การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
การเมืองการปกครอง ประเทศเยอรมนี |
---|
|
การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี มีทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาสหพันธ์ (Bundestag), สภามลรัฐ (Landtag) และการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น
การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนีได้รับบัญญัติไว้ในหลายมาตราในกฎหมายพื้นฐานสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (กฎหมายสูงสุดของเยอรมนี) ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ไว้หลายอย่าง เช่นกำหนดให้การเลือกตั้งกระทำด้วยการลงคะแนนแบบลับ กำหนดให้เลือกตั้งทุกครั้งต้องเป็นไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรม และยังกำหนดให้สภาสหพันธ์ตรากฎหมายโดยละเอียดเพื่อกำกับการเลือกตั้ง (เรียกว่ากฎหมายเลือกตั้ง) นอกจากนี้มาตรา 38 แห่งกฎหมายพื้นฐาน ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปไว้ว่า "ผู้ใดก็ตามที่อายุครบสิบแปดปีจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดก็ตามที่มีอายุบรรลุนิติภาวะจะมีสมัครรับเลือกตั้ง"[1]
การเลือกตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
[แก้]ระบบการลงคะแนน
[แก้]การเลือกตั้งในระดับสหพันธ์จัดประมาณทุกสี่ปี ตามข้อกำหนดแห่งรัฐธรรมนูญให้จัดการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 46 ถึง 48 เดือนหลังการเปิดประชุมรัฐสภา[2] โดยสามารถจัดการเลือกตั้งก่อนได้ในพฤติการณ์พิเศษตามรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเช่น กรณีนายกรัฐมนตรีแพ้มติไม่ไว้วางใจในสภาบุนเดิสทาค ซึ่งในช่วงผ่อนผันก่อนบุนเดิสทาคจะลงมติเลือกผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่นั้น นายกรัฐมนตรีสามารถขอต่อประธานาธิบดีสหพันธ์ให้ยุบบุนเดิสทาคและจัดการเลือกตั้งใหม่ หากบุนเดิสทาคถูกยุบสภาก่อนครบวาระสี่ปี จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 100 วัน ประธานาธิบดีเป็นผู้กำหนดวันที่การเลือกตั้งแน่ชัด[3] และต้องตรงกับวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ
ผู้มีสัญชาติเยอรมันอายุเกิน 18 ปี ซึ่งเป็นผู้พำนักในประเทศเยอรมนีเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือนมีสิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยหลักไม่ต่างกัน
สภานิติบัญญัติสหพันธ์ในประเทศเยอรมนีเป็นรัฐสภาระบบสภาเดี่ยว คือ บุนเดิสทาค (สภานิติบัญญัติสหพันธ์) ส่วนบุนเดซรัท (สภาสหพันธ์) นั้นเป็นตัวแทนของภูมิภาคต่างๆ โดยไม่ถือเป็นสภาเพราะสมาชิกมิได้มาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาบุนเดิสทาคใช้ระบบสัดส่วนสมาชิกผสม (mixed-member proportional)
ผู้ออกเสียงลงคะแนนมีสองคะแนนเสียง คะแนนเสียงแรกเลือกสมาชิกบุนเดิสทาคสำหรับเขตเลือกตั้งของตน และคะแนนเสียงที่สองออกเสียงให้พรรคการเมือง ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงต่ำสุด (minimum threshold vote) ที่นั่งทั้งหมดในบุนเดิสทาคถูกจัดสรรตามสัดส่วนคะแนนเสียงของพรรคการเมือง พรรคการเมืองที่ชนะในแบบแบ่งเขตในรัฐหนึ่งมากกว่าที่มีสิทธิตามจำนวนคะแนนเสียงพรรคการเมืองที่ได้ในรัฐนั้นให้เก็บที่นั่ง "ส่วนขยาย" (overhang seat) เหล่านั้นไว้ได้
ประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 598 คน มีวาระสี่ปี โดยสมาชิกจำนวน 299 คนหรือครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตเลือกแบบมีผู้แทนคนเดียวโดยระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post) ส่วนอีก 299 คนมาจากการจัดสรรจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง (party list) เพื่อให้เป็นสัดส่วนในสภานิติบัญญัติ และบัญชีรายชื่อใช้เพื่อทำให้ดุลของพรรคการเมืองตรงกับการกระจายของคะแนนเสียงที่สอง อาจเพิ่มที่นั่งเกินจากสมาชิกในนาม 598 คนได้ ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสหพันธ์ปีพ.ศ. 2552 มีที่นั่งส่วนขยาย 24 ที่นั่ง ทำให้มีผู้แทนทั้งหมด 622 ที่นั่ง เกิดจากพรรคการเมืองใหญ่ชนะการเลือกตั้งแบบเขตเลือกตั้งคนเดียวเพิ่มจากทั้งหมดที่กำหนดโดยคะแนนเสียงพรรคการเมืองตามสัดส่วนของพรรคนั้น
ประเทศเยอรมนีเป็นระบบหลายพรรคการเมืองโดยมีพรรคการเมืองเข้มแข็งสองพรรค และพรรคที่สามอื่นๆ ซึ่งยังมีผู้แทนในบุนเดิสทาค ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 มีพรรคการเมืองจำนวนห้าพรรค (นับ CDU และ CSU เป็นพรรคเดียว) มีผู้แทนในสภาบุนเดิสทาค
ในปีพ.ศ. 2551 มีการกำหนดการดัดแปลงระบบการเลือกตั้งบางอย่างภายใต้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติในกฎหมายเลือกตั้งสหพันธ์ซึ่งทำให้พรรคการเมืองมีน้ำหนักคะแนนเสียงลบ (negative vote weight) แล้วทำให้เสียที่นั่งเพราะคะแนนเสียงมากกว่า ละเมิดการรับรองตามรัฐธรรมนูญว่าระบบเลือกตั้งเท่าเทียมกันและโดยตรง[4]
ศาลรัฐธรรมนูญได้อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายมีกรอบเวลาสามปี ดังนั้น การเลือกตั้งสหพันธ์ปีพ.ศ. 2552 จึงได้รับอนุญาตให้ดำเนินภายใต้ระบบเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้กำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 แต่กฎหมายใหม่ที่เหมาะสมยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทันภายในกรอบเวลานั้น ซึ่งก็ได้มีการตรากฎหมายเลือกตั้งใหม่ในปลายปีพ.ศ. 2554 แต่ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์วินิจฉัยว่ามิชอบด้วยรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งจากคดีจากพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพลเมืองราว 4,000 คน[5]
สุดท้าย สี่จากห้ากลุ่มการเมืองในสภาตกลงการปฏิรูปการเลือกตั้งซึ่งให้ถือจำนวนที่นั่งในสภาจะเพิ่มขึ้นมากเท่าที่จำเป็นเพื่อรับประกันว่าจะมีการชดเชยที่นั่งผ่านระบบการปรับที่นั่ง (leveling seat) เพื่อรับรองความได้สัดส่วนสมบูรณ์ตามสัดส่วนคะแนนเสียงของพรรคการเมืองในระดับชาติ[6] ต่อมาสภาบุนเดิสทาคได้อนุมัติและตรากฎหมายการปฏิรูปการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มาตรา 38 วรรค 2 (ข้อความต้นฉบับ): "Wahlberechtigt ist, wer das achtzehnte Lebensjahr vollendet hat; wählbar ist, wer das Alter erreicht hat, mit dem die Volljährigkeit eintritt."
- ↑ "Art. 39 Grundgesetz". Grundgesetz Bundesrepublik Deutschland. Bundesministerium der Justiz. 19 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- ↑ "§16 Bundeswahlgesetz". Bundeswahlgesetz Bundesrepublik Deutschland. Bundesministerium der Justiz. 3 June 2008. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- ↑ "Federal Constitutional Court decision on the Federal Election Law". Bverfg.de. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
- ↑ Decision of the Federal Constitutional Court. 25 July 2012. Retrieved 13 August 2012.
- ↑ Bill amending the Federal Election Law. 11 December 2012. Retrieved 25 December 2012.
- ↑ ZEIT ONLINE GmbH, Hamburg, Germany (22 February 2013). "Bundestag: Deutschland hat ein neues Wahlrecht | ZEIT ONLINE". Zeit.de. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)