ข้ามไปเนื้อหา

ฟรีดริช เพาลุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์ เพาลุส
จอมพลฟรีดริช เพาลุส ในเครื่องแบบพลเอก (มิถุนายน ค.ศ. 1942)
เกิด23 กันยายน 1890
กุคส์ฮาเกิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ 1957
เดรสเดิน เยอรมนีตะวันออก
รับใช้ เยอรมนี (ถึง 1918)
 เยอรมนี (ถึง 1933)
 ไรช์เยอรมัน (ถึง 1943)
 เยอรมนีตะวันออก
ประจำการ1910 - 1943
ชั้นยศ จอมพล
บังคับบัญชากองทัพที่ 6
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จกางเขนอัศวินติดใบโอ็ค
ลายมือชื่อ

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์ เพาลุส (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Ernst Paulus; 23 กันยายน 1890 - 1 กุมภาพันธ์ 1957) เป็นจอมพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการยอมจำนนของเขาของกองทัพเยอรมันที่ 6 ในช่วงยุทธการที่สตาลินกราด (กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ถึง กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943) การสู้รบได้ยุติลงด้วยความพินาศย่อยยับสำหรับแวร์มัคท์ เมื่อกองทัพโซเวียตได้ทำการโอบล้อมเยอรมันภายในเมือง ได้นำไปสู่กองกำลังส่วนใหญ่ที่มีจำนวนถึง 265,000 นายของกองทัพที่ 6 ประเทศพันธมิตรฝ่ายอักษะ และเหล่าผู้ให้ความร่วมมือต่างต้องเผชิญหน้ากับความตายหรือถูกจับกุมในที่สุด

เพารุสได้เข้าสู้รบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแสดงให้เห็นถึงวีรกรรมในฝรั่งเศสและคาบสมุทรบอลข่าน เขาถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารที่มีแวว เมื่อถึงช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองได้ปะทุขึ้น เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งยศเป็นพลตรี เพาลุสได้มีส่วนร่วมในการรุกรานโปแลนด์และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ภายหลังจากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าเสนาธิการกองทัพบกเยอรมัน ในฐานะหน้าที่ดังกล่าว เพารุสได้ให้ความช่วยเหลือในการวางแผนการรุกรานสหภาพโซเวียต

เพารุสได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการในกองทัพที่ 6 แม้ว่าเขาจะขาดประสบการณ์ทางภาคสนามก็ตาม เขาได้รุกไปยังสตาลินกราด แต่กลับถูกตัดขาดและโอบล้อมในการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตในเวลาต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งห้ามตีฝ่าวงล้อมหรือยอมจำนน และการป้องกันของเยอรมันก็ค่อย ๆ ลดลง เพารุสได้ยอมจำนนในสตาลินกราด เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1943 ในวันเดียวกับที่ฮิตเลอร์ได้แจ้งการเลื่อนยศเป็นจอมพล ฮิตเลอร์ได้คาดหวังให้เพารุสปลิดชีวิตตนเอง เห็นได้จากการที่ไม่เคยมีจอมพลเยอรมันคนใดเคยถูกจับเป็น

ขณะที่เพสลุสอยู่ในการควบคุมตัวของสหภาพโซเวียต เพาลุสกลายมาเป็นนักวิจารณ์ระบอบนาซีและเข้าร่วมคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเยอรมนีซึ่งสหภาพโซเวียตให้การสนับสนุน ใน ค.ศ. 1953 เพารุสได้ย้ายไปยังเยอรมนีตะวันออก ซึ่งได้ทำงานในการวิจัยประวัติศาสตร์การทหาร เขาได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ของเขาในเดรสเดิน

ภูมิหลัง

[แก้]

ฟรีดริช เพาลุส เป็นบุตรของเหรัญญิก เกิดที่กุคส์ฮาเกิน (Guxhagen) และเติบโตที่คัสเซิล (Kassel)[1] ในตอนแรกเขาสมัครเข้าโรงเรียนนายเรือจักรวรรดิเยอรมัน แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมัคเดอบวร์ค เขาเรียนได้เพียงหนึ่งภาคเรียนก็ลาาอก แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 1910 สมัครเป็นนักเรียนนายร้อย (Fahnenjunker) ในกรมทหารราบที่ 111

ยศทหาร

[แก้]
  • ตุลาคม 1910 : นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • สิงหาคม 1911 : ร้อยตรี (Leutnant)
  • สิงหาคม 1915 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • กันยายน 1918 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • กุมภาพันธ์ 1929 : พันตรี (Major)
  • มิถุนายน 1933 : พันโท (Oberstleutnant)
  • มิถุนายน 1935 : พันเอก (Oberst)
  • มกราคม 1939 : พลตรี (Generalmajor)
  • สิงหาคม 1940 : พลโท (Generalleutnant)
  • มกราคม 1942 : พลเอกทหารยานเกราะ (General der Panzertruppe)
  • พฤศจิกายน 1942 : พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • มกราคม 1943 : จอมพล (Generalfeldmarschall)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Königlich Preußischer Staatsdienst-Kalender für den Regierungsbezirk Cassel auf das Jahr 1890/91. Reformirtes Waisenhaus, Cassel 1891, p. 249 (Corrections- und Landarmen-Anstalt zu Breitenau. ORKA).