ข้ามไปเนื้อหา

บาบิโลน

พิกัด: 32°32′32″N 44°25′17″E / 32.542199°N 44.421435°E / 32.542199; 44.421435
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาบิโลน
Bābilim
ภาพซากเมืองบาบิโลนบางส่วน
บาบิโลนตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
บาบิโลน
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอิรัก
ชื่ออื่น
ที่ตั้งอัลฮิลละฮ์ เขตผู้ว่าการบาบิล ประเทศอิรัก
ภูมิภาคเมโสโปเตเมีย
พิกัด32°32′32″N 44°25′17″E / 32.542199°N 44.421435°E / 32.542199; 44.421435
ประเภทที่อยู่อาศัย
ส่วนหนึ่งของบาบิโลเนีย
พื้นที่9 ตารางกิโลเมตร (3.5 ตารางไมล์)
ความเป็นมา
สร้างป. 1894 ปีก่อน ค.ศ.
ละทิ้งประมาณ ค.ศ. 1000
วัฒนธรรมซูเมอร์, แอกแคด, อาโมไรต์, แคสไซต์, อัสซีเรีย, แคลเดีย, อะคีเมนิด, กรีก, พาร์เทีย, ซาเซเนียน, มุสลิม
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นฮัรมุซ รัสซาม, Robert Koldewey, ฏอฮา บากิร, นักอัสซีเรียวิทยาชาวอิรักสมัยใหม่
สภาพซาก
ผู้ถือกรรมสิทธิ์สาธารณะ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนบาบิโลน
เกณฑ์วัฒนธรรม: (iii), (vi)
ขึ้นเมื่อ2019 (ครั้งที่ 43)
เลขอ้างอิง278
ภูมิภาครัฐอาหรับ

บาบิโลน เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบาบิโลนโบราณ ซึ่งอาจสื่อถึงสองจักรวรรดิต่างหากในเมโสโปเตเมียสมัยโบราณ จักรวรรดิทั้งสองนี้ประสบความสำเร็จในการครอบครองภูมิภาคในศตวรรษที่ 19 ถึง 15 ก่อน ค.ศ. และอีกครั้งในศตวรรษที่ 7 ถึง 6 ก่อน ค.ศ. นครนี้สร้างขึ้นริมแม่น้ำยูเฟรติสทั้งสองฝั่งที่มีทำนบสูงชันเพื่อกั้นน้ำหลากตามฤดูกาล พื้นที่นครโบราณตั้งอยู่ใต้ของแบกแดดในปัจจุบัน

บันทึกแรกสุดที่กล่าวถึงบาบิโลนในฐานะเมืองขนาดเล็กปรากฏในแผ่นดินเหนียวในรัชสมัย Shar-Kali-Sharri (2217–2193 ปีก่อน ค.ศ.) แห่งจักรวรรดิแอกแคด[2] บาบิโลนเป็นศูนย์กลางทั้งทางวัฒนธรรมและศาสนา และไม่ได้เป็นทั้งรัฐอิสระหรือนครใหญ่ โดยอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิแอกแคดที่รวมดินแดนที่พูดภาษาแอกแคดและซูเมอร์ภายใต้การปกครองเดียวกัน เหมือนกับส่วนที่เหลือของเมโสโปเตเมีย หลังจักรวรรดิล่มสลาย ภูมิภาคเมโสโปเตเมียตอนล่างปกครองโดยชาวกูเทียมาหลายทศวรรษก่อนจุดรุ่งเรืองของราชวงศ์อูร์ที่สาม ซึ่งครอบคลุมทั้งเมโสโปเตเมีย (รวมเมืองบาบิโลน)

เมืองนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของนครรัฐอิสระขนาดเล็กที่ภายหลังกลายเป็นจักรวรรดิบาบิโลนที่หนึ่ง (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิบาบิโลนเก่า) เมื่อศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ฮัมมูราบีแห่งอามูร์ก่อตั้งจักรวรรดิบาบิโลนเก่าที่มีอายุสั้นในศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทำให้บาบิโลนเป็นเมืองใหญ่และประกาศตนเองเป็นกษัตริย์ เมโสโปเตเมียตอนใต้มีชื่อใหม่้ป็นบาบิโลเนีย และเมืองบาบิโลนทำหน้าที่เป็นนครศักดิ์สิทธิ์ประจำภูมิภาคแทนนิปปูร์ จักรวรรดิเริ่มเสื่อมสลายในรัชสมัยซัมซู-อิลูนา พระราชโอรสในฮัมมูราบี และบาบิโลนก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรีย, แคสไซต์ และเอลามเป็นเวลายาวนาน หลังฝ่ายอัสซีเรียทำลายและสร้างเมืองใหม่ บาบิโลนจึงกลายเป็นเมืองหลวงระยะสั้นของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ใน 609 ถึง 539 ปีก่อน ค.ศ. สวนลอยบาบิโลนจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก หลังจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ล่มสลาย ตัวเมืองจึงอยู่ภานใต้การปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิด, ซิลูซิด, พาร์เธีย, โรมัน, ซาเซเนียน และมุสลิม ข้อมูลบันทึกที่อยู่อาศัยในเมืองครั้งสุดท้ายปรากฏในคริสต์ศตรรษที่ 10 โดยมีชื่อเรียกว่า "หมู่บ้านขนาดเล็กแห่งบาเบล"

คาดกันว่าบาบิโลนเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อ ป. 1770 –  1670 ปีก่อน ค.ศ. และอีกครั้งเมื่อประมาณ 612 –  320 ปีก่อน ค.ศ. โดยอาจเป็นเมืองแรกที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน[3] ส่วนจำนวนพื้นที่ในช่วงสูงสุดมีขนาด 890[4] ถึง 900 เฮกตาร์ (2,200 เอเคอร์)[5]

ส่วนหลงเหลือของนครปัจจุบันอยู่ในอัลฮิลละฮ์ เขตผู้ว่าการบาบิล ประเทศอิรัก ทางใต้ของแบกแดดประมาณ 85 กิโลเมตร (53 ไมล์) และมีขอบเขตตามเส้นรอบรูปของกำแพงส่วนนอกโบราณ ซึ่งมีขนาดประมาณ 1,054.3 เฮกตาร์ (2,605 เอเคอร์)[6] ประกอบด้วย tell ของอาคารและซากที่ทำมาจากอิฐโคลนที่พังทลายขนาดใหญ่ แหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับบาบิโลน (ในบริเวณที่มีการขุดค้น) มาจากช้อความอักษรรูปลิ่มที่พบในเมโสโปเตเมีย อ้างอิงในคัมภีร์ไบเบิล รายละเอียดในงานเขียนยุคคลาสสิก (โดยเฉพาะของเฮอรอโดทัส) และงานเขียนทุติยภูมิ (อ้างอิงในผลงานของ Ctesias และ Berossus) นำเสนอภาพเมืองโบราณที่ไม่สมบูรณ์ และบางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง แม้แต่ข้อมูลช่วงสูงสุดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช[7] ยูเนสโกจัดให้บาบิโลนเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 2019 แหล่งโบราณสถานนี้รองรับผู้เข้าชมพันกว่าคนทุกปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิรัก[8][9] การก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการรุกล้ำซากปรักหักพัง[10][11][12]

ชื่อ

[แก้]

รูปสะกด Babylon เป็นรูปอักษรละตินของภาษากรีกว่า Babylṓn (Βαβυλών) ซึ่งมาจากภาษาแม่ (บาบิโลน) ว่า Bābilim หมายถึง "ประตูแห่งเทพเจ้า" โดยมีรูปสะกดตามอักษรรูปลิ่มคือ 𒆍𒀭𒊏𒆠 (KA₂.DIG̃IR.RAKI).[13][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] ซึ่งตรงกับวลีภาษาซูเมอร์ว่า kan dig̃irak.[14]

ในคัมภีร์ฮีบรู ชื่อนี้ปรากฏเป็น Babel (ฮีบรู: בָּבֶל Bavel, Tib. בָּבֶל Bāḇel; ซีรีแอกคลาสสิก: ܒܒܠ Bāwēl, แอราเมอิก: בבל Bāḇel; อาหรับ: بَابِل Bābil) ในหนังสือปฐมกาลตีความว่าหมายถึง "ความสับสน"[15] โดยมาจากรูปกริยา bilbél (בלבל, "สับสน")[16]

ในวรรณกรรมภาษาบาลีและสันสกฤต ปรากฏชื่อเมืองเป็น Bāveru[17]

ในบางสถานการณ์ มีการบันทึกเมืองอื่นเป็น "บาบิโลน" ในบันทึกสมัยโบราณ เช่น บอร์ซิปปาที่อยู่ในเขตอิทธิพลของบาบิโลน และนิเนเวห์ใช้ชื่อนี้เป็นระยะสั้นหลังฝ่ายอัสซีเรียปล้นสะดมบาบิโลน[18][19]

ความสำคัญทางวัฒนธรรม

[แก้]
ภาพพิมพ์แกะไม้ในพงศาวดารนูเร็มเบิร์กเมื่อ ค.ศ. 1493 แสดงการล่มสลายของบาบิโลน
"กำแพงบาบิโลนและวิหารแห่งเบล (หรือบาเบล)" ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย วิลเลียม ซิมป์สัน – ได้รับอิทธิพจากการสำรวจทางโบราณคดีในช่วงแรก

ก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยใหม่ในเมโสโปเตเมีย รูปลักษณ์ของบาบิโลนยังคงเป็นเรื่องลึกลับ และศิลปินชาวตะวันตกมักจินตนาการเมืองนี้ว่ามีส่วนผสมระหว่างวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ กรีกยุคคลาสสิค และออสโตมันร่วมสมัย[20]

พระคัมภีร์

[แก้]

ในหนังสือปฐมกาล[21] บาเบล (บาบิโลน) ได้รับการจัดตั้งโดยนิมโรด โดยก่อตั้งร่วมกับเอเรก, อัคคัด และอาจรวมคาลเนห์—ทั้งหมดอยู่ในชินาร์ (บางครั้งคำว่า "คาลเนห์" อทาจไม่แปลเป็นชื่อเฉพาะ แต่แปลเป็นวลี "ทั้งหมด") ส่วนอีกเรื่องราวหนึ่งปรากฏในปฐมกาล 11 ซึ่งกล่าวถึงประชาชาติมนุษย์ที่รวมเป็นหนึ่ง พูดภาษาเดียว อพบพไปที่ชินาร์เพื่อจัดตั้งเมืองและหอ (หอคอยบาเบล) พระเจ้าหยุดการก่อสร้างหอด้วยการทำให้มนุษยชาติกระจายไปทั่วทุกทิศ และทำให้การสื่อสารระหว่างพวกเขาสับสนเพื่อให้พวกเขาไม่เข้าใจกัน

หลังจากเฮเซคียาห์ กษัตริย์แห่งยูดาห์ ทรงพระประชวร บาลาดัน กษัตริย์แห่งบาบิโลน ส่งจดหมายและทรัพย์สมบัติมาให้พระองค์ เฮเซคียาห์จึงอวดสมบัติทั้งหมดให้แก่คณะทูต ภายหลังผู้เผยพระวจนะอิสยาห์จึงกล่าวแก่พระองค์ว่า: "จงฟังพระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ว่า เวลานั้นจะมาถึงอย่างแน่นอน เมื่อทุกอย่างในวังของเจ้าและทุกสิ่งที่บรรพบุรุษของเจ้าได้สะสมไว้จวบจนบัดนี้จะถูกกวาดไปยังบาบิโลน จะไม่มีอะไรเหลือเลย"[22] ประมาณ 200 ต่อมา เนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์แห่งบาบิโลน ได้รุกรานยูดาห์ ล้อมเมืองเยรูซาเลม และกวาดล้างชาวยิวไปที่บาบิโลน[23]

ดาเนียลใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบาบิโลน เนบูคัดเนสซาร์แต่งตั้งให้ดาเนียลปกครองทั้งแคว้นบาบิโลนหลังตีความความฝันของพะรองค์ได้ ปีต่อมา เบลชัสซาร์จัดงานเลี้ยงใหญ่ จากนั้นมีนิ้วมือหนึ่งปรากฏขึ้นและเขียนลงบนกำแพง จากนั้นจึงมีการเรียกตัวดาเนียวให้มาตีความข้อความนี้ โดยเขาอธิบายว่าพระเจ้าจะทำให้อาณาจักรของเบลชัสซาร์สิ้นสุดลง พระองค์ถูกปลงพระชนม์ในคืนนั้นและดาริอัสแห่งมีเดียจึงขึ้นครองอาณาจักรต่อ[24]

หนังสืออิสยาห์กล่าวถึงบาบิโลนไว้ว่า: "...จะถูกพระเจ้าล้มล้าง เหมือนเมืองโสโดมและโกโมราห์ ตลอดทุกชั่วอายุจะไม่มีใครมาตั้งรกรากอีกต่อไป ไม่มีใครมาอาศัยตลอดทุกชั่วอายุ ไม่มีชาวอาหรับมาตั้งเต็นท์ ไม่มีคนเลี้ยงแกะพาฝูงแกะมาพักอีก"[25] คันภีร์ไบเบิลได้ทำนายว่าดินแดนบาบิโลน, เอโดม, โบสราห์, โมอับ, ไทร์, ฮาโซร์ และบรรดาบุตรแห่งอัมโมนจะกลายเป็นเมืองโสโดมและโกโมราห์หรือไม่มีผู้อยู่อาศัยตลอดกาล[26]

ในศาสนาคริสต์ บาบิโลนเป็นสัญลักษณ์ของทางโลกและความชั่วร้าย บางครั้งคำทำนายเชื่อมกษัตริย์บาบิโลนเข้ากับลูซิเฟอร์ พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 ปรากฏเป็นผู้ปกครองที่สำคัญที่สุดในเรื่องเล่านี้[27]

หนังสือวิวรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงบาบิดลนหลังสูญเสียสถานะศูนย์กลางทางการเมืองมาหลายศตวรรษ เมืองนี้ถูกเรียกเป็น "โสเภณีแห่งบาบิโลน" ขี่บนสัตว์ร้ายสีแดงเข้มที่มีเจ็ดหัวและสิบเขา และเมาเหล้าด้วยเลือดของผู้ศรัทธา นักวิชาการวรรณกรรมพยากรณ์บางส่วนเชื่อว่า "บาบิโลน" ในพันธะสัญญาใหม่เป็นคำไม่สุภาพที่ใช้เรียกจักรวรรดิโรมัน[28] ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มกล่าวแนะว่าบาบิโลนในพันธะสัญญาใหม่มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ที่ขยายขอบเขตไปไกลกว่าจักรวรรดิโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 1[29]

บาบิโลนในศิลปะ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Edwards, I. E. S.; Gadd, C. J.; Hammond, N. G. L. (1981). Prolegomena and Prehistory. The Cambridge Ancient History. Vol. 1 Part 1. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-29821-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-19. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.
  2. Beaulieu, Paul-Alain (2017). A History of Babylon, 2200 BC - AD 75. Blackwell History of the Ancient World. Wiley. p. 50. ISBN 978-1-119-45907-1. Retrieved 2022-08-27.
  3. Tertius Chandler. Four Thousand Years of Urban Growth: An Historical Census (1987), St. David's University Press ("etext.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)). ISBN 0-88946-207-0. See Historical urban community sizes.
  4. Mieroop, Marc van de (1997). The Ancient Mesopotamian City. Oxford: Oxford University Press. p. 95. ISBN 9780191588457. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2015-06-20.
  5. Boiy, T. (2004). Late Achaemenid and Hellenistic Babylon. Orientalia Lovaniensia Analecta. Vol. 136. Leuven: Peeters Publishers. p. 233. ISBN 9789042914490. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-20.
  6. "Babylon World Heritage Nomination Text". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22.
  7. Seymour 2006, pp. 140–142.
  8. Fordham, Alice (23 February 2021). "'It Was Like Magic': Iraqis Visit Babylon And Other Heritage Sites For 1st Time". NPR.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
  9. "Ancient city of Babylon heads list of new Unesco world heritage sites". The Guardian. 5 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
  10. Bringing Babylon back from the dead - CNN Video, สืบค้นเมื่อ 2021-09-29
  11. Arraf, Jane (2021-02-06). "In Beleaguered Babylon, Doing Battle Against Time, Water and Modern Civilization". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  12. "Management Plan of Babylon". unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
  13. Sayce 1878, p. 182.
  14. Ernest A. Budge (1880). The history of Esarhaddon (son of Sennacherib) King of Assyria, B.C. 681-668;. Trübner & Co. pp. 135–136. OCLC 977799662.
  15. Gen. 11:9.
  16. Magnus Magnusson, BC: The Archaeology of the Bible Lands. BBC Publications 1977, pp. 198–199.
  17. Malalasekera, G.P. (1938). Dictionary of Pāli Proper Names. Vol. 2. p. 280.
  18. Dalley, Stephanie (1994). "Nineveh, Babylon and the Hanging Gardens: Cuneiform and Classical Sources Reconciled". Iraq. 56: 45–58. doi:10.2307/4200384. ISSN 0021-0889. JSTOR 4200384.
  19. Dalley, Stephanie (18–22 July 2005). Babylon as a name for other cities including Nineveh (PDF). Proceedings of the 51st Rencontre Assyriologique Internationale. SAOC. Vol. 62. pp. 25–33. OCLC 938410607. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2012. สืบค้นเมื่อ 11 April 2009.
  20. Liverani 2016, pp. 21–22. "In practice, the solution adopted to visualize cities which were in fact unknown was a mixture of classical (Greek) and Egyptian elements, with long colonnades, even built on more than one level—which will then prove totally foreign to the unfired brick architecture of Mesopotamian cities—and with plenty of obelisks and the odd sphinx. To this mixture is added, often and willingly, something of Ottoman architecture, showing cupolas and minarets, clearly useful in picturing an unchangeable Near East which therefore needed to retain elements of remote antiquity in a modern age."
  21. Genesis 10:10
  22. "Bible Gateway passage: 2 Kings 20:12-19, Isaiah 39 – New American Standard Bible". Bible Gateway (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  23. "Bible Gateway passage: 2 Kings 24-25, 2 Chronicles 36, Jeremiah 39:1-10 – New American Standard Bible". Bible Gateway (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  24. "Bible Gateway passage: Daniel 5 – English Standard Version". Bible Gateway (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  25. "Bible Gateway passage: Isaiah 13:19-20 – English Standard Version". Bible Gateway (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  26. "Bible Gateway passage: Isaiah 13:19–20, Jeremiah 49:17–18, Jeremiah 49:13, Zephaniah 2:9, Ezekiel 26:14, Ezekiel 26:19–21, Jeremiah 49:33 – English Standard Version". Bible Gateway (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  27. Seymour 2006, pp. 91–101.
  28. Merrill Tenney, New Testament Survey, Inter-varsity Press, 1985, p. 383
  29. Craig R. Koester, Revelation (New Haven, Connecticut: Yale University Press, 2014), 506, 684

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]