ภาคใต้ (ประเทศไทย)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ภาคใต้ | |
---|---|
จากซ้ายบนไปล่างขวา: พระอาทิตย์ตกที่เกาะสมุย อุทยานแห่งชาติตะรุเตา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เขื่อนรัชชประภา และตัวเมืองภูเก็ต | |
แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์โดยราชบัณฑิตยสถาน | |
เมืองใหญ่สุด | สงขลา (ฝั่งอ่าวไทย) ภูเก็ต (ฝั่งอันดามัน) |
จังหวัด | |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 73,848 ตร.กม. (28,513 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 9,497,866 คน |
• ความหนาแน่น | 130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2019) | 0.766 (สูง) [1] |
เขตเวลา | UTC+7 (Thailand) |
ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 73,848 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิวและอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
- ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
- ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
- ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำกลาย แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ ยอดเขาหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
สภาพภูมิอากาศ
[แก้]ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุด อุณหภูมิเคยสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสภา ดังนี้
ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อจังหวัด อักษรไทย |
ชื่อจังหวัด อักษรโรมัน |
จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
กระบี่ | Krabi | 469,769 | 4,708.512 | 99.77 | |
ชุมพร | Chumphon | 509,650 | 6,010.849 | 84.78 | |
ตรัง | Trang | 643,072 | 4,917.519 | 130.77 | |
นครศรีธรรมราช | Nakhon Si Thammarat | 1,557,482 | 9,942.502 | 156.64 | |
นราธิวาส | Narathiwat | 796,239 | 4,475.430 | 177.91 | |
ปัตตานี | Pattani | 709,796 | 1,940.356 | 365.80 | |
พังงา | Phang Nga | 267,491 | 4,170.895 | 64.13 | |
พัทลุง | Phattalung | 524,857 | 3,424.473 | 153.26 | |
ภูเก็ต | Phuket | 402,017 | 543.034 | 740.31 | |
ยะลา | Yala | 527,295 | 4,521.078 | 116.63 | |
ระนอง | Ranong | 190,399 | 3,298.045 | 57.72 | |
สงขลา | Songkhla | 1,424,230 | 7,393.889 | 192.62 | |
สตูล | Satun | 319,700 | 2,478.977 | 128.96 | |
สุราษฎร์ธานี | Surat Thani | 1,057,581 | 12,891.469 | 82.03 |
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งเป็นภูมิภาคย่อย ได้แก่ การแบ่งตามยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง และการแบ่งตามอุตุนิยมวิทยา แบ่งเป็น ภาคใต้ตะวันออก หรือภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคใต้ตะวันตก หรือภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยการแบ่งตามกรมอุตุนิยมวิทยา จะรวมจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้ามาด้วย
แบ่งตามยุทธศาสตร์ | แบ่งตามอุตุนิยมวิทยา | ||
---|---|---|---|
ภาคใต้ตอนบน | ภาคใต้ตอนล่าง | ภาคใต้ฝั่งตะวันออก | ภาคใต้ฝั่งตะวันตก |
สถิติประชากรแต่ละจังหวัด
[แก้]อันดับ | จังหวัด | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2558)[2] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2557)[3] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2556)[4] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2555) [5] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2554) [6] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2553) [7] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | นครศรีธรรมราช | 1,552,530 | 1,548,028 | 1,541,843 | 1,534,887 | 1,526,071 | 1,522,561 |
2 | สงขลา | 1,410,577 | 75575 | 1,389,890 | 1,378,574 | 1,367,010 | 1,357,023 |
3 | สุราษฎร์ธานี | 1,046,772 | 1,040,230 | 1,031,812 | 1,023,288 | 1,015,072 | 1,000,383 |
4 | นราธิวาส | 783,082 | 774,799 | 766,145 | 757,397 | 747,372 | 737,162 |
5 | ปัตตานี | 694,023 | 686,186 | 675,764 | 671,615 | 663,485 | 655,259 |
6 | ตรัง | 640,793 | 638,746 | 636,043 | 631,920 | 626,708 | 622,659 |
7 | พัทลุง | 522,723 | 520,419 | 518,021 | 514,492 | 511,063 | 509,534 |
8 | ยะลา | 518,139 | 511,911 | 506,138 | 500,814 | 493,767 | 487,380 |
9 | ชุมพร | 505,830 | 500,575 | 498,294 | 495,310 | 492,182 | 489,964 |
10 | กระบี่ | 462,101 | 456,811 | 450,890 | 444,967 | 44545454 | 432,704 |
11 | ภูเก็ต | 386,605 | 378,364 | 369,522 | 360,905 | 353,847 | 345,067 |
12 | สตูล | 315,923 | 312,673 | 309,793 | 305,879 | 301,467 | 297,163 |
13 | พังงา | 264,074 | 261,370 | 259,420 | 257,493 | 254,931 | 253,112 |
14 | ระนอง | 187,536 | 177,089 | 174,776 | 182,648 | 183,849 | 183,079 |
— | รวม | 9,290,708 | 9,206,223 | 9,131,425 |
เทศบาลนครในภาคใต้เรียงตามจำนวนประชากร
[แก้]- เทศบาลนครหาดใหญ่ ประชากร 159,108 คน ความหนาแน่น 7,600 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประชากร 128,106 คน ความหนาแน่น 1,857 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประชากร 106,418 คน ความหนาแน่น 4,717 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครภูเก็ต ประชากร 77,578 คน ความหนาแน่น 6,300 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครสงขลา ประชากร 67,220 คน ความหนาแน่น 7,500 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครเกาะสมุย ประชากร 63,505 คน ความหนาแน่น 270 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครยะลา ประชากร 61,232 คน ความหนาแน่น 3,200 คน ต่อ ตร.กม.
- เทศบาลนครตรัง ประชากร 60,538 คน ความหนาแน่น 4,100 คน ต่อ ตร.กม.
การศึกษา
[แก้]สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ
|
|
ประวัติศาสตร์
[แก้]บริเวณภาคใต้ตอนบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักร 3 อาณาจักร ได้แก่
บริเวณภาคใต้ตอนล่าง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเดียว ได้แก่
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
[แก้]ในภาคใต้เป็นคาบสมุทรมีเทือกเขานครศรีธรรมราชกั้นกลางระหว่างชายฝั่งทั้งสอง มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น
- อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาค ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง
- อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง จังหวัดสงขลา
- อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติบางลาง จังหวัดยะลา
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง
- อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
- อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติพังงา จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติเกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต
- อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
- อุทยานแห่งชาติสิมิลัน จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง
- อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติหาดเภตรา จังหวัดสตูล
- อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร
- อุทยานแห่งชาติกระบุรี จังหวัดระนอง
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
เขื่อน
[แก้]เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่สำคัญ ได้แก่
วัฒนธรรม
[แก้]โนรา
[แก้]โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ใน และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย
หนังตะลุง
[แก้]หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่นๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป
ภาษา
[แก้]ภาคใต้มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆสั้นๆเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซียนิยมพูดภาษายาวีหรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หรอย (อร่อย) ทำไหร (ทำอะไร) เมี้ยว. (เหมียว) มนถิน (มนทิน) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด
- รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามความหนาแน่นของประชากร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.