ข้ามไปเนื้อหา

ฟร็องซัว ออล็องด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟร็องซัว ออล็องด์
François Hollande
ออล็องด์ใน ค.ศ. 2017
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส คนที่ 24
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2017
(4 ปี 364 วัน)
นายกรัฐมนตรีฌ็อง-มาร์ก เอโร
มานุแอล วาลส์
แบร์นาร์ กาซเนิฟว์
ก่อนหน้านีกอลา ซาร์กอซี
ถัดไปแอมานุแอล มาครง
ประธานสภาจังหวัดกอแรซ
ดำรงตำแหน่ง
20 มีนาคม ค.ศ. 2008 – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
(4 ปี 56 วัน)
ก่อนหน้าฌ็อง-ปิแยร์ ดูปองต์
ถัดไปเฌราร์ โบแนต์
เลขาธิการเอกพรรคสังคมนิยม
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
(11 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าลียอแนล ฌ็อสแป็ง
ถัดไปมาร์ทีน โอบรี
นายกเทศมนตรีประจำตูล
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2001 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2008
(7 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าเรมงด์-มักซ์ อูแบร์
ถัดไปแบร์นาร์ กงบส์
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
จังหวัดกอแรซ เขตที่ 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
(0 ปี 133 วัน)
ก่อนหน้าฟร็องซิส ดูบอยส์
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน ค.ศ. 1997 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
(14 ปี 337 วัน)
ก่อนหน้าลูเซียน เรโนดี
ถัดไปโซฟี เดอซู
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน ค.ศ. 1988 – 1 เมษายน ค.ศ. 1993
(4 ปี 282 วัน)
ก่อนหน้าเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน
แต่งตั้งเขตเลือกตั้ง
ถัดไปเรมงด์-มักซ์ อูแบร์
สมาชิกรัฐสภายุโรป
เขตฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
20 กรกฎาคม – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1999
(0 ปี 150 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์

(1954-08-12) 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954 (70 ปี)
รูอ็อง ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองพรรคสังคมนิยม
คู่อาศัย
คู่สมรสฌูลี กาแย (สมรส 2022)
บุตร4 คน
ศิษย์เก่าPanthéon-Assas University
HEC Paris
Sciences Po Paris
École nationale d'administration
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกฝรั่งเศส

ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ (ฝรั่งเศส: François Gérard Georges Nicolas Hollande, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [fʁɑ̃swa ɔlɑ̃d]; เกิด 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองชาวฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ด้วยคะแนนเสียงประมาณร้อยละ 51.90[1] เขาเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดกอแรซในช่วง ค.ศ. 1988–1993 และ ค.ศ. 1997–2012 เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมในช่วง ค.ศ. 1997–2008 เป็นประธานสภาเทศบาลกอแรซในช่วง ค.ศ. 2008–2012 รวมถึงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลในช่วง ค.ศ. 2001 – 2008 อีกด้วย

ชีวิตในวัยเด็ก

[แก้]

ออล็องด์เกิดในเมืองรูอ็องในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางคาทอลิก แม่ของเขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นหมอหู คอ จมูกที่เคยลงสมัครเป็นผู้สมัครฝ่ายขวาจัดในการเมืองท้องถิ่น เชื่อกันว่านามสกุลออล็องด์ของเขามาจากบรรพบุรุษที่หลบหนีมาจากฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ในช่วงศตวรรษที่ 16 และนำชื่อประเทศมาเป็นนามสกุล

การศึกษา

[แก้]

ออล็องด์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำแซ็งฌ็อง-บาติสต์เดอลาซาล และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการปารีส (HEC Paris), วิทยาลัยการบริหารแห่งชาติ (École nationale d'administration) และสถาบันรัฐศึกษาปารีส (Institut d'Etudes Politiques de Paris) ออล็องด์เคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เข้าทำงานในศาลตรวจสอบบัญชีแห่งฝรั่งเศสทันทีหลังจากจบการศึกษา

เส้นทางการเมืองช่วงต้น

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของฟร็องซัว มีแตร็อง ในอีก 5 ปีต่อมา ออล็องด์ได้เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมและถูกจับตามองอย่างรวดเร็วจากฌัก อาตาลีผู้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของมีแตร็อง ในปี ค.ศ. 1981 อาตาลีได้ให้ออล็องด์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกอแรซ แข่งขันกับประธานาธิบดีของฝรั่งเศสในอนาคต ฌัก ชีรัก ออล็องด์แพ้การเลือกตั้งแก่ชีรัก เขาก้าวต่อไปโดยไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษแก่ประธานาธิบดีคนใหม่ ฟร็องซัว มีแตร็อง หลังจากนั้นไปเป็นคณะทำงานให้กับโฆษกรัฐบาล หลังจากที่ออล็องด์ได้เป็นสมาชิกเทศบาล Ussel ในปี ค.ศ. 1983 ออล็องด์ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่ในปี ค.ศ. 1993 ออล็องด์ได้สูญเสียตำแหน่งผู้แทนราษฎรไปอีกครั้งในการเลือกตั้งที่ถูกเรียกว่า คลื่นสีฟ้า อันเนื่องมาจากการสูญเสียที่นั่งในสภาของพรรคสังคมนิยมให้แก่ฝ่ายขวาเป็นจำนวนมาก

เลขาธิการพรรคสังคมนิยม

[แก้]
ออล็องด์และภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ในการหาเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 2007

ในช่วงใกล้สิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง พรรคสังคมนิยมเกิดความแตกแยกภายในขึ้นเนื่องจากต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นผู้กำหนดทิศทางของพรรค ออล็องด์ได้ออกมาเรียกร้องความปรองดองและให้พรรครวมตัวเป็นหนึ่งภายใต้ ฌัก เดอลอร์ ประธานสหภาพยุโรป แต่เดอลอร์ปฏิเสธที่จะเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครเป็นประธานาธิบดี ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็ง กลับมาเป็นผู้นำพรรคอีกครั้ง ฌ็อสแป็งเลือกออล็องด์ให้เป็นโฆษกพรรคอย่างเป็นทางการ ต่อมาในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 1997 ออล็องด์กลับไปลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ อีกครั้งและประสบความสำเร็จในการกลับเข้าสภา ในปีเดียวกันนั้นเอง ฌ็อสแป็งได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส และออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่ 11 ปี โดยในช่วงระยะเวลานี้ พรรคสังคมนิยมมีตำแหน่งที่แข็งแรงในรัฐบาลฝรั่งเศส ตำแหน่งเลขาธิการพรรคของออล็องด์จึงถูกเรียกในบางครั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 2001 ออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลซึ่งเขามีวาระการดำรงตำแหน่งนี้ 7 ปี

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2002 รอบแรก พรรคสังคมนิยมพ่ายแพ้แก่ผู้สมัครฝ่ายขวาจัด ฌ็อง-มารี เลอ แปน อย่างน่าตกตะลึง ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็งตัดสินใจลาออก การลาออกทำให้ออล็องด์กลายเป็นเสมือนผู้นำของพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค.ศ. 2002 ออล็องด์สามารถจำกัดความพ่ายแพ้ไว้ได้บางส่วนโดยเขายังถูกเลือกกลับมาเป็นผู้แทนราษฎรได้ในเขตของตน แต่ผู้สมัครคนอื่น ๆ ของพรรคพ่ายแพ้ไปทั่วประเทศ ก่อนการประชุมใหญ่ประจำปี ค.ศ. 2003 ของพรรคที่จัดขึ้นในเมืองดีฌง ออล็องด์สามารถทำให้ผู้มีชื่อเสียงในพรรคหลายคนหันมาสนับสนุนตนได้ เขาจึงถูกเลือกกลับมาเป็นเลขาธิการพรรคอีกครั้ง แม้ว่าจะถูกฝ่ายซ้ายในพรรคต่อต้านก็ตาม หลังการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 ที่ฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะ ออล็องด์ถูกอ้างถึงว่าอาจเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ แต่พรรคสังคมนิยมในช่วงนั้นถูกแบ่งเป็นสองส่วนในความเห็นเรื่องการจัดตั้งธรรมนูญยุโรป ออล็องด์ซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งธรรมนูญจึงก่อให้เกิดความแตกร้าวภายในพรรค ในปี ค.ศ. 2005 เขายังคงรักษาตำแหน่งเลขาธิการพรรคไว้ได้ในการประชุมใหญ่ของพรรค แต่อำนาจของเขาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 2007 ภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสซึ่งเธอได้พ่ายแพ้ต่อนีกอลา ซาร์กอซี ในปีเดียวกัน ออล็องด์ถูกตำหนิอย่างหนักเนื่องจากผลอันย่ำแย่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี ค.ศ 2007 เขาจึงประกาศที่จะไม่ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อหมดวาระ

หลังจากที่ออล็องด์ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ เขาได้รับเลือกให้แทนที่ฌ็อง-ปีแยร์ ดูว์ปง ในตำแหน่งประธานสภาเทศบาลกอแรซซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2008 เขาสนับสนุนการให้รางวัลเอเตียน บาลูซ (Étienne Baluze) ซึ่งมอบให้บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยออล็องด์เป็นผู้ให้รางวัลนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 แก่นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เบียทริช ปาลเมโร

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

[แก้]

ออล็องด์ได้ประกาศตัวเพื่อเป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยม ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 โดยตอนแรกเขาได้มีคะแนนตามหลังนายดอมีนิก สโทรส-กาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่ภายหลังออล็องด์ได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากข่าวการกล่าวหาการลวนลามทางเพศของนายดอมีนิก สโทรส-กาน จึงทำให้เขาต้องประกาศไม่ลงชิงชัยตำแหน่งโดยปริยาย โดยภายหลังจากการอภิปรายโต้เถียงหลายครั้งผ่านทางรายการโทรทัศน์ ออล็องด์ได้คะแนนนิยมในรอบแรกถึงร้อยละ 39 เป็นอันดับที่ 1 แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จึงทำให้เขาต้องเข้าอภิปรายโต้เถียงอีกครั้งกับนางมาร์ทีน โอบรี ผู้สมัครจากพรรคเดียวกันที่ตามมาเป็นอันดับที่สอง โดยได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ 30

ในการลงคะแนนออกเสียงครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ออล็องด์ก็ได้คะแนนคะแนนเสียงถึงร้อยละ 56 ในขณะที่โอบรีได้ร้อยละ 43 จึงทำให้เขาเป็นตัวแทนของพรรคสังคมนิยม และพรรคฝ่ายซ้ายก้าวหน้า อย่างเป็นทางการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2012 โดยเขายังได้ขอแรงสนับสนุนจากสมาชิกพรรคผู้ร่วมชิงตำแหน่งของพรรคฯ เช่นกัน อาทิเช่น มาร์ทีน โอบรี, อาร์โน มงต์บูร์, มานุแอล วาลส์ และเซกอแลน รัวยาล อดีตผู้เข้าชิงของพรรคฯ ในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2007

ในวันที่ 26 มกราคม เขาได้เปิดเผยนโยบายต่าง ๆ รวมถึงกว่า 60 นโยบาย รวมถึงการขึ้นภาษีสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคาร และเศรษฐี การสร้างงานอาชีพครูกว่า 60,000 ตำแหน่ง การปรับลดอายุการเกษียณอายุจาก 62 ปีเป็น 60 ปีดังเดิม การสร้างงานทดแทนในเขตที่มีอัตราผู้ว่างงานที่อายุน้อยสูง การสนับสนุนการก่อตั้งธุรกิจขนาดใหญ่โดยการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน การออกกฎหมายเพื่อสิทธิการแต่งงานในเพศเดียวกันและสิทธิในการอุปถัมภ์ทารก รวมทั้งการถอนทหารจากอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2012

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายนีกอลา ซาร์กอซีประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยที่สอง โดยเขาได้วิจารณ์นโยบายของออล็องด์ว่าจะทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศภายในสองวันหากออล็องด์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป

ในช่วงโค้งแรกของการหาเสียง ออล็องด์ได้คะแนนนำจากการหยั่งเสียงต่าง ๆ และในที่สุดในการเลือกตั้งรอบที่ 1 เมื่อ 22 เมษายน ค.ศ. 2012 ออล็องด์ได้คะแนนนำอันดับที่หนึ่ง โดยได้คะแนนเสียงร้อยละ 28.63 โดยเขาต้องเข้าชิงคะแนนในการเลือกตั้งรอบที่สองกับนีกอลา ซาร์กอซี และในการเลือกตั้งรอบที่ 2 ออล็องด์ได้คะแนนนำเกินกึ่งหนึ่งที่ 51.70 เป็นผลให้เขาเป็นว่าที่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสคนถัดไป

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

คู่สมรสมานานกว่า 30 ปีของออล็องด์คือ เซกอแลน รัวยาล ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 4 คน คือ ตอมา เกลม็องส์ ฌูว์เลียง และฟลอรา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หนึ่งเดือนหลังการพ่ายแพ้ของรัวยาลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทั้งคู่ออกมาประกาศว่ากำลังแยกกันอยู่[2] ไม่กี่เดือนถัดมา เว็บไซต์ฝรั่งเศสแห่งหนึ่งออกมาเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างออล็องด์กับวาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ การประกาศนี้ทำให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นเนื่องจากบางคนถือว่าการเปิดเผยนี้เป็นการลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของนักการเมือง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 วาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ ออกมายืนยันในความสัมพันธ์และพูดถึงอย่างเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อ Télé 7 Jours

ผลงาน

[แก้]

ออล็องด์เขียนหนังสือและงานวิชาการหลายเล่ม ดังรายชื่อด้านล่าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.france24.com/en/france/2min/20120506-france-socialist-hollande-wins-presidential-election-sarkozy
  2. Sciolino, Elaine (19 June 2007). "French Socialists' First Couple Disclose a Parting of Ways". New York Times. p. A3. สืบค้นเมื่อ 4 December 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


ก่อนหน้า ฟร็องซัว ออล็องด์ ถัดไป
นีกอลา ซาร์กอซี
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คนที่ 24
(15 พฤษภาคม พ.ศ. 255514 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
แอมานุแอล มาครง
นีกอลา ซาร์กอซี
เจ้าผู้ร่วมครองอันดอร์รา
(ฝ่ายฝรั่งเศส)

(15 พฤษภาคม พ.ศ. 255514 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
แอมานุแอล มาครง