ข้ามไปเนื้อหา

ภูเขาไฟเมานาโลอา

พิกัด: 19°28′46″N 155°36′10″W / 19.47944°N 155.60278°W / 19.47944; -155.60278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาไฟเมานาโลอา
Mauna Loa
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงภาพเกาะฮาวาย เมานาโลอาคือภูเขาไฟสีเข้มที่ล้อมรอบด้วยเมฆที่ด้านล่างของภาพ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
13,679 ฟุต (4,169 เมตร) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
7,079 ฟุต (2,158 เมตร) [1]
รายชื่อ
พิกัด19°28′46″N 155°36′10″W / 19.47944°N 155.60278°W / 19.47944; -155.60278
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟเมานาโลอาตั้งอยู่ในรัฐฮาวาย
ภูเขาไฟเมานาโลอา
แผนที่รัฐฮาวายแสดงตำแหน่งภูเขาไฟ
ที่ตั้งสหรัฐอเมริกา รัฐฮาวาย สหรัฐ
เทือกเขาหมู่เกาะฮาวาย
แผนที่ภูมิประเทศUSGS Mauna Loa
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน700,000–1 ล้านปี[2]
ประเภทภูเขาภูเขาไฟรูปโล่
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟสายภูเขาใต้ทะเลฮาวาย-เอ็มเพเรอร์
การปะทุครั้งล่าสุดมีนาคม–เมษายน ค.ศ. 1984[2]
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกยุคโบราณ
เส้นทางง่ายสุดไอนาโปเทรล (Ainapo Trail)

ภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในฮาวาย สหรัฐอเมริกา จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เกิดการระเบิดทุกๆ 3 ปีครึ่ง การระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2527 [3]

เมานาโลอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า Long Mountain เป็นภูเขาไฟที่มีปริมาตรประมาณ 18,000 คิวบิกไมล์ (75,000 km³) [4] เมื่อประกอบกับภูเขาไฟอีก 4 ลูกคือคีเลาเวอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไลรวมเป็นเกาะฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอามีเนื่อที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอาจะระเบิดทุก ๆ 3 ปีครึ่ง

ยอดเขาเมานาโลอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 4,170 เมตร เป็นอันดับสองของเกาะฮาวายรองจากยอดเขาเมานาเคอาซึ่งสูงกว่าประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) แต่เมื่อวัดความสูงจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในโลกคือจะสูงกว่า 9 กิโลมตรและสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์

ภูมิอากาศ

[แก้]

เมานาโลอามีภูมิอากาศแบบเขตร้อน ตลอดทั้งปีที่ระดับความสูงน้อยจะมีอากาศอบอุ่น แต่ที่ระดับความสูงมากขึ้นจะมีอากาศเย็นจนถึงหนาว ตารางด้านล่างแสดงอุณหภูมิที่วัดที่หอสังเกตการณ์ที่ลาดเขา ที่อยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตรในเขตแอลป์ อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 85 °F (29 °C) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และต่ำสุดคือ 18 °F (−8 °C) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของหอสังเกตการณ์ลาดเขาเมานาโลอา (2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °F (°C) 67
(19.4)
85
(29.4)
65
(18.3)
67
(19.4)
68
(20)
71
(21.7)
70
(21.1)
68
(20)
67
(19.4)
66
(18.9)
65
(18.3)
67
(19.4)
85
(29.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F (°C) 49.8
(9.89)
49.6
(9.78)
50.2
(10.11)
51.8
(11)
53.9
(12.17)
57.2
(14)
56.4
(13.56)
56.3
(13.5)
55.8
(13.22)
54.7
(12.61)
52.6
(11.44)
50.6
(10.33)
53.24
(11.801)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F (°C) 33.3
(0.72)
32.9
(0.5)
33.2
(0.67)
34.6
(1.44)
36.6
(2.56)
39.4
(4.11)
38.8
(3.78)
38.9
(3.83)
38.5
(3.61)
37.8
(3.22)
36.2
(2.33)
34.3
(1.28)
36.21
(2.338)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °F (°C) 19
(-7.2)
18
(-7.8)
20
(-6.7)
24
(-4.4)
27
(-2.8)
28
(-2.2)
26
(-3.3)
28
(-2.2)
29
(-1.7)
27
(-2.8)
25
(-3.9)
22
(-5.6)
18
(−7.8)
หยาดน้ำฟ้า นิ้ว (มม) 2.3
(58)
1.5
(38)
1.7
(43)
1.3
(33)
1.0
(25)
0.5
(13)
1.1
(28)
1.5
(38)
1.3
(33)
1.1
(28)
1.7
(43)
2.0
(51)
17
(432)
ปริมาณหิมะ นิ้ว (ซม) 0.0
(0)
1.0
(2.5)
0.3
(0.8)
1.3
(3.3)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
1.0
(2.5)
3.6
(9.1)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 4 5 6 5 4 3 4 5 5 5 5 4 55
แหล่งที่มา: NOAA[6]

หอสังเกตการณ์

[แก้]
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่วัดที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา

เมานาโลอาเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศโดยโครงการเฝ้าติดตามบรรยากาศโลกและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์แห่งเมานาโลอา (MLSO) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,400 เมตรบนลาดเขาทางทิศเหนือ มีบทบาทสำคัญในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ขณะที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา โดยองค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน และอยู่ห่างไกลจากกิจกรรมของมนุษย์ในท้องถิ่น ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศของโลก รวมถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการตรวจวัดถูกปรับเปลี่ยนเพื่ออธิบายการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟ[7] และยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น Array for Microwave Background Anisotropy (AMIBA) ที่เริ่มสำรวจหาต้นกำเนิดจักรวาลมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 หรือหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟแห่งฮาวายที่ตรวจวัดแผ่นดินไหวและถ่ายภาพกิจกรรมบนปล่อง Mokuʻāweoweo[8]

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Mauna Loa, Hawaii". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
  2. 2.0 2.1 "Mauna Loa: Earth's Largest Volcano". Hawaiian Volcano ObservatoryUnited States Geological Service. 2 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
  3. Rubin, Ken (2004). "Mauna Loa eruption history". Hawaii Center for Volcanology. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Kaye, G.D. (2002). "Using GIS to estimate the total volume of Mauna Loa Volcano, Hawaii". 98th Annual Meeting. Geological Society of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
  5. "Period of Record General Climate Summary - Temperature". MAUNA LOA SLOPE OBS, HAWAII. NOAA. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
  6. "Period of Record Monthly Climate Summary". MAUNA LOA SLOPE OBS, HAWAII. NOAA. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
  7. Rhodes, J.M. and Lockwood, J. P. (editors), (1995) Mauna Loa Revealed: Structure, Composition, History, and Hazards, Washington D.C., American Geophysical Union Monograph 92, page 95
  8. "Live panorama of Mokuaweoweo". United States Geological Survey, Hawaii Volcanoes Observatory web site. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]