คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[3] (อังกฤษ: National Human Rights Commission of Thailand) เป็นคณะบุคคลจำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
National Human Rights Commission of Thailand | |
ภาพรวมคณะกรรมการ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 |
ประเภท | องค์กรอิสระ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 6-7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
บุคลากร | 322 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 331,388,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารคณะกรรมการ |
|
ลูกสังกัดคณะกรรมการ |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
Office of the National Human Rights Commission of Thailand | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 |
ประเภท | องค์กรอิสระ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 6-7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
บุคลากร | 322 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 331,388,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of the National Human Rights Commission of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการ ที่มีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปฏิบัติราชการภายใต้อำนาจหน้าที่ ปัจจุบันมีนายแพทย์พิทักษ์พล บุญยมาลิก เป็น เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อำนาจหน้าที่
แก้- ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณี ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
- เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
- ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
- ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
- จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
- อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและของประชาชนประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
แก้ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2544-2552) | ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2552-2558) | ชุดที่ 3 (20 พ.ย.2558 -2564) | ชุดที่ 4 (25 พ.ค.2564[4] -ปัจจุบัน) |
---|---|---|---|
|
|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๐๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ 304)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 114 ง หน้า 3-4 วันที่ 27 พฤษภาคม 2564
- ↑ "สุรเชษฐ์"ยื่นหนังสือลาออก จากกสม.มีผลทันที