ข้ามไปเนื้อหา

พิพัฒนาการนิยมทางการศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น ดูอี ผู้สนับสนุนปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม

พิพัฒนาการนิยมทางการศึกษา หรือ ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (อังกฤษ: Progressive education) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางศึกษาศาสตร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่าพิพัฒนาการนิยมเป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงความแตกต่างจากหลักสูตรแบบยุโรป–อเมริกาดั้งเดิม พิพัฒนาการนิยมทางการศึกษาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ปัจจุบัน โดยหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมจะเชื่อว่าความรู้เป็นเครื่องมือในการหาประสบการณ์และการจัดการศึกษาต้องเน้นถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียน[1] นอกจากนี้ยังเน้นให้เกิดวิธีการเรียนแบบแก้ปัญหาหรือเรียนด้วยการปฏิบัติและมีความเชื่อว่าการศึกษาคือชีวิต[2] หลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้จะพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงพื้นฐานความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก รวมไปถึงมีการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสอดแทรกในการเรียนรู้และจะเปิดโอกาสให้ลงมือทำจริง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อรรถพล อนันตวรสกุล."บทที่ 5 พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร : เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรขั้นนำ", กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (อัดสำเนา).
  2. บุญเลี้ยง ทุมทอง ,การพัฒนาหลักสูตร, (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) ISBN 9-74-032652-8
  3. "Educational Philosophies". Oregon State University. 8 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-08-04.