ข้ามไปเนื้อหา

ตังเซียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตังเซียม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Salvia
สปีชีส์: S.  miltiorrhiza
ชื่อทวินาม
Salvia miltiorrhiza
Bunge[1]

ตังเซียม (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือตานเซิน (ภาษาจีนกลาง;จีนตัวย่อ: 丹参; จีนตัวเต็ม: 丹參; พินอิน: dānshēn) [3]ชื่อวิทยาศาสตร์: Salvia miltiorrhiza[4] เป็นพืชอายุหลายปีในสกุล Salvia และเป็นพืชที่ใช้รากเป็นยาในตำรายาจีน [2] เป็นพืชท้องถิ่นในจีนและญี่ปุ่น รากเปลือกนอกสีน้ำตาล หยาบเป็นรอยย่น ใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนเลือด ใช้รักษาฝี[3][4]

ตานเซิน มีสรรพคุณเกี่ยวกับโรคเลือดหลายๆ ด้านในทางศาสตร์แพทย์จีน จนได้รับฉายาว่า “ยาตัวเดียว สรรพคุณเหมือนยา 4 ตัว คือ ตำรับยา ชื่ออู้ทัง (四物汤) ทั้งตำรับซึ่งมีตัวยา 4 ตัวเลยทีเดียว”[5]  กล่าวคือ ตำรับยา ซื่ออู้ทัง (四物汤) เป็นตำรับคลาสสิก เกี่ยวกับบำรุงเลือด และการปรับระบบเลือด ซึ่งครอบคลุมเรื่องของการบำรุงเลือด, สร้างเลือด, ขับเคลื่อนเลือด, สลายก้อนเลือด, ระงับอาการปวด (จากการอุดตันของเลือด) ตัวยาสำคัญของยาตำรับนี้คือ ตังกุย (当归), สูตี้ (.熟地.), ไป๋สาว (白芍), ชวนทรวง (川芎)

ตานเซิน (丹参) ตัวเดียว มีสรรพคุณครอบคลุมทุกด้าน ตามตำรับยา ซื่ออู้ทัง ทุกประการ ในทางคลินิก จึงกล่าวถึงสรรพคุณหลักๆ ในการรักษาไว้ 4 ประการ[5]

  1. ป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ตามทฤษฎีแพทย์จีน สีแดงเข้าหัวใจ ตานเซินมีสีแดงจึงเข้าหัวใจ หัวใจควบคุมหลอดเลือด จึงมีผลต่อหลอดเลือดหัวใจโดยตรง และจากการศึกษาสมัยวิจัยสมัยใหม่พบว่า ตานเซิน สามารถต้านการเกาะตัวของเลือด ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด ทำให้ป้องกันการเกิดเลือดอุดกั้นในหลอดเลือด[6][7]
  2. รักษาภาวะเลือดอุดตัน และการอักเสบของหลอดเลือด โดยเฉพาะคนที่มีเส้นเลือดขอดที่เท้า ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ขาเป็นสีม่วง หรือดำแดง จากหลอดเลือดที่โป่งพองนานๆ[8]
  3. รักษาภาวะประจำเดือนผิดปกติ ฤทธิ์ในการบำรุงและปรับประจำเดือนของตานเซิน ด้อยกว่าสมุนไพรตังกุย แต่ฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและสลายการอุดกั้นของเลือด ตานเซิน เหนือกว่าตังกุย ในทางคลินิก จึงมักต้องใช้ตังกุยคู่กับตานเซิน
  4. ช่วยให้นอนหลับ, ช่วยบำรุงระบบประสาทที่อ่อนแอ ทำให้นอนหลับ ในผู้ป่วยนอนไม่หลับเรื้อรัง นอกจากจะใช้หลักการ บำรุงหัวใจสงบอารมณ์แล้ว บางรายจำเป็นต้องใช้การสลายเลือดอุดกั้น ทำให้เลือดไหลเวียนร่วมด้วย[9]

เรื่องราวของ “ตานเซิน”[5] เล่ากันว่า ริมทะเลตงไห่ มีชาวประมงนายหนึ่งชื่อ อาหมิง แต่การที่เขาต้องกำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก จึงต้องอาศัยมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูมาตลอด เมื่อโตขึ้น และด้วยฝีมือในการว่ายน้ำที่เป็นเลิศ เทคนิคการจับปลาที่ยอดเยี่ยม ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาไม่อัตคัดคัดสน

อยู่มาวันหนึ่ง มารดาของอาหมิงรู้สึกปวดแน่นหน้าอก ระยะแรกก็ไม่ใส่ใจ ต่อมาอาการกำเริบรุนแรงขึ้น อาการปวดเหมือนกับเข็มแทงบริเวณหน้าอก ต้องนอนนิ่งอยู่บนเตียง มีเหงื่อกาฬออก แทบหมดสติ อาหมิงพยายามหาหมอ เจียดยาหลายตำรับให้มารดารับประทาน เปลี่ยนไปหายหมอ หลายตำรับ อาการคุณแม่ไม่ดีขึ้นเลย ต่อมา อาหมิงได้ข่าวล้ำลือว่า ที่เกาะกุ่ยโฉวเต่า(鬼愁岛) มีสมุนไพร ดอกสีม่วง รากสีม่วงแดง ที่สามารถรักษาโรคของมารดาได้ แต่น้อยคนที่เข้าไปที่เกาะนี้ จะรอดชีวิตกลับมาได้ เพราะมีสัตว์ร้ายและสิ่งอันตรายมากมาย แต่ด้วยความตั้งใจแน่วแน่และหัวใจที่ซื่อสัตว์มั่นคงต่อมารดาผู้บังเกิดเกล้า เขาตัดสินใจเดินทางไปยังเกาะมรณะ โดยไหว้วานเพื่อนบ้านให้ช่วยดูแลมารดาของเขา เขาเดินทางฝ่าฟันอุปสรรค แทบเอาชีวิตไม่รอด แต่ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ และความสามารถส่วนตัว ในที่สุดเขาก็ไปถึงสมุนไพรวิเศษตัวนั้น หลังจากนำรากของสมุนไพรมาต้มน้ำให้กิน อาการของมารดาก็ดีวันดีคืน จนหายเป็นปกติ เนื่องจากสมุนไพรต้นนี้ไม่มีชื่อ ผู้คนจึงขนานนามโดยการตกผลึกความคิดจากจิตใจที่มุ่งมั่นและซื่อตรงแน่วแน่ของอาหมิง ตั้งชื่อสมุนไพรตัวนี้ว่า “ตานซิน” (丹心) หรือ “จิตภักดีซื่อตรง” ต่อมา เสียงเพี้ยนเป็น “ตานเซิน” (丹参)

องค์ประกอบทางเคมี

[แก้]

การวิเคราะห์ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) พบว่าตานเซินมี Tanshinone IIA 0.1-0.4%, Cryptotanshinone 0.04-0.46%, Tanshinone I0.03-0.15% [10], Dihydrotanshinone, Salvianolic acid A และ Salvianolic B [8][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Salvia miltiorrhiza information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  2. Ji X-Y, Tan BK-H, Huang S-H; และคณะ (2004). "Effects of Salvia miltiorrhiza After Accute Myocardial Infarction in Rats". ใน Tan, BK-H, Bay B-H, Zhu Y-Z (บ.ก.). Novel compounds from natural products in the new millennium: potential and challenges. Singapore: World Scientific. pp. 183–95. ISBN 978-981-256-221-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. ศุภนิมิต ทีฆชุณหเสถียร. ยาจีนปรับสมดุลเลือด. กทม. ซีเอ็ดยูเคชัน. 2554
  4. ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
  5. 5.0 5.1 5.2 http://www.samluangclinic.com/index.php/blog/cat/Article_2010/post/Chinese_Medicine_0810/[ลิงก์เสีย]
  6. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3113734/
  7. [1]
  8. 8.0 8.1 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3113734/
  9. http://www.nature.com/articles/srep12273
  10. Dan Shen (Salvia miltiorrhiza) in Medicine Volume 1. Biology and Chemistry Editors: Yan, Xijun (Ed.)
  11. [2]