ข้ามไปเนื้อหา

กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศส่วนที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในระดับสังคม ภูมิภาคและประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนประกอบขึ้นจากสนธิสัญญา ความตกลงระหว่างรัฐเอกราชซึ่งตั้งใจให้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างภาคีที่เข้าตกลงกัน และกฎหมายระหว่างประเทศจารีตประเพณี ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่นแม้ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ช่วยส่งเสริมให้นำไปปฏิบัติ ทำให้เกิดความเข้าใจและการพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และถือว่าเป็นบ่อเกิดของข้อผูกพันทางการเมือง

ระบบสหประชาชาติ

[แก้]

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนาในปี 1993 ซึ่งมีการก่อตั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)

ในปี 2006 คณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนถูกแทนที่ด้วยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสำหรับการบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ มีข้อกำหนดให้ทบทวนกรณีสิทธิมนุษยชนทุก 4 ปี

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นปฏิญญาของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งไม่ได้สร้างกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีผลผูกพัน นักวิชาการกฎหมายหลายคนอ้างปฏิญญาฯ ว่าเป็นหลักฐานของกฎหมายระหว่างประเทศจารีตประเพณี เป็นรากฐานของตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ (authoritative) ในที่สุด

ดูเพิ่ม

[แก้]