ข้ามไปเนื้อหา

ถั่วเขียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วเขียว
ถั่วเขียว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Phaseoleae
สกุล: Vigna
สปีชีส์: V.  radiata
ชื่อทวินาม
Vigna radiata
(L.) R. Wilczek
ชื่อพ้อง

Phaeolus aureus Roxb.

Vigna radiata

ถั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ

สรรพคุณ

[แก้]
เมล็ดถั่วเขียวดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,452 กิโลจูล (347 กิโลแคลอรี)
62.62 g
น้ำตาล6.60 g
ใยอาหาร16.3 g
1.15 g
23.86 g
วิตามิน
วิตามินซี
(6%)
4.8 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(13%)
132 มก.
แมกนีเซียม
(53%)
189 มก.
ฟอสฟอรัส
(52%)
367 มก.
โพแทสเซียม
(27%)
1246 มก.
โซเดียม
(1%)
15 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

รสมัน

ช่วยขับร้อน ถอนพิษ ขับของเหลวในร่างกาย บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต มีประโยชน์ต่อลำคอและผิวหนัง รักษาอาการกระหายน้ำ ไตอักเสบ หรือลำไส้อักเสบ ไข้หวัด ผื่นคัน เบาหวาน พิษจากพืชและสารหนู ช่วยกระตุ้นประสาท เจริญอาหาร มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และแคโรทีน

มักทำเป็นเครื่องดื่มแก้ร้อนในและแก้พิษในฤดูร้อน ผู้ที่ม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ ถ่ายอุจจาระบ่อยหรือท้องเดินควรกินแต่น้อย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]