กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ภาคีและผู้ลงนามใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
รัฐสมาชิก
รัฐสมาชิกที่ลงนามแต่ไม่ได้ให้สัตยาบัน
รัฐสมาชิกที่ถอนตัว
รัฐที่ไม่ได้ลงนามและไม่ได้ให้สัตยาบัน | |
ประเภท | ข้อยุติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ |
---|---|
วันร่าง | 1954 |
วันลงนาม | 16 ธันวาคม ค.ศ.1966[1] |
ที่ลงนาม | สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ, นิวยอร์ก |
วันมีผล | 23 มีนาคม ค.ศ.1976[1] |
ผู้ลงนาม | 74[1] |
ภาคี | 172[1] |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการสหประชาชาติ |
ภาษา | ฝรั่งเศส, อังกฤษ, รัสเซีย, จีน, สเปน[2] |
วิกิซอร์ซ | |
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (อังกฤษ: International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 แห่งและภาคี 165 แห่ง[1]
ICCPR เป็นส่วนหนึ่งของ "ร่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ" ร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)[3]
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้ติดตามตรวจสอบโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) (หน่วยงานต่างหากจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งได้แทนที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights) ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติใน พ.ศ. 2549) ซึ่งตั้งขึ้นอย่างถาวร เพื่อพิจารณารายงานตามกำหนดเวลา ที่ส่งเข้ามาโดยรัฐสมาชิกตามข้อตกลงในสนธิสัญญา สมาชิกของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนนั้นจะคัดเลือกโดยรัฐสมาชิก แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐใด ๆ
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "UN Treaty Collection: International Covenant on Civil and Political Rights". UN. 2009-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-12.
- ↑ Article 53 of the ICCPR
- ↑ "Fact Sheet No.2 (Rev.1), The International Bill of Human Rights". UN OHCHR. June 1996. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- ↑ ศัพท์นักการทูต เก็บถาวร 2007-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลไทย
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอกสารกติกาฉบับสมบูรณ์ เก็บถาวร 2013-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- สุภัตรา ภูมิประภาส และกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน