วิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1973
วิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1973 เกิดจากประเทศสมาชิกโอเปก (OAPEC) ในตะวันออกกลาง นำโดยสมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ได้ประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันโดยมุ่งไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลในช่วงสงครามยมคิปปูร์[2] ประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายแรก ๆ คือแคนาดา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และได้ขยายตัวไปยังโปรตุเกส โรดีเซีย และแอฟริกาใต้ในเวลาต่อมา ช่วงท้ายของการคว่ำบาตรในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1974 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นสูงถึง 300% จาก 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็น เป็นเกือบ 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อให้เกิดผลกระทบทั่วโลกซึ่งมีสหรัฐได้รับผลกระทบอย่างสำคัญ การคว่ำบาตรดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันโดยส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก ต่อมาเหตุการณ์นี้เรียกว่า "วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก" ก่อนจะเกิด วิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1979 เรียกว่า "วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สอง"[3]
ภูมิหลัง
แก้นับตั้งแต่อิสราเอลประกาศเอกราชได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชาติอาหรับและชาวอิสราเอลในตะวันออกกลางจนนำไปสู่สงครามหลายครั้ง ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซหรือเรียกว่าสงครามอิสราเอล-อาหรับครั้งที่สอง เกิดจากเมืองไอลัตทางใต้ของอิสราเอลถูกอียิปต์ปิดกั้น ผลของสงครามทำให้คลองสุเอซถูกปิดเป็นเวลาหลายเดือน[4]
ลำดับเหตุการณ์
แก้- มกราคม 1973 - ตลาดหุ้นล่มอันมาจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและระบบการเงินที่อ่อนแอ
- 23 สิงหาคม 1973 - สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดกับอันวัร อัสซาดาตอดีตประธานาธิบดีคนที่สามของอียิปต์ เข้าพบกันอย่างลับ ๆ ให้ใช้ข้อตกลงโดยให้ชาวอาหรับใช้ "น้ำมันเป็นอาวุธ"
- 6 ตุลาคม – อียิปต์และซีเรียโจมตีฐานที่มั่นของอิสราเอลในวันยมคิปปูร์เริ่มสงครามยมคิปปูร์
- 8 ตุลาคม – อิสราเอลประกาศเตือนภัยนิวเคลียร์เต็มรูปแบบ ในเช้าวันที่ 9 ตุลาคม เฮนรี คิสซินเจอร์ได้ประกาศช่วยเหลือเสริมกำลังแก่อิสราเอล
อ้างอิง
แก้- ↑ "Crude Oil Prices – 70 Year Historical Chart".
- ↑ Smith, Charles D. (2006), Palestine and the Arab–Israeli Conflict, New York: Bedford, p. 329.
- ↑ "OPEC Oil Embargo 1973–1974". U.S. Department of State, Office of the Historian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2014. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
- ↑ "The 1956 Suez War".