ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:อภิธานศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้แสดงอภิธานศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย ทั้งที่เป็นคำเติมและย่อ เพื่อให้เข้าใจข้อเขียนต่าง ๆ ในโครงการนี้

ก-ณ

[แก้]
กระบะทราย
ดู ทดลองเขียน
กรุ
หน้าย่อยของหน้าอภิปรายที่การอภิปรายบางส่วนถูกนำไปเก็บไว้ เพื่อลดขนาดของหน้าอภิปราย จุดประสงค์ไว้อ้างอิง โดยไม่มีการแก้ไขอีก (อ. Archive)
กล่องข้อมูล
แม่แบบแสดงข้อมูลอย่างย่อโดยปรากฏทางขวาของหน้าบทความ ใช้กับบทความแต่ละชนิดที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่นพืช สัตว์ สารเคมี ศิลปิน ผู้นำประเทศ ฯลฯ (อ. Infobox)
กล่องนำทาง
แม่แบบรวมรายการเชื่อมโยงหัวข้อประเภทเดียวกันที่ท้ายบทความ (อ. Navigation box, Navbox)
กล่องสืบตำแหน่ง
แม่แบบที่แสดงสถานภาพหรือตำแหน่งบางอย่างของบุคคลหรือสิ่ง พร้อมทั้งบุคคลหรือสิ่งก่อนหน้าและถัดไปที่มีสถานภาพหรือตำแหน่งนั้น สามารถซ้อนกันหลายชั้นได้ ใส่ที่ท้ายบทความ
ก่อกวน
การเติมแต่ง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบ ข้อความในวิกิพีเดียโดยเจตนาให้เกิดความเสียหายแก่บทความ หน้าอื่น หรือผู้ใช้คนอื่น (อ. Vandalism)
การกระทำ
การทำงานหนึ่ง ๆ (อ. Action)
กึ่งล็อก
การห้ามไม่ให้ผู้ใช้ใหม่และผู้ใช้ไม่ได้ล็อกอินแก้ไขบทความหรือหน้าใดหน้าหนึ่ง ดูเพิ่มที่ ล็อก
เกรียน
ผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมรังควาน ชอบสร้างความขัดแย้ง (อ. Troll)
เก็บกวาด
การปรับแต่งข้อมูลจิปาถะให้เข้ากับรูปแบบบรรทัดฐานของสารานุกรม
แก้ไขชนกัน
ปรากฏเมื่อแก้ไขหน้าหนึ่ง แต่ระหว่างนั้นมีคนอื่นแก้ไขและสำเร็จการแก้ไขนั้น การแก้ไขทีหลังไม่มีผล แต่ตัวแก้ไขพยายามผสานการแก้ไขของเขากับการแก้ไขก่อนหน้า (อ. Edit conflict)
แก้ไขเล็กน้อย
การแก้ไขที่ผู้เขียนเชื่อว่าไม่ต้องตรวจทาน และไม่อาจเป็นหัวข้อการถกเถียงได้
แก้ความกำกวม, แก้กำกวม
หน้าอธิบายคำที่มีความหมายหลายอย่าง และมีลิงก์ทางเลือกไปยังบทความที่ผู้อ่านต้องการ
ข้อความต้นแบบ
ข้อความมาตรฐานที่สามารถเพิ่มลงในบทความโดยใช้แม่แบบ
คณะอนุญาโตตุลาการ
(ย่อ: คอต.) องค์คณะอันประกอบด้วยผู้ใช้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการวิกิพีเดีย ในการนี้ คอต. มีอำนาจทำคำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้ ซึ่งมักเป็นข้อพิพาทด้านพฤติกรรมอันร้ายแรงถึงขนาดที่ชุมชนไม่อาจระงับได้ ปัจจุบันไม่มีประชุม
ใคร
สาเหตุการแจ้งลบหรือแจ้งให้ปรับปรุงเนื่องจากบุคคลที่เป็นหัวเรื่องของบทความไม่ผ่านเกณฑ์ความสำคัญ
ความโดดเด่น, ความสำคัญ, เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
สภาวะที่ทำให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมีบทบาทเหมาะสมสำหรับบรรจุไว้ในสารานุกรม เช่นการอ้างถึงโดยสื่ออื่น รางวัลระดับชาติหรือนานาชาติที่ได้รับ (อ. Notability)
ผลต่าง
ความแตกต่างระหว่างสองรุ่นของหน้า แสดงโดยใช้คุณลักษณะประวัติหน้า หรือจากปรับปรุงล่าสุด (อ. Diff)
คอมมอนส์, วิกิมีเดียคอมมอนส์
โครงการศูนย์รวบรวมแฟ้มสื่อเสรี สามารถนำไปใช้ได้กับโครงการอื่นทุกโครงการของวิกิมีเดีย
โครง
บทความที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่ได้วางโครงร่างให้ผู้อื่นหรือตนเองเขียนต่อ
โครงการวิกิ
กลุ่มผู้เขียนวิกิพีเดียที่ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาบทความบางกลุ่มโดยเฉพาะ
โฆษณา
  • เนื้อหาที่แสดงออกถึงการชักจูง ชักชวน โน้มน้าวให้เชื่อ ให้เปลี่ยนความเชื่อหรือความคิด หรือใช้ถ้อยคำฟุ้งเฟ้อ
  • ประกาศหรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการของวิกิมีเดีย โดยใช้วิกิพีเดียเป็นสื่อกลาง
ชอบธรรม
การใช้งานเนื้อหาหรือสื่ออันมีลิขสิทธิ์ด้วยสิทธิจำกัด (ตามกฎหมายของสหรัฐ) (อ. Fair-use)
ชื่อหน้า
ชื่อที่ระบุหน้าหรือบทความหนึ่ง ๆ โดยไม่ซ้ำกัน

ด-ม

[แก้]
ดาวเกียรติยศ
รางวัลสำหรับยกย่องผู้ใช้วิกิพีเดียเกี่ยวกับการสร้างผลงานหรือการมีส่วนร่วมดีเด่น มอบโดยผู้ใช้ด้วยกันเอง (อ. Barnstar)
ต้นฉบับ, งานต้นฉบับ
เนื้อหาที่วิจัยหรือปรุงแต่งขึ้นเองโดยผู้เขียนวิกิพีเดีย บ่อยครั้งที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงรองรับ
ตัวกรองการละเมิดกฎ
ซอฟต์แวร์อัตโนมัติในการวิเคราะห์พฤติกรรมของการกระทำทั้งหมด
ทดลองเขียน
คือหน้าที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้ตามต้องการสำหรับทดลองเขียน ในอดีตใช้คำว่า กระบะทราย (อ. Sandbox)
ทำหน้าว่าง
ลบข้อความทั้งหมดออกจากหน้า อาจเป็นการกระทำโดยบังเอิญ หรือเป็นการก่อกวนก็ได้ หากต้องการลบ ควรแจ้งลบแทน
นโยบาย
ระเบียบข้อตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับวิกิพีเดีย
เนมสเปซ
การแบ่งกลุ่มของหน้าต่าง ๆ ตามหน้าที่ในโครงการ เช่น "บทความ" "ผู้ใช้" "แม่แบบ" "โครงการ"
เนมสเปซหลัก, สเปซหลัก
เนมสเปซบทความอย่างเดียว
เนื้อหาเสรี
งานสาธารณสมบัติและงานที่ไม่มีข้อจำกัดเสรีภาพของบุคคลในการ
  • ใช้เนื้อหาและได้ประโยชน์จากการใช้เนื้อหา
  • ศึกษาเนื้อหาและใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้
  • สร้างและจำหน่ายสำเนาของเนื้อหา
  • เปลี่ยนแปลงและพัฒนาเนื้อหาและจำหน่ายงานดัดแปลงเหล่านี้
แนวปฏิบัติ
คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติเมื่อเกิดพันธกรณีที่เกี่ยวข้อง
บทความ
หน้าของสารานุกรมที่อยู่ในเนมสเปซหลัก
บทความคัดสรร
บทความที่ได้รับคัดเลือกว่าดีที่สุดทั้งในแง่รูปแบบและความสมบูรณ์ของเนื้อหา
บทความคุณภาพ
บทความที่ได้รับคัดเลือกว่าเขียนดีในแง่รูปแบบบรรทัดฐาน เหมาะสำหรับเป็นตัวอย่าง
บล็อก
การห้ามไม่ให้ผู้ใช้รายหนึ่งใช้งานวิกิพีเดีย สามารถกระทำได้เฉพาะผู้ดูแลระบบ (ทุกระดับ) สาเหตุของการบล็อกอาจเกิดจากการก่อกวนของผู้ใช้
บอต, โรบอต
โปรแกรมอัตโนมัติสำหรับงานซ้ำซากจำเจ
บาเบล
ป้ายแสดงความสามารถทางภาษาของผู้ใช้
ประวัติ, ประวัติการแก้ไข
  • รายการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของบทความหรือหน้าใดหน้าหนึ่ง ซึ่งการแก้ไขแต่ละครั้งจะเก็บประวัติทุกครั้ง
  • รายการบทความหรือหน้าต่าง ๆ ที่ผู้ใช้คนหนึ่งเคยร่วมเขียน
ปฏิบัติการ
ดูที่ การกระทำ
ป้องกัน
การห้ามไม่ให้บทความหรือหน้าใดหน้าหนึ่งถูกแก้ไข สามารถกระทำได้เฉพาะผู้ดูแลระบบ (ทุกระดับ) ในอดีตใช้คำว่า ล็อก (อ. Protect)
ป้าย, ป้ายเตือน
ข้อความในกรอบเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือน การระบุปัญหา หรือการให้สารสนเทศอื่น ๆ โดยปกติไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรม
ป้ายระบุ
ใช้กับตัวกรองการละเมิดกฎ เพื่อตรวจหาการกระทำหนึ่ง ๆ ในรายการปรับปรุงล่าสุด (อ. Tags)
ปูม
รายการบันทึกเหตุการณ์ (อ. Log)
ผู้เขียนหลัก
ผู้ใช้ที่เป็นคนเริ่มสร้างบทความ และ/หรือ แก้ไขบทความนั้นเป็นส่วนใหญ่ อาจมีมากกว่าหนึ่งคนได้
ผู้ใช้, ผู้เขียน
ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขโดยผ่านการล็อกอินด้วยชื่อบัญชี ชื่อบัญชีหนึ่งชื่อถือว่าเป็นผู้ใช้หนึ่งคน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นหุ่นเชิด (อ. User, Editor, Contributor)
ผู้ดูแลโครงการ
ผู้ดูแลที่สามารถเปลี่ยนสถานะผู้ใช้ทุกประเภทในทุกโครงการของวิกิมีเดีย และผู้ปฏิบัติหน้าที่เสมือนผู้ดูแลระบบในวิิกิพีเดียบางภาษาที่มีผู้ใช้น้อย ในอดีตใช้คำว่า ผู้ดูแลโครงการ (อ. Steward)
ผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบที่สามารถลบ ล็อก บล็อก และกู้ข้อมูล
ผู้ดูแลระบบสิทธิแต่งตั้ง
ผู้ดูแลระบบที่มีสิทธิแต่งตั้งผู้ใช้ให้เป็นผู้ดูแลได้ ในอดีตใช้คำว่า ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง (อ. Bureaucrat)
ผู้ตรวจสอบผู้ใช้
ผู้ใช้ที่สามารถตรวจสอบไอพีที่มาและเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ในระบบได้ (อ. Checkuser)
ผู้อัปโหลด
ผู้ใช้ที่สามารถอัปโหลดและจัดการไฟล์ได้ (อ. Uploader)
เฝ้าดู
ติดตามการเปลี่ยนแปลงล่าสุดของหน้าหนึ่ง ๆ โดยจะไปปรากฏอยู่ในรายการเฝ้าดูประจำตัวของผู้ใช้ (อ. Watch)
มีเดียวิกิ
ชื่อโปรแกรมที่จัดการข้อมูลทั้งหมดของวิกิพีเดีย
เมจิกเวิร์ด, วลีพิเศษ, คำสั่งพิเศษ
สัญลักษณ์ที่ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิรับรอง และให้ซอฟต์แวร์ทำอย่างอื่นนอกเหนือจากแสดงสัญลักษณ์นั้น หรือรวมผ่านหน้าที่มีชื่อนั้น แต่ใช้สัญลักษณ์โดยตรงแทน (อ. Magic word)
แม่แบบ
รหัสสำเร็จรูปไว้ใส่ในหลายบทความ โดยสามารถแสดงผลได้เหมือนกันหมด
ไม่กัดผู้ใช้ใหม่
นโยบายมิให้ผู้ใช้เก่ารวมถึงผู้ดูแลระบบ ต่อว่ากับการผิดพลาดของผู้ใช้ใหม่ ที่มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย
ไม่มีเนื้อหาอย่างชัดเจน
คำหยาบติดตลกที่ใช้กับบทความที่ไม่ประเทืองปัญญาหรือนอกประเด็นทั้งหมด (อ. Patent nonsense)

ย-ฮ

[แก้]
ย้อน, ทำกลับ
การยกเลิกเนื้อหารุ่นใหม่กลับไปเป็นเนื้อหารุ่นก่อนหน้า
ย้อนการแก้ไขฉุกเฉิน
ย้อนการแก้ไขของผู้ใช้คนล่าสุดทั้งหมด
ย้าย
  • เปลี่ยนชื่อเรื่องจากชื่อหนึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่ง เป็นคำเก่า ปัจจุบันใช้ว่า เปลี่ยนชื่อ
  • คัดลอกสารสนเทศจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง แล้วลบสารสนเทศนั้นออกจากหน้าเดิม
แยก
แบ่งสารสนเทศจากหน้าเดียวออกเป็นสองหน้าขึ้นไป
รวม
ผสานสารสนเทศจากสองหน้าขึ้นไปเข้าเป็นหน้าเดียว
ระเบียงภาพ
  • ชุดของรูปภาพที่อยู่ภายใต้แท็ก <gallery>
  • รูปภาพที่ปรากฏเคียงกันมากกว่า 2 รูปขึ้นไป
ลบ
การซ่อนสารสนเทศทั้งหน้าโดยผู้ดูแลระบบ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ทั่วไป หน้าที่ถูกลบสามารถกู้คืนกลับมาได้เสมอเว้นแต่ถูกลบถาวร
ล็อก
ดู ป้องกัน
ละเมิดลิขสิทธิ์
การคัดลอกข้อความจากผลงานของผู้อื่นซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
ลายน้ำ
ชื่อหรือนามแฝงของผู้สร้างสรรค์ของภาพที่เขียนทับไว้บนภาพเพื่อสงวนลิขสิทธิ์ (อ. Watermark)
ลิงก์, วิกิลิงก์
ลิงก์ภายในวิกิพีเดีย เขียนโดยใช้คำสั่ง [[]] ใส่วงเล็บเหลี่ยมครอบ
ลิงก์ภายนอก
ดูที่ แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ภายใน
ดูที่ ลิงก์, วิกิลิงก์
ลิงก์ข้ามโครงการ
การเชื่อมโยงไปยังบทความในโครงการอื่นของวิกิมีเดีย
ลิงก์ข้ามภาษา
การเชื่อมโยงไปยังบทความเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น
ลิงก์ถาวร
ลิงก์ไปยังรุ่นจำเพาะของหน้า
ลิงก์เสีย, ลิงก์ตาย, ลิงก์เน่า
ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอกซึ่งหน้าปลายทางไม่มีอยู่อีกต่อไป
ลิงก์แดง
ชื่อเรียกของจุดลิงก์ที่บทความปลายทางยังไม่ถูกสร้าง
วิกิมีเดีย
ชื่อองค์การที่ควบคุมวิกิพีเดีย
สคริปต์จัดให้, สจห.
จาวาสคริปต์ส่วนบุคคลที่ช่วยงานเก็บกวาดทั่วไป สร้างโดย ผู้ใช้:Jutiphan
สงครามแก้ไข
การย้อนการแก้ไขกลับไปกลับมาระหว่างผู้ใช้สองคนขึ้นไป
สถานีย่อย
หน้าโครงการของวิกิพีเดียสำหรับกลุ่มที่มีการสนใจเฉพาะทาง
ส่วน
ขอบเขตที่เริ่มจากหัวเรื่องหนึ่งไปยังอีกหัวเรื่องหนึ่ง (อ. Section)
สภากาแฟ
หน้าโครงการพิเศษสำหรับพูดคุยปรับปรุงเรื่องนโยบาย เดิมใช้ว่า ศาลาชุมชน
สแปม
การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์โดยฝากลิงก์ไว้ในบทความวิกิพีเดีย ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์เดียวกันจำนวนมาก เพื่อหวังผลทางเอสอีโอ
สัญญาอนุญาต
สถานะทางลิขสิทธิ์และเงื่อนไขสำหรับการนำภาพหรือสื่อไปใช้ต่อโดยบุคคลอื่น ซึ่งกำหนดโดยผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของ
สาธารณสมบัติ
เนื้อหาหรือสื่อที่นำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่มีเงื่อนไข
สารานุกรม
เนื้อหาอันมีสาระ มีความโดดเด่น มีการเชื่อมโยงกับบทความอื่นเป็นทอด ๆ ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ศาลาประชาคม
หน้าศูนย์รวมการทำงานทั้งหมดของวิกิพีเดีย
หน้า
หัวข้อใด ๆ ในวิกิพีเดีย รวมทั้งบทความ โครง หน้าเปลี่ยนทาง หน้าแก้ความกำกวม หน้าผู้ใช้ หน้าอภิปราย ไฟล์ หน้าเอกสารกำกับแม่แบบและหน้าพิเศษ
หน้าเปลี่ยนทาง
หน้าสำหรับโยงคำค้นมาที่บทความเดียวกัน
หน้าย่อย
หน้าที่มีเครื่องหมายทับ (/) ในชื่อเรื่อง แสดงถึงหน้าที่ถูกแบ่งเพื่อใช้งานหรือเชื่อมโยงกับหน้าที่เป็นหลัก (อ. Subpage)
หน้าสุดทาง
หน้าที่ไม่มีลิงก์ต่อไปยังหน้าหรือบทความอื่นเลย
หน้าหลัก
ชื่อโฮมเพจของวิกิพีเดีย
หัวเรื่อง
แถบที่คั่นแต่ละส่วน มักอยู่ในเครื่องหมาย = เช่น == ประวัติศาสตร์ == (อ. Headline)
หุ่นเชิด
ชื่อบัญชีตัวแทนที่ถูกสร้างขึ้นและควบคุมโดยผู้ใช้อีกคนหนึ่ง
แหล่งข้อมูล, แหล่งที่มา
ที่มาของข้อมูลหรือสารสนเทศซึ่งจะนำมาใช้อ้างอิง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
แหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความแม่น
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่นที่มูลนิธิวิกิมีเดียมิได้เป็นเจ้าของ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความแต่ไม่ได้ใช้อ้างอิงหรืออ้างอิงไม่ได้
อภิปราย
การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ
อัตชีวประวัติ
การเขียนประวัติของตัวเอง ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิด
อัปโหลด
ส่งข้อมูลไฟล์เช่นภาพ เสียง หรือเอกสาร จากคอมพิวเตอร์ลูกข่ายเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดีย (หรือคอมมอนส์) เพื่อนำไปใช้ประกอบบทความต่อไป
อ้างอิง
การกำกับด้วยแหล่งข้อมูลลงในเนื้อหา เพื่อพิสูจน์ว่ามาจากหรือเป็นไปตามที่เขียนไว้และให้ผู้อ่านสืบค้นได้
ไอพี
ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขโดยไม่มีชื่อบัญชี หรือมีชื่อบัญชีแต่ไม่ได้ล็อกอิน
Archive
กรุ กรุเอกสารเก่า ข้อมูลเก่าที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง
Be bold
กล้าเขียน ลองเขียนวิกิพีเดีย
Cat, Category
หมวดหมู่
CC, Creative Commons
สัญญาอนุญาตแบบหนึ่งที่ใช้ในโครงการวิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลอื่นๆ
Commons, Wikimedia Commons
โครงการศูนย์รวบรวมแฟ้มสื่อเสรี สามารถนำไปใช้ได้กับโครงการอื่นทุกโครงการของวิกิมีเดีย
Copyedit
การแก้ไขเฉพาะการจัดหน้าที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
Copyvio, Copyright Violation
การละเมิดลิขสิทธิ์
Double redirect
หน้าเปลี่ยนทางซ้ำซ้อน
FA, Featured article
บทความคัดสรร
GA, Good article
บทความคุณภาพ
Google test
การทดสอบโดยใช้กูเกิลหาข้อมูลต่างๆ รวมถึงการหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ และความเชื่อถือได้ของบทความ
GFDL
สัญญาอนุญาตแบบหนึ่งที่ใช้ในโครงการวิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลอื่นๆ
GPL
สัญญาอนุญาตแบบหนึ่งที่ใช้ในโครงการวิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลอื่นๆ
ICT
เวลาอินโดจีน ซึ่งเป็นเวลาเท่ากับ UTC+7 ตรงกับเวลาประเทศไทย จะแสดงผลท้ายชื่อเวลาพูดคุย
Infobox
กล่องข้อมูล เป็นแม่แบบชนิดหนึ่ง ปรากฏทางขวาของบทความหลายบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
IP
ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขโดยไม่มีชื่อบัญชี หรือมิได้ล็อกอิน
Jimbo
จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย
Meta
วิกิที่ใช้เป็นที่อภิปรายกิจการทั่วไปของวิกิมีเดีย (เดิมเรียกว่า Metapedia, Meta Wikipedia, Meta Wikimedia และชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ)
Newbie
ผู้ใช้ใหม่ที่ยังไม่ชำนาญ
NPOV, Neutral Point of View
มุมมองที่เป็นกลาง
PD, Public Domain
สาธารณสมบัติ
Portal
สถานีย่อยในวิกิพีเดีย หน้าโครงการของวิกิพีเดียสำหรับกลุ่มที่มีการสนใจเฉพาะทาง
Redirect
หน้าเปลี่ยนทาง สำหรับโยงชื่อบทความไว้ที่บทความเดียวกัน
RV, Revert
ย้อนการแก้ไข
RVV, Revert of vandalism
ย้อนการแก้ไขที่เป็นการก่อกวน
SUL, Single User Login
ระบบบัญชีผู้ใช้หนึ่งเดียวสำหรับโครงการทั้งหมดของวิกิมีเดีย
UTC
เวลาสากลเชิงพิกัดโดยเป็นเวลาที่วัดที่ กรีนิช ในอังกฤษ ซึ่งในอดีตวิกิพีเดียไทยได้ใช้เวลานี้ในการอ้างอิง
VD, Vandalism
การก่อกวน
Wikify
การตรวจสอบวิกิพีเดีย เช่นการจัดย่อหน้า การเพิ่มลิงก์ การใส่หมวดหมู่
Wikilink
ลิงก์ภายในวิกิพีเดีย เขียนโดยใช้คำสั่ง [[]] ใส่วงเล็บเหลี่ยมครอบ