ข้ามไปเนื้อหา

การมองอนาคต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การมองอนาคต (อังกฤษ: foresight) เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างเป็นระบบ ในการมองไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งเสริมให้เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การมองอนาคตไม่ใช่การทำนาย (forescast) ที่สันนิษฐานอนาคตเพียงรูปแบบเดียว หลักสำคัญของการมองอนาคตคือ การดำเนินการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน และมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดและที่ยังไม่เห็นชัด ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของอนาคต และทำให้เห็นลู่ทางที่จะต้องกระทำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

ปัจจุบันการมองอนาคตได้รับการยอมรับในหลายประเทศว่า เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นความ พยายามของชุมชนชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งและการยกระดับ คุณภาพชีวิต เหตุผลพื้นฐานคือเป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปแล้วว่าว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจพลิกโฉม หน้าอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมในระยะหลายทศวรรษที่จะมาถึง ซึ่งพัฒนา การของเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ดังนั้น ถ้าสามารถระบุ เทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งอยู่ในระยะเริ่มพัฒนาได้ รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ก็จะสามารถจัดสรร ทรัพยากรเพื่อการวิจัยในสาขาเชิงยุทธศาสตร์เหล่านั้นได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนั้นๆ อย่าง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

นิยามและเหตุผล

[แก้]

มีผู้ให้คำนิยามการมองอนาคตไว้มากมาย แต่คำนิยามหนึ่งที่เหมาะสมที่สุดคือ “การมองอนาคตเป็นความพยายามอย่างเป็นระบบที่จะคาดการณ์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในระยะยาว เพื่อบ่งชี้เทคโนโลยีพื้นฐานใหม่ๆ และขอบเขตของการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดแก่เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและสังคม”

คำจำกัดความดังกล่าวมีความหมายหลายนัย คือ

  1. ความพยายามในการมองไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ จึงจะถือว่าเป็นการมองอนาคต
  2. ต้องเป็นการมองไปข้างหน้าระยะยาวประมาณ 10 ปี หรืออาจเป็น 5-30 ปี
  3. การมองอนาคตเป็นเรื่องของกระบวนการ ไม่ใช่วิธีการ และต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและร่วมมือกันระหว่างแวดวงนักวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้งานวิจัยและผู้วางนโยบาย
  4. เป้าหมายหนึ่งของการมองอนาคตคือ การบ่งชี้เทคโนโลยีพื้นฐานใหม่ๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง เทคโนโลยีดังกล่าวนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและต้องได้รับการคัดเลือกเพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอจึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  5. อีกเป้าหมายหนึ่งคือ การเน้นการวิจัยเชิงกลยุทธ์ นั่นก็คือการวิจัยเบื้องต้นซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือในเชิงกว้างที่อาจเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันหรืออนาคต
  6. ต้องให้ความสำคัญกับประโยชน์ (และโทษ) ทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆไม่เฉพาะแค่ผลกระทบทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ จำเป็นที่จะต้องเน้นว่าการมองอนาคตไม่ใช่การทำนายเทคโนโลยีที่สันนิษฐานว่าอนาคตมีแค่รูปแบบเดียวและพยายามคาดการณ์ให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ว่าอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไรในทางตรงกันข้ามการมองอนาคตไม่ใส่ใจที่จะคาดการณ์รายละเอียดและกำหนดเวลาของพัฒนาการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่สนใจที่จะร่างอนาคตที่อาจเป็นไปได้ในหลายรูปแบบจากหลายชุดสมมติฐานเกี่ยวกับทิศทาง แนวโน้ม และโอกาสใหม่ๆ ที่น่าจะเกิดขึ้น แต่อนาคตแบบใดที่จะเกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับการเลือกในปัจจุบันการมองอนาคตจึงนับเป็นการให้โอกาสในการออกแบบอนาคตผ่านการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

ปัจจุบันการมองอนาคตได้รับการยอมรับในหลายประเทศว่า เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นความพยายามของชุมชนชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งและการยกระดับคุณภาพชีวิต เหตุผลพื้นฐานคือเป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปแล้วว่าว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมในระยะหลายทศวรรษที่จะมาถึง ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ดังนั้น ถ้าสามารถระบุเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งอยู่ในระยะเริ่มพัฒนาได้ รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ก็จะสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัยในสาขาเชิงยุทธศาสตร์เหล่านั้นได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

ผลลัพธ์ของ การมองอนาคต

[แก้]

สิ่งสำคัญในการออกแบบกระบวนการการมองอนาคตคือการกำหนดจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจจุดมุ่งหมายที่เป็นไปได้ 6 ข้อ มีดังนี้ :

  1. การกำหนดทิศทาง (Direction setting) - แนวทางกว้างๆ ของนโยบายวิทยาศาสตร์และการพัฒนาทางเลือกต่างๆ
  2. การจัดลำดับความสำคัญ (Determining priorities) - อาจถือเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการมองอนาคตและเป็นแรงผลักดันที่ประเทศที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เผชิญ ในอันที่จะจัดการกับข้อจำกัดทางทรัพยากรและความเรียกร้องต่อนักวิจัยที่เพิ่มมากขึ้น
  3. ความสามารถในการคาดการณ์อนาคต (Anticipatory intelligence) - ระบุแนวทางใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะมีบทบาทมากต่อการจัดทำนโยบายในอนาคต
  4. การสร้างความเป็นเอกฉันท์ (Consensus generation) - ส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์องค์กรที่ให้ความ สนับสนุนทางการเงิน และผู้ใช้งานวิจัยมีความเห็นตรงกันมากขึ้นในการบ่งชี้ความต้องการหรือโอกาส
  5. การสนับสนุนการตัดสินใจ (Advocacy) - ส่งเสริมการตัดสินใจในเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเฉพาะในระบบวิจัยและพัฒนา
  6. การสื่อสารและการศึกษา (Communication and education) - ส่งเสริมการสื่อสารภายในชุมชนวิทยาศาสตร์ การสื่อสารภายนอกกับผู้ใช้งานวิจัย และการให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปนักการเมืองและข้าราชการดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายที่อาจรวบรวมได้คร่าวๆ ภายใต้เงื่อนไข การมองอนาคตบางกิจกรรมอาจค่อนข้างเก่า ในขณะที่บางกิจกรรมเป็นเรื่องใหม่ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการวิพากวิจารณ์วิธีการที่ใช้ในการมองอนาคตในขณะนั้นอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าบริบททางเศรษฐกิจองค์กรและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้วิธีการมองอนาคตตัวอย่างเช่น ออสเตรเลียซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดเล็กถึงกลาง มีภาครัฐซึ่งมีบทบาทมากในวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่มีภาคเอกชนที่อ่อนแอในการวิจัยและพัฒนา และมีเศรษฐกิจที่เน้นสินค้าวัตถุดิบย่อมต้องพิจารณาเป้าหมายอนาคตที่แตกต่างจากประเทศเศรษฐกิจชั้นนำอย่างญี่ปุ่น ที่มีพื้นฐานอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง ทรัพยากรธรรมชาติจำกัด และเทคโนโลยีชั้นสูงที่พัฒนาแล้ว
แผนภาพ 1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมองอนาคต

แผนภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบสำคัญของการมองอนาคตซึ่งในการศึกษาการมองอนาคตจำเป็นที่จะต้องรักษามุมมองที่สมดุลระหว่างปัจจัยที่เป็น “แรงผลักดันทางวิทยาศาสตร์” และ “แรงดึง-ทางอุปสงค์” ซึ่งต่างมีอิทธิพลต่อพัฒนาการในอนาคต

  • แรงผลักดัน-ทางวิทยาศาสตร์ (Science-push) คือกลุ่มนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ที่มีหน้าที่สร้าง เทคโนโลยีและโอกาสเชิงพาณิชย์ใหม่ๆ
  • ปัจจัยแรงดึงทางอุปสงค์มาจากชุมชนผู้ใช้ (Demand-pull) ตามความต้องการและการจัดอันดับ

ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีอยู่และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่

ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารระหว่างตัวแทนด้านแรงผลักดันทางวิทยาศาสตร์และแรงดึงทาง อุปสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เข้าใจกันในเรื่องของระยะเวลาในการวิจัยและผลิตเทคโนโลยี การ มองไปข้างหน้าร่วมกันผ่านการมองอนาคตนั้นสามารถเชื่อมช่องว่างดังกล่าวได้ด้วยลักษณะปฏิสัมพันธ์ของการมองอนาคตที่กล่าวถึงนี้เอง สิ่งที่ได้จากกระบวนการมองอนาคต จึงมักจะสำคัญเทียบเท่า (หรืออาจสำคัญกว่า!) ผลลัพธ์ของการศึกษา เราสามารถแจกแจงประโยชน์ ของกระบวนการ .มองอนาคต. ได้ 6 ข้อ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า 6 C's ดังนี้:

  • การสื่อสาร (communication) - เชื่อมโยงกลุ่มคนที่แตกต่างเข้าด้วยกัน โดยให้กรอบในการปฏิสัมพันธ์และสื่อสารแก่กลุ่มคนดังกล่าว
  • การเน้นระยะยาว (concentration) - ทำให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถมองอนาคตได้ไกลกว่าที่เคยมอง
  • การประสานงาน (coordination) - ทำให้กลุ่มต่างๆ ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนา
  • ความเป็นเอกฉันท์ (consensus) - สามารถวาดภาพทิศทางอนาคตที่เป็นทางเลือกแบบต่างๆได้ชัดเจนและจัดลำดับความสำคัญของการวิจัย
  • ความผูกพัน (commitment) – ทำให้ผู้มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการมองอนาคตมีความรู้สึกผูกพันกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  • ความเข้าใจ (comprehension) - สนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่เกิดกับธุรกิจหรืออาชีพของตน และให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน

ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการมองอนาคตสามารถวัดได้จากการประเมินด้วยเกณฑ์ทั้ง 6 ข้างต้นประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้อง “มองอนาคต” ในหลายระดับ ตั้งแต่กลุ่มที่รับผิดชอบในการประสานนโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งหมดของชาติ สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนบริษัทหรือองค์กรที่ทำการวิจัย ดังนั้น กิจกรรมการมองอนาคตบางอย่างอาจมีขอบ เขตในระดับมหภาค หรือมีลักษณะเป็นองค์รวม แต่บางครั้งก็เน้นในระดับจุลภาค นอกจากนี้กิจกรรมการมองอนาคตไม่ว่าระดับใดก็ตามควรรวบรวมผลลัพธ์จากการมองอนาคตในระดับสูงกว่าและ/หรือ ต่ำกว่า ที่มีผู้กระทำไว้ก่อนแล้วป้อนเข้าไปในกระบวนการด้วยและเช่นเดียวกันผลลัพธ์จากกระบวนการปัจจุบันก็จะถูกป้อนกลับไปยังความพยายาม มองอนาคต ในระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่าต่อไป

การจัดลำดับความสำคัญ

[แก้]

การจัดลำดับความสำคัญเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการผลักดันการมองอนาคตในทุกระดับซึ่งการจัดลำดับความสำคัญก็คือ การเลือกอย่างมีสติระหว่างกิจกรรมที่มีความสำคัญมากน้อยต่างกันทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดด้านเวลา เงิน หรือพลังงาน อุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการมองอนาคตในระยะแรกๆ คือการต่อต้านอย่างรุนแรงจากนักวิชาการและนักอุตสาหกรรมทั้งหลายซึ่งมองการจัดลำดับความสำคัญเสมือนหนึ่งภัยคุกคาม อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน กลุ่มข้าราชการ นักอุตสาหกรรมตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับแล้วว่าจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพื่อจัดอันดับความสำคัญในการทำวิจัยระดับชาติ และดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์และการจัดอันดับความสำคัญจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาพแวดล้อมในการมองอนาคตระยะหลัง ๆ แตกต่างมากกับสภาพแวดล้อมในช่วงต้นจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1980 การจัดลำดับความสำคัญเป็นผลมาจากการตัดสินใจในหลายระดับตั้งแต่วิธีการตัดสินใจแบบ “บนลงล่าง” (top-down) โดยผู้บริหารระดับสูง เช่นในระดับนโยบาย/การเมือง ไปจนถึงระดับกลางๆ ไปจนถึงวิธีการตัดสินใจแบบ “ล่างขึ้นบน” (bottom-up) เสนอการตัดสินใจโดยระดับปฏิบัติ ดังนั้น ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น .การมองอนาคต. จำต้องทำในหลายระดับและในทางอุดมคติคือการดำเนินการในรูปแบบที่ประสานกันได้ประสบการณ์ชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญของการมองอนาคตที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่:

  • ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการมองอนาคตให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น
  • ต้องสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่น ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนทางการเงิน
  • ให้ความสำคัญกับการระดมความคิดจาก “ล่างขึ้นบน” ไม่น้อยไปกว่า “บนลงล่าง”
  • ต้องมีกลไกที่เตรียมจะนำผลการตัดสินใจจากกระบวนการมองอนาคตไปปฏิบัติทันที หรือในอนาคต
  • ขั้นตอนต้องยืดหยุ่นต่อสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิด และสามารถปรับแผนดำเนินการได้
  • ไม่ใช่กระบวนการที่ดำเนินการแบบ “ครั้งเดียวจบ” แต่จะกระทำซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ปฏิกิริยา ตอบสนองและพัฒนาการใหม่ๆ

กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดลำดับความสำคัญระดับชาติ คือการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลการยอมรับผลการวิจัยและขั้นตอนการดำเนินการจากแวดวงนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการและการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดและยอมรับผลการวิจัยจากกลุ่มอุตสาหกรรม

วิธีการมองอนาคต

[แก้]

กิจกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นการมองอนาคตมีมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่มีการพัฒนาวิธีการ อย่างหลากหลาย อันได้แก่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]