มุนาฟิก
หน้าตา
เป็นส่วนหนึ่งของ |
อิสลามและอีมาน |
---|
บุคคล |
กลุ่ม |
|
คำศัพท์ |
|
ในศาสนาอิสลาม มุนาฟิกูน ('พวกหน้าไหว้หลังหลอก', อาหรับ: منافقون, เอกพจน์ منافق มุนาฟิก) หรือ มุสลิมจอมปลอม เป็นกลุ่มคนในอัลกุรอานที่ถูกกล่าวว่าเป็นมุสลิมแค่ภายนอก แต่ในใจปฏิเสธและวางแผนทำลายสังคมมุสลิม[1] มุนาฟิกเป็นบุคคลที่สาธารณะและสังคมมองว่าเขาเป็นมุสลิม แต่ปฏิเสธอิสลาม หรือเผยแพร่ความเกลียดชังต่ออิสลามทั้งในใจและศัตรูของอิสลาม. การเสแสร้งถูกเรียกว่า นิฟาก (نفاق)[2]
ประเภทของการเสแสร้ง
[แก้]- เสแสร้งต่อพระเจ้าตามหลักศรัทธาที่แท้จริง ตามรายงานในอัลกุรอานซูเราะฮ์ที่ 2:8 และ 2:14
- เสแสร้งต่อหลักคำสอนของหลักศรัทธา: ตัวอย่างเช่น บางคนอาจศรัทธาต่อพระเจ้า, วันพิพากษา, การสอบสวน, ตาชั่งความดีความชั่ว และนรก (ด้วยความคลุมเครือและสงสัย) แต่ (ในความจริงแล้ว) ไม่กลัวเลยหรือหยุดทำบาปเพราะมัน แต่ยังคงอ้างว่า "ฉันกลัวพระเจ้า"
- เสแสร้งต่อผู้อื่น: บางคนที่เป็นพวกสองหน้าและลิ้นสองแฉก. เขาสรรเสริญใครสักคนต่อหน้า แต่ลับหลังเขาประณามและสร้างความเจ็บปวดแก่พวกเขา"
มุนาฟิกในอัลกุรอาน
[แก้]ในอัลกุรอาน หลายอายะฮ์ได้กล่าวถึง มุนาฟิกูน ไว้ว่า พวกมันอันตรายต่อมุสลิมยิ่งกว่าผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ชั่วร้ายที่สุด
พฤติกรรมของพวกมุนาฟิกตามรายงานฮะดีษ
[แก้]ฮะดีษในอิสลามคือบันทึกคำพูด, การกระทำ และการยอมรับของศาสดามุฮัมมัด ฮะดีษถูกกล่าวว่าเป็น "กระดูกสันหลัง" ของอารยธรรมอิสลาม[3] ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวถึงพฤติกรรมบางประการของพวกหน้าไหว้หลังหลอกทั้งการกระทำและอีมาน/หลักศรัทธาไว้ว่า
- อับดุลลอฮ์ อิบน์ อัมร์ อิบน์ อัลอาส รายงานว่าศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า: สี่พฤติกรรมนี้ใครที่ทำอยู่ จะเป็นส่วนหนึ่งของพวกหน้าไหว้หลังหลอก (มุนาฟิก) และใครก็ตามที่มีหนึ่งในพฤติกรรมเหล่านั้น จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของพวกหน้าไหว้หลังหลอก จนกว่าเขาจะละทิ้งมัน:
- เมื่อเขาพูด เขาก็จะโกหก
- เมื่อเขาสัญญา เขาก็จะละเมิดสัญญา
- เมื่อเขาทำข้อตกลง เขาจะหักหลัง และ
- เมื่อเขาถกเถียง เขาจะเบี่ยงเบนออกจากความจริง[4][5][6][7][8][9]
- รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า "สัญลักษณ์ของพวกมุนาฟิกมีสามข้อ:
- เมื่อใดที่เขาพูด เขาก็จะโกหก.
- เมื่อใดที่เขาสัญญา เขาจะละเมิดสัญญา
- ถ้าคุณเชื่อเขา เขาจะถูกยืนยันว่าไม่สุจริต. (ถ้าคุณฝากบางอย่างแก่เขา เขาจะไม่ให้คุณกลับ)" ในบางรายงานได้เพิ่มเติมว่า: "ถึงแม้ว่าเขาจะถือศีลอด ละหมาด และกล่าวว่าตนเองเป็นมุสลิมก็ตาม"[10][11]
- รายงานจากอับดุลเลาะฮ์ อิบน์ อุมัร: ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า "ผู้ศรัทธากินแค่ลำไส้เดียว (พอใจกับอาหารเพียงเล็กน้อย) และกาฟิร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา) หรือมุนาฟิกกินถึงเจ็ดลำไส้ (กินมากเกินไป).[12]
- อบูอุมามะฮ์ อัลบาฮิลีรายงานว่า ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า: "อัลฮะยาอ์ (ความพอประมาณ) และอัลอีย์ (พูดสั้น, ย่อ และไม่พูดมาก) เป็นสองกิ่งแห่งความศรัทธา และอัลบะซา (หยาบคาย) และอัลบะยาน (พูดมาก) เป็นสองกิ่งแห่งความเสแสร้ง"[13][14]
- มันถูกรายงานว่า ซิรร์กล่าวว่า: อะลีได้กล่าวว่า: "ท่านศาสดาผู้ไม่รู้หนังสือ (มุฮัมมัด) ได้ให้ข้อตกลงว่า ไม่มีใครรักฉันเว้นแต่จะเป็นผู้ศรัทธา และไม่มีใครเกลียดฉันเว้นแต่จะเป็นมุนาฟิก"[15][16][17][18]
- รายงานจากอะนัส บิน มาลิก: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า "ความรักของชาวอันซอรเป็นสัญญาณแห่งความศรัทธา และความเกลียดชังของชาวอันซอรเป็นสัญญาณแห่งความเสแสร้ง"[19][20][21]
- รายงานจากอิบน์อุมัรว่า :ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า: "อุปมาของพวกมุนาฟิกนั้น คือแกะที่ลังเลอยู่ระหว่างฝูงแกะสองฝูง บางครั้งมันตามฝูงหนึ่ง และบางครั้งมันก็ตามอีกฝูงหนึ่ง โดยมันไม่รู้ว่าจะตามฝูงไหนกันแน่"[22]
- อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า: อุปมาของผู้ศรัทธาคือรวงข้าว (ที่ยืนต้น) ซึ่งโน้มลงตามลมที่พัดจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง... ส่วนอุปมาของมุนาฟิกคือต้นไซเปรสที่ไม่ยอมขยับจนกระทั่งมันล้มแบบถอนรากถอนโคน[23][24]
- มีรายงานว่าท่านศาสดาได้กล่าวว่า: "หญิงใดก็ตามที่แสวงหาการหย่าร้างและคุลอ์ เธอก็จะเหมือนกับมุนาฟิกหญิง" [25][26]
ดูเพิ่ม
[แก้]- กาฟิร
- ลัทธิชาบัก (Shabakism)
- ตะกียา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nisan, Mordechai (5 July 2017). Politics and War in Lebanon: Unraveling the Enigma. Routledge. p. 243. ISBN 9781351498333.
- ↑ Lamptey, Jerusha Tanner (15 January 2016). Never Wholly Other: A Muslima Theology of Religious Pluralism. Oxford University Press. pp. 134–135. ISBN 9780190458010.
- ↑ J.A.C. Brown, Misquoting Muhammad, 2014: p.6
- ↑ สุนัน อบูดาวูด 4688 In-book reference : Book 42, Hadith 93 English translation : Book 41, Hadith 4671
- ↑ รียาด อัสซาลีฮีน Book 2, Hadith 690
- ↑ รียาด อัสซาลีฮีน Book 18, Hadith 1584
- ↑ ญามิอ์ อัตติรมีซี In-book reference : Book 40, Hadith 27 English translation : Vol. 5, Book 38, Hadith 2632
- ↑ ซอฮิฮ์ มุสลิม 58 In-book reference : Book 1, Hadith 116 USC-MSA web (English) reference : Book 1, Hadith 111 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี 34 In-book reference : Book 2, Hadith 27 USC-MSA web (English) reference : Vol. 1, Book 2, Hadith 34 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี 33 In-book reference : Book 2, Hadith 26 USC-MSA web (English) reference : Vol. 1, Book 2, Hadith 33 (deprecated numbering scheme)
- ↑ รียาด อัสซาลีฮีน Book 2, Hadith 689 ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี และซอฮิฮ์ มุสลิม
- ↑ ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี 5394 In-book reference : Book 70, Hadith 22 USC-MSA web (English) reference : Vol. 7, Book 65, Hadith 306 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ญามิอ์ อัตติรมีซี 2027 In-book reference : Book 27, Hadith 133 English translation : Vol. 4, Book 1, Hadith 2027
- ↑ มิชกัต อัลมะซาบิฮ์ 4796
- ↑ สุนัน อันนาซาอี 5018 In-book reference : Book 47, Hadith 34 English translation : Vol. 6, Book 47, Hadith 5021
- ↑ ซอฮิฮ์ มุสลิม 78 In-book reference : Book 1, Hadith 146 USC-MSA web (English) reference : Book 1, Hadith 141 (deprecated numbering scheme)
- ↑ สุนัน อัตติรมีซี English reference : Vol. 1, Book 46, Hadith 3736 Arabic reference : Book 49, Hadith 4101
- ↑ สุนัน อิบน์มาญะฮ์ English reference : Vol. 1, Book 1, Hadith 114 Arabic reference : Book 1, Hadith 119
- ↑ ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี 17 In-book reference : Book 2, Hadith 10 USC-MSA web (English) reference : Vol. 1, Book 2, Hadith 17 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ซอฮิฮ์ อัล-บุคอรี 3784 In-book reference : Book 63, Hadith 9 USC-MSA web (English) reference : Vol. 5, Book 58, Hadith 128 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ซอฮิฮ์ มุสลิม 74 b In-book reference : Book 1, Hadith 142 USC-MSA web (English) reference : Book 1, Hadith 137 (deprecated numbering scheme)
- ↑ สุนัน อันนาซาอี 5037 In-book reference : Book 47, Hadith 53 English translation : Vol. 6, Book 47, Hadith 5040
- ↑ ซอฮิฮ์ มุสลิม 2809 a In-book reference : Book 52, Hadith 46 USC-MSA web (English) reference : Book 39, Hadith 6742 (deprecated numbering scheme)
- ↑ ซอฮิฮ์ มุสลิม 2810 b In-book reference : Book 52, Hadith 49 USC-MSA web (English) reference : Book 39, Hadith 6745 (deprecated numbering scheme)
- ↑ สุนัน อันนาซาอี จากอัยยูบ, จากอัลฮะซัน, จากอบูฮุร็อยเราะฮ์, 3461 In-book reference : Book 27, Hadith 73 English translation : Vol. 4, Book 27, Hadith 3491
- ↑ สุนัน อัตติรมีซี from Thawban 1186 In-book reference : Book 13, Hadith 13 English translation : Vol. 2, Book 8, Hadith 1186