การเดินทางแบบสะพายหลัง
หน้าตา
การเดินทางแบบสะพายหลัง (อังกฤษ: backpacking) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเดินทางอย่างอิสระที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ อย่างการพักในที่พักราคาไม่แพงและแบกของที่จำเป็นทั้งหมดไว้ในกระเป๋าสะพายหลัง เป็นรูปแบบการเดินทางโดยจำกัดที่ดำเนินการด้วยความจำเป็นเท่านั้น จึงเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวกระแสหลัก[1]
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการท่องเที่ยวแบบสะพายหลังจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการเดินทางของคนหนุ่มสาวซึ่งส่วนใหญ่ทำกันในช่วงปีว่าง (gap year) ของหนุ่มสาว แต่ก็มีการเดินทางแบบนี้โดยผู้มีอายุมากกว่าด้วยอย่างในช่วงพักงานหรือเกษียณอายุ
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]ลักษณะเฉพาะการท่องเที่ยวแบบสะพายหลังโดยทั่วไปมักมีลักษณะดังนี้[2][3]
- เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ การใช้บริการที่พักราคาไม่แพง เช่น หอพักหรือเรือนแรมและวิธีการอื่น ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย[4]
- การเดินทางที่มีระยะเวลายาวนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวันหยุดพักผ่อนทั่วไป
- มีการทำงานในประเทศอื่นในช่วงเวลาสั้น ๆ ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใบอนุญาตทำงาน[5] นอกจากนี้ยังมีคนเร่ร่อนทางดิจิทัล คือผู้ที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีในขณะที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ
- ค้นหาของแท้ การเดินทางแบบสะพายหลังไม่ได้เป็นเพียงการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เป็นวิธีการศึกษาเรียนรู้ด้วย[6] นักเดินทางแบบสะพายหลังต้องการสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นจุดหมายปลายทางที่คิดว่าเป็น "ของแท้" มากกว่ารูปแบบการท่องเที่ยวแบบมวลชน[7]
- ความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมหรือสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทาง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caprioglio O'Reilly, Camille (2006). "From Drifter to Gap Year Tourist Mainstreaming Backpacker Travel". Annals of Tourism Research. 33 (4): 998–1017. doi:10.1016/j.annals.2006.04.002.
- ↑ Kelly, Catherine (2017). Backpacker Tourism. doi:10.4135/9781483368924. ISBN 9781483368948 – โดยทาง SAGE Publishing.
- ↑ Ooi, Natalie; Laing, Jennifer H. (March 2010). "Backpacker tourism: sustainable and purposeful? Investigating the overlap between backpacker tourism and volunteer tourism motivations". Journal of Sustainable Tourism – โดยทาง ResearchGate.
- ↑ CFEI, Libby Kane. "A 26-year-old explains how he travels the world on no more than $30 a day". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ Victoria, Government (9 March 2021). "Backpacker Tourism Action Plan". Tourism Victoria.
- ↑ Pearce, Philip; Foster, Faith (2007). "A "University of Travel": Backpacker Learning". Tourism Management. 28 (5): 1285–1298. doi:10.1016/j.tourman.2006.11.009.
- ↑ Richards, Greg; Wilson, Julie (29 March 2004). The Global Nomad: Backpacker Theory in Travel and Practice. Channel View Publications. pp. 80–91. ISBN 1-873150-76-8.
- ↑ Bosangit, Carmela; Hibbert, Sally; McCabe, Scott (2015-11-01). ""If I was going to die I should at least be having fun": Travel blogs, meaning and tourist experience". Annals of Tourism Research (ภาษาอังกฤษ). 55: 1–14. doi:10.1016/j.annals.2015.08.001. ISSN 0160-7383.