นดินใหญ่และรวยที่สุดในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของจีน โดยก่อนหน้านี้ทั้งสองทำงานอยู่ในบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตั้งแต่สมัยยังใช้วิทยุติดตามตัวกันอยู่ ปัจจุบันผู้บริหารส่วนใหญ่ของที่นี่ล้วนเป็นชาวจีนทั้งสิ้น และอายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 26 ปี ตลอดช่วงปีแรก ๆ ที่สร้าง QQ ผู้บริหารพยายามขาย QQ ให้กับบริษัทใหญ่ ๆ แต่ไม่มีใครยอมซื้อ
- ปี 2000 ได้เงินทุน 77 ล้านบาทจากบริษัทเงินทุนในอเมริกาและฮ่องกง แลกกับหุ้น 40% ผู้ใช้ QQ พุ่งถึง 100 ล้านคน แต่บริษัทก็ยังหาเงินด้วยตนเองไม่ได้ เลยร่วมมือกับไชน่า โมบายล์ เชื่อมบริการหลายอย่างจาก QQ ไปมือถือ เช่น ส่งข้อความ เล่นเกม หาคู่ผ่านมือถือ
- ปี 2001 เริ่มมีกำไร 51 ล้านบาท
- ปี 2002 ยอดผู้ใช้ 160 ล้านคน กำไรพุ่งไป 14 เท่าจากปีที่แล้ว
- ปี 2004 เริ่มบุกฮ่องกง และเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
- ปี 2006 ลงทุน 500 ล้านบาทสร้างสำนักวิจัยของตัวเอง เป็นสถาบันวิจัยด้านอินเทอร์เน็ตที่แรกของจีน มีสาขาที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเชินเจิ้น
- ปี 2008 ขยายบริการอื่น ๆ เช่น ออนไลน์เกม (มีเกมออนไลน์ใหม่ ออกทุก ๆ เดือน) อีเมล เว็บค้นหาข้อมูล soso.com (ที่วันนี้เป็นอันดับ 3 รองจากไป๋ตู้ (baidu.com) และ กูเกิล)
- ปี 2009 ย้ายออฟฟิศใหม่ไปที่ Tencent Building ตึกสูง 39 ชั้นตั้งอยู่ใจกลางย่านไอทีของเชินเจิ้น
- ปี 2010 จ่ายเงินหมื่นกว่าล้านบาทให้กับบริษัท Digital Sky Technologies Ltd. ในรัสเซียเพื่อแฝงการลงทุนในหุ้นของเฟซบุ๊ก[7]
- ปี 2012 ได้เปิดตัวโปรแกรมแชท ชื่อดัง วีแชต ในประเทศไทย เมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือจากเว็บไซต์ชื่อดังของไทย สนุก ดอตคอม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรมแชทนี้ถึง 200 ล้านคนทั่วโลก
ความสำเร็จ
[แก้]เทนเซ็นต์ Tencent เป็นบริษัทไอทีอันดับ 1 ของจีน ก่อตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2541 ให้บริการเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน เกมออนไลน์ โดยวางตำแหน่งทางการตลาดของบริษัท เป็น One-Stop Online Lifestyle
โดย Tencent ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นบริษัทไอทีอันดับ 4 รองจาก Google, Amazon และ Facebook ในแง่ Market Capitalization มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 3,700 ล้านเหรียญ ส่วน Pony Ma ซีอีโอของ Tencent ได้รับการจัดอันดับจากฟอบส์ว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของจีน
ธุรกิจในเครือ
[แก้]ธุรกิจในเครือสามารถแบ่งออกได้เป็นใหญ่ ๆ คือธุรกิจสื่อสารและธุรกิจร้านค้า โดยแบ่งดังนี้
ธุรกิจทางด้านสื่อสาร
[แก้]ธุรกิจในกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกได้หลากหลาย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลักอย่างมหาศาล มีดังนี้
- บริการเว็บไซต์
- QQ.com[8]
- paipai.com
- games.qq.com
- Tenpay.com
- QZone.qq.com
- soso.com
- gongyi.qq.com
- sanook.com (เฉพาะประเทศไทย)
- Tencent Weibo
- แอปพลิเคชัน
- เกมออนไลน์
- QQ Fantasy
- Asura Online
- 王者荣耀 (Honor of Kings)
- อารีนาออฟเวเลอร์
ธุรกิจทางด้านร้านค้า
[แก้]- คิว-เจน : จัดจำหน่ายสินค้าประเภทของที่ระลึกโดยใช้ตราสินค้า คิวคิว เช่น กระเป๋า ตุ๊กตา นาฬิกา เสื้อผ้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "2021 Annual Report" (PDF). Tencent.com. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2022.
- ↑ "prosus2021-annual-report2" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "Tencent Mid year report 2020" (PDF). www.tencent.com. Tencent. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2018.
- ↑ "ท่องอาณาจักร QQ บทเรียนแห่งความสำเร็จของโปรแกรมแชทสัญชาติจีน". ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2012.
- ↑ "TENCENT HOLDINGS LTD. (700)". Hong Kong Exchanges and Clearing Limited.
- ↑ "About Us". Tencent 腾讯公司.
- ↑ วรมน ดำรงศิลป์สกุล (ตุลาคม 2010). "เจาะ Tencent เจ้าของอาณาจักรดิจิตอลหมื่นล้าน!". Positioning Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013.
- ↑ "QQ.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]