ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์กก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์กก
ดอกของ Cyperus polystachyos
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
เคลด: Commelinids
Commelinids
อันดับ: อันดับหญ้า
วงศ์: วงศ์กก

Juss.[1]
สกุล

88, ดูข้างล่าง[2]

พืชวงศ์กก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperaceae) เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสปีชีส์ที่เป็นที่รู้จัก 5,500 ชนิดในประมาณ 90 สกุล[3][4]

สปีชีส์นี้แพร่กระจายพันธุ์ทั่วโลก โดยมีศูนย์กลางความหลากหลายที่แถบเขตร้อนในเอเชียและอเมริกาใต้ ในขณะที่บางส่วนพบในเกือบทุกสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือบริเวณที่มีดินแย่ ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดนำมาทำเครื่องจักสานได้อย่าง เสื่อ กระจาด กระเช้า หมวก เช่นกกชนิด Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

กกมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบ บางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือ ดอกแต่ละดอกจะมีกาบช่อย่อยห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหลเลื้อยไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นที่ตัน โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบห่อหุ้มลำต้นและไม่มีลิ้นใบ

ช่อดอกกกจะเกิดที่ปลายลำต้นเป็นหลายแบบ เช่น ช่อแยกแขนง, ช่อซี่ร่ม หรือ ช่อเชิงลด และมีดอกขนาดเล็กเป็นทั้งดอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เพศ โดยมีดอกรวมเรียกว่าช่อดอกย่อย ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยหนึ่งหรือหลายดอก แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ ส่วนกลีบดอกนั้นไม่มีหรืออาจมีแต่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเกล็ด หรือขนแข็งเล็ก ๆ ในดอกกกจะมีเกสรเพศผู้แยกกันอยู่ ส่วนเกสรเพศเมียจะมีก้านแยกเป็นสอง-สามแฉก หรือบางครั้งแยกเป็นสอง-สามเส้น และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก ภายในมีห้องเดียวและมีหนึ่งเมล็ด

สกุล

[แก้]
Carex spissa
Cladium mariscus
Cyperus diffusus
Dulichium arundinaceum
Eriophorum scheuchzeri

ข้อมูลเมื่อ 2020 Plants of the World Online ของสวนพฤกษศาสตร์คิวยอมรับเพียง 88 สกุล:[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
  2. 2.0 2.1 "Cyperaceae". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
  3. Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. Magnolia Press. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.
  4. R. Govaerts; D. A. Simpson; with J. Bruhl; T. Egorova; P. Goetghebeur; K. Wilson (2007). Word Checklist of Cyperaceae: Sedges. Royal Botanic Gardens, Kew. ISBN 978-1-84246-199-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • จเร สดากร. ข่าวกองพฤกษศาสตร์และวัชพืช. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2538, กรมวิชาการเกษตร.