ข้ามไปเนื้อหา

รักบี้ยูเนียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รักบี้ยูเนียน (อังกฤษ: rugby union) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รักบี้ (rugby) เป็นกีฬาประเภททีมที่ต้องปะทะกัน เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น 15 คน ซึ่งกีฬานี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19[1]

ประวัติ

[แก้]

รักบี้ เป็นกีฬาที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โรงเรียนรักบี้ ที่เมืองรักบี้ ในวอริกเชียร์ ประเทศอังกฤษ ที่เป็นจุดกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ โดยเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1825 ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างโรงเรียน เมื่อมีเด็กนักเรียนคนหนึ่งชื่อ วิลเลียม เวบบ์ เอลลิส เกิดความคิดนอกกรอบขึ้นมาว่าทำไมฟุตบอลจึงต้องเล่นด้วยเท้าเท่านั้น จึงหยิบลูกฟุตบอลขึ้นมาอุ้มและวิ่งเข้าประตู ทั้ง ๆ ที่อยู่ในระหว่างการแข่งขัน เอลลิสจึงถูกลงโทษอย่างหนัก แต่นั่นก็ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของกีฬารักบี้เป็นต้นมา

ในปี ค.ศ. 1895 ได้มีการขัดแย้งกันระหว่างสโมสรรักบี้ในภาคเหนือและภาคใต้ของอังกฤษ โดยสโมสรในภาคเหนือซึ่งเป็นส่วนใหญาช่มาจากชนชั้นแรงงานมีความต้องการจะสร้างพวกตนเป็นสโมสรอาชีพ ในขณะที่สโมสรจากภาคใต้ที่ผู้เล่นส่วนใหย่มีฐานะร่ำรวยต้องการจะคงสถานะสมัครเล่นต่อไป ทำให้สโมสรจากภาคเหนือได้ตั้งองค์กรควบคุมรักบี้แยกเป็นของตนเองในชื่อ รักบี้ฟุตบอลลีก พร้อมกับได้มีการปรับเปลี่ยนกฎโดยหวังว่าจะดึงดูดผู้ชมให้มากขึ้น ทำให้นับตั้งแต่นั้นมารักบี้ไก้ถูกแบ่งแยกกลายเป็นสองก๊ฬา โดยรักบี้ที่เล่นภายใต้กฎเดิมในภาคใต้จะถูกเรียกว่า รักบี้ยูเนียน ในขณะที่รักบี้ในกฎใหม่ที่นิยมภาคเหนือจะถูกเรียกว่า รักบี้ลีก

หลังจากนั้นรักบี้ฟุตบอลยูเนียนก็ได้ออกกฎห้ามไม่ให้สโมสรรักบี้ยูเนียนจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้เล่น และห้ามไม่ให้นักรักบี้ลีกมาเล่นรักบี้ยูเนียน แม้ว่าจะมีข้อกล่าวหาว่ามีนักรักบี้ยูเนียนบางคนแอบรับค่าตอบแทน กฎเหล่านี้ยังคงถูกบังคับใช้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 เมื่อได้มีการประกาศจากเวิลด์รักบี้ว่ายอมรับในการทำให้รักบี้ยูเนียนกลายเป้นกีฬาอาชีพ

ในปี ค.ศ. 1987 ได้มีการจัดรักบี้ชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก

ในปัจจุบันรักบี้ยูเนียนเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากกว่า ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกรวมถึงประเทศไทย เมื่อมีการใช้คำว่า “รักบี้“ ก็มักจะหมายถึงรักบี้ยูเนียน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Origins of Rugby – Codification "The innovation of running with the ball was introduced some time between 1820 and 1830."". Rugbyfootballhistory.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • International Rugby Board – เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสมาพันธ์กีฬา
  • Rugby Data – สถิติรักบี้ยูเนียน
  • Planet Rugby – ข่าว, กำหนดการ, รายการงานแข่งขัน, และอื่นๆ
  • ESPN Scrum.com – ข่าว, รายงานการแข่งขัน และ ฐานข้อมูลสถิติ