ข้ามไปเนื้อหา

วีอาร์โซ

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก VRZO)

วีอาร์โซ
สร้างโดยสุรบถ หลีกภัย
อิสระ ฮาตะ (อดีตสมาชิก)
ปรีดิ์โรจน์ เกษมศานติ์ (อดีตสมาชิก)
พิธีกรสุรบถ หลีกภัย
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล2
จำนวนตอน138 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำซอยพัฒนาการ 46 ถนนพัฒนาการ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ความยาวตอน10-60 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายเวรี่ ทีวี, ยูทูบ
ออกอากาศเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 –
ปัจจุบัน

วีอาร์โซ (อังกฤษ: VRZO) คือรายการวาไรตี้ที่ผลิตโดย บริษัท วีอาร์โซ โปรตักชั่น จำกัด ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือการสัมภาษณ์ความเห็นของคนดูดี 100 คน[1] ในแต่ละหัวข้อที่แตกต่างกันไปในแต่ละตอน ออกอากาศครั้งแรกบนยูทูบ ต่อมาได้เพิ่มการออกอากาศทางช่องเวรี่ ทีวี ทรูวิชั่นส์ 85 ชื่อวีอาร์โซ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "We Are So" มีความหมายว่า "พวกเราเยอะ"[1] นอกจากนี้ยังได้ขยายตลาดไปทำแบรนด์เสื้อยืดและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สายรัดข้อมือที่ใช้ชื่อว่า VRZO Wristband อีกด้วย

ประวัติ

สุรบถ หลีกภัยได้รวมตัวกับกลุ่มเพื่อนอีก 4-5 คน เปิดตัวครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553[2] ในช่วงแรกรายการมีพิธีกร คือ ชัญญ่า ทามาดะ หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล และสุรบถ แนวคิดเกิดมาจากสุรบถที่ใช้งานเฟซบุ๊กที่ได้คำถามจากวัยรุ่นในแฟนเพจ ที่ได้ตั้งกระทู้ปัญหาของตนในเว็บบอร์ด แต่สุรบถคิดว่าข้อแนะนำในเว็บบอร์ดก็แนะนำไปในทางที่ผิด จึงเกิดแนวคิดรายการที่จะแนะนำวัยรุ่นขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ต้องการให้รายการไปในทางที่เคร่งเครียด เหมือนอย่างรายการข่าวหรือแบบสำรวจตามมหาวิทยาลัย แต่ทำรายการให้สนุกสนาน โดยมีบทสัมภาษณ์จากคนที่ดูดีและบุคคลมีชื่อเสียง โดยมีตอนแรกคือรูปลับ มาจากคำถามมาจาก ปัญหาเรื่องรูปหลุด ที่เด็กวัยรุ่นชอบถ่ายรูปกับแฟนแล้วรูปหลุดลงอินเทอร์เน็ตโดยรายการที่ดูสบาย ๆ มีความเห็นที่สนุกสนาน[1] แต่เดิมมีให้ดูเฉพาะในยูทูบ ต่อมาทางช่องเวรี่ ทีวี ได้ติดต่อมาฉายทางทรูวิชั่นส์[3]

เนื้อหารายการและการผลิต

รายการวีอาร์โซ ขณะถ่ายทำรายการ

ในการทำงานสุรบถรับหน้าที่อำนวยการผลิต ปรีโรจน์ เกษมศานติ์ รับหน้าที่เป็นผู้กำกับศิลป์ และ อิสระ ฮาตะ, ดิษพงศ์ สำราญมาก,ฯลฯ รับหน้าที่เป็นผู้ตัดต่อ โดยทั้งปรีดิ์โรจน์และอิสระก็มีส่วนออกหน้ากล้องเช่นกัน มี ทชณิตร เธียรทณัท เป็นช่างกล้อง และมี ธชา คงคาเขตร เป็นผู้กำกับ มีสุรบถและมัลลิกา เป็นผู้สัมภาษณ์ผู้คน[3] ทีมงานล้วนแต่ไม่มีใครศึกษาจบในสาขานิเทศศาสตร์ โดยมีทีมงานหาหนุ่มสาวที่ดูดี 100 คน มาสัมภาษณ์ ในช่วงแรกมีความยากลำบากในการหาคนมาสัมภาษณ์ เพราะยังเป็นรายการที่ไม่มีคนรู้จัก โดยมีสถานที่ถ่ายทำเช่น สยามสแควร์ สยามพารากอน ทองหล่อ เทอร์มินัล 21 เซ็นทรัลเวิลด์ หรือในบางตอนที่เป็นตอนพิเศษถ่ายทำที่พัทยา เชียงใหม่[3] และจันทบุรี

หัวข้อในการสัมภาษณ์นั้น เลือกประเด็นที่เป็นที่พูดถึงในสังคม 100 คน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์แต่ผู้ชายหรือผู้หญิงล้วน ในบางหัวข้อสัมภาษณ์ทั้งชายและหญิงคละกันไป อย่างเช่นหัวข้อ ที่ถามผู้ชายเกี่ยวกับเรื่องการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง หรือในตอนที่ 15 สัมภาษณ์กะเทยและเกย์ ที่พัทยา

ช่วงอื่นของรายการ เช่น สาระมีอยู่จริง , อิสระ ฮาตะ , วันเบาๆ ของ Ruby เป็นช่วงของมัลลิกา หลีกภัย(สกุลเดิม จงวัฒนา) , ป.ปลื้ม เป็นช่วงที่สุรบถ หลีกภัย จะไปนิมนต์ท่าน ว.วชิรเมธีมาเข้าร่วมรายการ , Georgie's Heavy day เป็นช่วงของ ปรีดิ์โรจน์ เกษมสันต์ , จิ๋วจิ๋ว เอาจริง เป็นช่วงของ สิปโปทัย ฉันทะสิริวัฒน์ มีพี่ปลื้มเป็นไอดอล แต่ไม่ได้ชอบ , ไอ้ควาย 3 ตัว , ช่วงทำดี และนิทานสอนใจ เป็นช่วงที่สุรบถ หลีกภัย จะมานำเสนอแง่คิดต่างๆในสังคมปัจจุบัน ในรูปแบบของนิทาน

รวมถึงในเทปแรก ๆ มีช่วงที่มีบุคคลมีชื่อเสียงมาแสดงความเห็นประเด็นนั้น เรียก เซเลบริเชียล ผู้มาร่วมแสดงความเห็น เช่น ประกาศิต โบสุวรรณ, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ปาณิสรา พิมพ์ปรุ เป็นต้น

นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูดี 100 คนแล้ว เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของรายการคือการขอให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอะไรก็ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกถามภายใน 3 พยางค์ จนทำให้วลี "ขอสามคำ" เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมออนไลน์ วิธีการนี้ถูกใช้ครั้งแรกในตอนที่ 4 ของรายการ ในหัวข้อการสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษาที่แน่นคับของนักศึกษาหญิง ซึ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ถูกขอความเห็น 3 พยางค์เป็นคนแรกในรายการคือ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ พิธีกรที่โด่งดังจากรายการออนไลน์

การตอบรับ

กระแสตอบรับส่วนใหญ่ ไปในทางบวก มีส่วนน้อยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลที่ว่า งี่เง่าและคิดว่าไม่มีสาระ อีกคำวิจารณ์ที่ไม่ชอบรายการคือการใช้ภาษาที่หยาบคาย[2] โดยในปัจจุบัน VRZO ได้รับการตอบรับจากทางยูทูบ รายการได้รับยอดผู้ชมทั้งหมด 1,000,000,000 ครั้ง ยอดผู้ชมนี้รวมจากแชนแนลของวีอาร์โซทั้งสองช่อง ทั้งช่องที่ถูกแฮ็กและช่องที่เปิดใหม่มีชื่อว่า VRZOchannel[ต้องการอ้างอิง]

โดยปัจจุบันวีอาร์โซ เป็นช่องยูทูบที่มีผู้ติดตาม 6.92 ล้านคน แต่ในปัจจุบันสุรบถ หลีกภัย เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก และไม่มีความเคลื่อนไหวในช่องเป็นกว่าเวลา 1 ปีแล้ว

เพลงรายการวีอาร์โซ

  • เพลงเปิด : PE'Z - 1・2・MAX เพลง VRZO
  • เพลงเปิดตอน Here We Go : My Chemical Romance - Na Na Na
  • เพลงเปิดช่วง สาระมีอยู่จริง :โนะบุโอะ อุเอะมะสึ - Fanfare จากไฟนอลแฟนตาซี IX
  • เพลงประกอบรายการ : Yolanda Be Cool Vrs DCup - We No Speak Americano
  • เพลงปิด : 05410 - RADWIMPS เพลง VRZO

รายการที่เกี่ยวข้อง

ยังคงดำเนินอยู่

รายการ จำนวนตอน ออกอากาศครั้งแรก ออกอากาศครั้งล่าสุด
หนังสั้น
3
26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เที่ยวไปเรื่อย
6
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 8 กันยายน พ.ศ. 2559
4ขาเล่าข่าว
5
10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 22 กันยายน พ.ศ. 2559
VRZO Film แต่ใช้ Digital
19
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ขำ มึง โดน
10
22 มีนาคม พ.ศ. 25ุ60 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ยุติการออกอากาศ

รายการ จำนวนตอน ออกอากาศครั้งแรก ออกอากาศครั้งล่าสุด
We Are Lovely Pet
33
24 มกราคม พ.ศ. 2557 4 กุมภาพันธ์. 2559
A BIT ENG
43
18 กันยายน พ.ศ. 2557 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ออก - หา - กิน
4
1 มกราคมพ.ศ. 2558 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
หนังสด
4
11 มกราคม พ.ศ. 2558 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ทับทิม แกะ
14
2 เมษายน พ.ศ. 2558 8 มกราคม พ.ศ. 2559
VRZO Here We Go!
7
ไม่มีข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
555
7
30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 1 เมษายน พ.ศ. 2556
VRZO OHLALA!
4
19 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เดอะเกรียนบอล Brasil Echo 2014
13
5 มกราคม พ.ศ. 2557 14 เมษายน พ.ศ. 2557
WHAT'S THE FAT?!
13
4 เมษายน พ.ศ. 2557 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
LINE Let's Get Rich
3
3 สิงหาคม พ.ศ. 2557 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น