ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสภานิวซีแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภานิวซีแลนด์

New Zealand Parliament (อังกฤษ)
Pāremata Aotearoa (มาวรี)
สมัยที่ 53
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบสภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหาร
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ตั้งแต่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022
เดม ซินดี้ คิโระ
ตั้งแต่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2021
ประธานรัฐสภา
เจอร์รี่ บราวน์ลี, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์
ตั้งแต่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2023
คริส ฮิปกินส์, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์
ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017
โครงสร้าง
สมาชิก120 ที่นั่ง
NZ_House_of_Representatives_November_2020_Map.png
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (65)
  •   พรรคแรงงาน (65)

ฝ่ายพรรคร่วม (10)

  •   พรรคกรีน (10)[note 1]

ฝ่ายค้าน (33)

  •   พรรคชาตินิวซีแลนด์ (33)

ฝ่ายอิสระ (12)

  •   พรรค ACT (10)
  •   พรรคเมารี (2)
การเลือกตั้ง
แบบสัดส่วนผสมบัญชีปิด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
17 ตุลาคม 2020
ที่ประชุม
Parliament House, Wellington, New Zealand (79).JPG
อาคารรัฐสภา (Parliament House)
นิวซีแลนด์ เวลลิงตัน
เว็บไซต์
www.parliament.govt.nz

รัฐสภานิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand Parliament, มาวรี: Pāremata Aotearoa) เป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวของประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วยสมเด็จพระราชินีนาถแห่งนิวซีแลนด์ (รัฐสภากษัตริย์) และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้สำเร็จราชการ (governor-general) สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์[2] ก่อนปีค.ศ. 1951 เคยมีสภาสูง คือ คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อังกฤษ: Legistrative Council) รัฐสภานิวซีแลนด์ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1854 และเป็นหนึ่งในสภานิติบัญญัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน[3] ที่ทำการรัฐสภาตั้งอยู่นครเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ค.ศ. 1865

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 120 คน โดยจำนวนอาจมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีมีที่นั่งส่วนขยาย (overhang seats) โดยมีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 72 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเขตละหนึ่งคน และที่เหลือเป็นสมาชิกแบบบัญชีรายชื่อซึ่งจัดสรรปันส่วนจากคะแนนเสียงของพรรคต่อคะแนนรวมทั้งหมด ชาวมาวรีเริ่มมีผู้แทนในรัฐสภาตั้งแต่ปีค.ศ. 1867 และในปีค.ศ. 1893 สตรีได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง รัฐสภามีวาระครั้งละสามปี โดยสามารถเลือกตั้งได้ล่วงหน้าในกรณีมีการยุบสภา

รัฐสภานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) และรัฐมนตรีต่างๆ โดยตามหลักการของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ รัฐมนตรีนั้นจะต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา และจะต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา

ทั้งพระมหากษัตริย์ (พระองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3) และผู้สำเร็จราชการ จะไม่มีส่วนร่วมในขั้นตอนนิติบัญญัติ ยกเว้นแต่การลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้ร่างกฎหมายที่ผ่านการรับรองโดยรัฐสภาตราเป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ผู้สำเร็จราชการมีบทบาทและอำนาจตรงในการเรียกประชุมรัฐสภา และยุบสภา โดยในกรณีนี้จะมีอำนาจให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ได้

หมายเหตุ

[แก้]
  1. พรรคกรีนนั้นร่วมมือกับพรรคแรงงาน "แต่ไม่อยู่ในระดับเดียวกับพรรคร่วมรัฐบาล หรือระดับข้อตกลงหนุนรัฐบาล"[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Greens officially sign on to join Government with Labour". 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  2. McLean, Gavin (28 September 2016). "Governors and governors-general – Constitutional duties". Te Ara: The Encyclopedia of New Zealand. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  3. Martin, John E. (17 February 2015). "Parliament". Te Ara: The Encyclopedia of New Zealand. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.