ข้ามไปเนื้อหา

มิลาน

พิกัด: 45°28′01″N 09°11′24″E / 45.46694°N 9.19000°E / 45.46694; 9.19000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิลาน

Comune di Milano
เทศบาลมิลาน
ตามเข็มจากบน: ปอร์ตานูโอวา, ปราสาทสฟอร์ซา, ลาสกาลา, กัลเลรีอาวิตโตรีโยเอมานูเอเลเซคอนโด, สถานีรถไฟกลางมิลาน, ประตูสันติ และอาสนวิหารมิลาน
ตามเข็มจากบน: ปอร์ตานูโอวา, ปราสาทสฟอร์ซา, ลาสกาลา, กัลเลรีอาวิตโตรีโยเอมานูเอเลเซคอนโด, สถานีรถไฟกลางมิลาน, ประตูสันติ และอาสนวิหารมิลาน
ธงของมิลาน
ธง
ตราราชการของมิลาน
ตราอาร์ม
มิลานตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
มิลาน
มิลาน
ที่ตั้งของมิลานในประเทศอิตาลี
พิกัด: 45°28′01″N 09°11′24″E / 45.46694°N 9.19000°E / 45.46694; 9.19000
ประเทศธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
แคว้นลอมบาร์เดีย
เขตมหานครมิลาน (MI)
การปกครอง
 • องค์กรสภาเทศบาล
พื้นที่
 • เทศบาล181.76 ตร.กม. (70.18 ตร.ไมล์)
ความสูง120 เมตร (390 ฟุต)
ประชากร
 (31 ธ.ค. 2018)[1]
 • เทศบาล1,395,274 คน
 • ความหนาแน่น7,700 คน/ตร.กม. (20,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[2]4,336,121 คน
เดมะนิมMilanese
Meneghino[3]
รหัสพื้นที่0039 02
เว็บไซต์www.comune.milano.it

มิลาน (อังกฤษ: Milan) หรือ มีลาโน (อิตาลี: Milano) เป็นเมืองเอกของแคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี ถือเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงโรม มิลานเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก, แกรนด์ดัชชีมิลาน และราชอาณาจักรลอมบาร์เดีย-เวนิส ตัวเมืองเก่ามิลานมีประชากรราว 1.4 ล้านคน ขณะที่ทั้งเขตเทศมณฑลมิลานจะมีประชากร 3.23 ล้านคน นครมิลานและปริมณฑลมีประชากรรวมกว่า 8.2 ล้านคน มิลานมีอัตราการก่อสร้างขยายเขตเมืองที่เร็วเป็นอันดับสี่ในสหภาพยุโรป เขตมหานครมิลานเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอิตาลี และใหญ่เป็นอันดับสี่ในสหภาพยุโรป

มิลานและปริมณฑลยามค่ำคืน

มิลานได้รับการยอมรับนับถือเป็นหนึ่งในเมืองแถวหน้าของโลก[4] ทั้งในด้านศิลปะ, การค้า, การออกแบบ, การศึกษา, แฟชั่น, สื่อ, การเงิน, การวิจัย และการท่องเที่ยว เขตธุรกิจในนครมิลานเป็นที่ตั้งของอาคารตลาดหลักทรัพย์อิตาลี และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ธนาคารและบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่หลายแห่ง และยังเป็นฐานของทีมฟุตบอลแถวหน้าของทวีปอย่างเอซี มิลาน ภาคเศรษฐกิจของนครมิลานมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากกรุงปารีส นับเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดที่ไม่ใช่เมืองหลวงในทวีปยุโรป[5]

มิลานได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่เมืองหลวงด้านแฟชั่นของโลก[6] ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการจัดงานนิทรรศการนานาชาติที่บ่อยครั้งในแต่ละปี งานที่ใหญ่ที่สุดของแต่ละปีคือมิลานแฟชั่นวีค และมิลานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ สองงานนี้ถือเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกในแง่รายได้, ผู้เข้าชม และอัตราเติบโต[7][8][9] นครมิลานเคยเป็นสถานที่จัดงานนิทรรศการโลกถึงสองครั้งในปี 1906 และ 2015 นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันวัฒนธรรม, สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยจำนวนมาก นักศึกษาทั้งหมดในมิลานมีจำนวนคิดเป็น 11% ของทั้งอิตาลี[10] นครมิลานมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเยือนกว่า 8 ล้านคนในแต่ละปี ซึ่งต่างมาชื่นชมพิพิธภัณฑ์, ห้องจัดแสดง รวมถึงชื่นชมงานจิตรกรรมชิ้นสำคัญของศิลปินเอกอย่างเลโอนาร์โด ดา วินชี

เทศมณฑลมิลานแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตสุขาภิบาล ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นหมายเลข ตั้งแต่เขต 1 ถึงเขต 9 และมีการแบ่งย่านออกเป็น 20 โซน

ศิลปะ

[แก้]

โคร์เวตโต (อังกฤษ: Corvetto) คือเขตศิลปะร่วมสมัยของมิลาน[11][12][13][14][15]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

ในมิลานมีสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมายากยุคเป็นอาณานิคมของโรมันโบราณเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น แห่งที่มีชื่อเสียงและมีสภาพดีที่สุดคือ เสาแห่งซันลอเรนโซ (Colonne di San Lorenzo) ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 4 (ค.ศ. 351-400) นักบุญอัมโบรซิอุส มุขนายกแห่งมิลาน เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการวางผังเมืองมิลาน ท่านได้เปลี่ยนทัศนียภาพของใจกลางเมืองครั้งใหญ่ และสร้างมหาวิหารอันใหญ่โตสี่แห่งไว้ที่ประตูเมือง ได้แก่ซันอัมโบรจิโอ, ซันนาซาโรอินโบรโล, ซันซิมปลิซีอาโน และซันตุสตอร์จิโอ ซึ่งยังคงตั้งอยู่จนถึงปัจจุบัน

โบสถ์คริสต์ที่สำคัญและงดงามที่สุดของเมืองอย่างอาสนวิหารมิลาน (Duomo di Milano) ถูกสร้างขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1386 ถึง 1577 ถือเป็นโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก และเป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมกอทิกที่สำคัญที่สุดในอิตาลี มีการเชิญรูปหล่อทองแดงปิดทองของพระนางมารีย์พรหมจารีไว้ที่ยอดของวิหารในปีค.ศ. 1774 และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของมิลาน[16]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ระหว่างที่ราชวงศ์สฟอร์ซาปกครองมิลาน มีการขยายปราการวิสคอนเตอันและตกแต่งใหม่จนกลายเป็นปราสาทสฟอร์ซา ถือเป็นอาคารราชสำนักแบบสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ที่รายล้อมไปด้วยกำแพงอุทยานล่าสัตว์ ราชวงศ์สฟอร์ซาถือเป็นพันธมิตรกับโกซีโม เด เมดีชี แห่งนครฟลอเรนซ์ จึงทำให้มีสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์แบบตอสกานามาปรากฏในมิลานด้วย

เศรษฐกิจ

[แก้]

ถ้าโรมเป็นเมืองหลวงของอิตาลี มิลานก็เป็นดั่งหัวใจด้านการเงินและอุตสากรรมของอิตาลี ในปี 2014 มิลานเมืองเดียวมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึง 1.58 แสนล้านยูโร[17] จังหวัดมิลานสร้างรายได้คิดเป็นราว 10% ของรายได้ประเทศ ในขณะที่ทั้งแคว้นลอมบาร์เดียสร้างรายได้ราว 22% ของรายได้ประเทศ[18] (พอๆกับประเทศเบลเยียม) จังหวัดมิลานเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัท 45% ในแคว้นลอมบาร์เดียและ 8% ในอิตาลี

มิลานเป็นเมืองที่แพงที่สุดเป็นอันดับ 11 ของทวีปยุโรป และเป็นอันดับ 22 ของโลกในปีค.ศ. 2019[19] ถนนสายวีอามอนเตนโปเลียน(Via Monte Napoleone)ในมิลานเป็นถนนสายช็อปปิ้งที่แพงที่สุดในยุโรปตามการจัดอันดับของบริษัทรับคืนภาษี Global Blue[20]

มิลานเป็นศูนย์กลางการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลี บริษัทประกันและเครือธนาคารยักษ์ใหญ่จำนวนมากของอิตาลี ตลอดจนบริษัทประกันและธนาคารต่างชาติกว่าสี่สิบรายล้วนตั้งอยู่ในมิลาน[21] ตลาดหลักทรัพย์อิตาลีก็มีที่ตั้งอยู่ในมิลาน

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของนครมิลาน (ท่าอากาศยานลินาเต)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.7
(71.1)
23.8
(74.8)
26.9
(80.4)
32.4
(90.3)
35.5
(95.9)
36.6
(97.9)
37.2
(99)
36.9
(98.4)
33.0
(91.4)
28.2
(82.8)
23.0
(73.4)
21.2
(70.2)
37.2
(99)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.9
(42.6)
9.0
(48.2)
14.3
(57.7)
17.4
(63.3)
22.3
(72.1)
26.2
(79.2)
29.2
(84.6)
28.5
(83.3)
24.4
(75.9)
17.8
(64)
10.7
(51.3)
6.4
(43.5)
17.7
(63.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 2.5
(36.5)
4.7
(40.5)
9.0
(48.2)
12.2
(54)
17.0
(62.6)
20.8
(69.4)
23.6
(74.5)
23.0
(73.4)
19.2
(66.6)
13.4
(56.1)
7.2
(45)
3.3
(37.9)
13.0
(55.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -0.9
(30.4)
0.3
(32.5)
3.8
(38.8)
7.0
(44.6)
11.6
(52.9)
15.4
(59.7)
18.0
(64.4)
17.6
(63.7)
14.0
(57.2)
9.0
(48.2)
3.7
(38.7)
0.1
(32.2)
8.3
(46.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -15.0
(5)
-15.6
(3.9)
-7.4
(18.7)
-2.5
(27.5)
-0.8
(30.6)
5.6
(42.1)
8.4
(47.1)
8.0
(46.4)
3.0
(37.4)
-2.3
(27.9)
-6.2
(20.8)
-13.6
(7.5)
−15.6
(3.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 58.7
(2.311)
49.2
(1.937)
65.0
(2.559)
75.5
(2.972)
95.5
(3.76)
66.7
(2.626)
66.8
(2.63)
88.8
(3.496)
93.1
(3.665)
122.4
(4.819)
76.7
(3.02)
61.7
(2.429)
920.1
(36.224)
ความชื้นร้อยละ 86 78 71 75 72 71 71 72 74 81 85 86 77
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 6.7 5.3 6.7 8.1 8.9 7.7 5.4 7.1 6.1 8.3 6.4 6.3 83.0
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 58.9 96.1 151.9 177.0 210.8 243.0 285.2 251.1 186.0 130.2 66.0 58.9 1,915.1
แหล่งที่มา: Servizio Meteorologico[22][23][24]

ลิงก์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Resident population by age, nationality and borough". Comune di Milano. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
  2. "Database". ec.europa.eu. Eurostat. click General and regional statistics / Regional statistics by typology / Metropolitan regions / Demography statistics by metropolitan regions / Population on 1 January by broad age group, sex and metropolitan regions (met_pjanaggr3)
  3. In reference to the Meneghino mask.
  4. "GaWC - The World According to GaWC 2018". www.lboro.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-03. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
  5. Gert-Jan Hospers (2002). "Beyond the Blue Banana? Structural Change in Europe's Geo-Economy" (PDF). 42nd EUROPEAN CONGRESS of the Regional Science Association Young Scientist Session – Submission for EPAINOS Award 27–31 August 2002 – Dortmund, Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
  6. Shaw, Catherine (17 July 2016). "Milan, the 'world's design capital', takes steps to attract visitors year-round". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  7. "Fashion". The Global Language Monitor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2011.
  8. "Milan, Italy | frog". Frogdesign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
  9. "Milan Furniture Fair". Monocle.com. 30 เมษายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012.
  10. "University and research in Milan". Province of Milan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 4 November 2012.
  11. Via Romilli: ศิลปะร่วมสมัยเบ่งบานในมิลาน, Artribune, มีนาคม 2024
  12. Fondazione Galleria Milano: โครงการใหม่สำหรับศิลปะร่วมสมัย, Artribune, มกราคม 2024
  13. Via Romilli ที่มิลาน: เขตศิลปะร่วมสมัยใหม่, Exalto, 2024
  14. จาก Montenapo ถึง Corvetto: แกลเลอรีและโครงการเดินทางกำลังเบ่งบาน, Il Giorno, 2024
  15. Corvetto ArtWeek: ศิลปะครอบงำย่าน, Viafarini, 2024
  16. Wilson, Sharon (2011). A perfect trip to Italy in the golden years. Bloomington, IN: iUniverse Inc. p. 93. ISBN 978-1-4502-8443-1.
  17. "Gross domestic product (GDP) at current market prices by NUTS 3 regions". Eurostat. สืบค้นเมื่อ 7 December 2017.
  18. "Gross domestic product (GDP) at current market prices by NUTS 2 regions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  19. Beswick, Emma (19 March 2019). "Europe is home to some of the most expensive cities in the world in 2019 — where are they?". Euronews. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  20. ""Montenapoleone ha un primato: scontrino medio 1.800 euro, via più cara d'Europa"". MilanoToday. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.
  21. "Milan: city profile". Municipality of Milan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  22. "Milano/Linate (MI)" (PDF). Servizio Meteorologico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
  23. "Stazione 080 Milano-Linate: Medie Mensili Periodo 1961–90". Servizio Meteorologico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
  24. "Milano Linate: Record mensili dal 1946" (ภาษาอิตาลี). Servizio Meteorologico dell'Aeronautica Militare. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]