วิศวกรรมโลหการ
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วิศวกรรมโลหการ (อังกฤษ: metallurgical engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางโลหวิทยา (metallurgy หรือ metallurgical science) โดยเชื่อมโยงความหมายพื้นฐานจากใจความของโลหวิทยา ซึ่งหมายถึง การศึกษาความรู้ที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับโลหะ ตั้งแต่กระบวนการศึกษาโลหะในสภาวะสินแร่ กระบวนการคัดแยกโลหะออกจากสินแร่ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพโลหะโดยการทำให้บริสุทธิ์หรือการปรุงแต่งเพื่อความเหมาะสมตามคุณสมบัติที่ต้องการ การนำโลหะมาขึ้นรูปในลักษณะของโลหะรูปพรรณ (metal forming) ทรงยาว ทรงแบบ แท่ง ทรงยาวหน้าตัด เป็นต้น รวมทั้งการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัตถุ เช่น การหล่อขึ้นรูป การทุบขึ้นรูป การรีดขึ้นรูป เป็นต้น ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ ต่อเนื่องจากการขึ้นรูป ได้แก่ การตัดแต่งรูปทรง (machining) การปรับปรุงด้วยกระบวนการทางความร้อน (heat treatment) การปรับปรุงพื้นผิว (surface treatment) และกระบวนการวิศวกรรมพื้นผิว (surface engineering)
โลหการ หรือวิศวกรรมการโลหวิทยา จึงหมายถึง การนำโลหวิทยามาใช้ในกระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการ ติดตาม และควบคุมให้เกิดผลได้ในเชิงวิศวกรรม โดยมุ่งเน้นความหมายทางวิศวกรรม ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์และใช้ประโยชน์ได้ งานวิศวกรรมโลหการจึงเน้นไปในสายงานหรือกระบวนการเพื่อการผลิตชิ้นส่วนโลหะในอุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนประกอบในงานก่อสร้าง เหล็ก โครงสร้างอาคาร และเครื่องจักร เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จากแร่และโลหะอยู่ล้อมรอบตัวเราในทุกที่และทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่สนามกีฬา ในรถและพาหนะ ตลอดจนที่โรงเรียนและที่ทำงาน โดยจะเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของ สิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถไฟ เรือ จักรยาน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ หรือแม้กระทั่ง อาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค เนื่องจากโลหะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้อาชีพนี้คงความสำคัญไว้ได้ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเศรษฐศาสตร์และทางเทคนิคในยุคก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีแร่และโลหะเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เกิดวัสดุคุณภาพเยี่ยมและมีราคาถูกในช่วงทศวรรษที่เหลือหลังจากปี 2004 วิศวกรรมโลหการ (Metallurgical engineering) เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแปรรูปวัสดุเพื่อที่จะแยกสกัด ทำให้บริสุทธิ์ และนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการดังกล่าวครอบคลุมถึงการพัฒนาและการใช้โลหะและโลหะผสมที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจง วิศวกรรมโลหการแบ่งย่อยออกเป็นสามสาขาหลัก คือ การแต่งแร่ (Mineral processing) โลหวิทยาแยกสกัด (Extractive metallurgy) และโลหวิทยากายภาพ (Physical metallurgy) การแต่งแร่ เกี่ยวข้องกับการแยกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าหรือหัวแร่ ซึ่งในหลายกรณีจะประกอบด้วยโลหะ ออกจากแร่ที่ได้จากการทำเหมืองแร่ (Mining) โลหวิทยาแยกสกัด เป็นการใช้กระบวนการทางเคมีที่อุณหภูมิสูงหรือในรูปสารละลายเพื่อเปลี่ยนสภาพสินแร่และวัตถุดิบอื่น อาทิ เศษโลหะ ให้กลายสภาพจากสารประกอบอนินทรีย์ (Inorganic compounds) เป็นโลหะที่มีประโยชน์และวัสดุพลอยได้อื่นฯ โดยกระบวนการทางเคมีที่อุณหภูมิสูงเรียกว่าโลหวิทยาความร้อนสูง (Pyrometallurgy) และกระบวนการทางเคมีในรูปสารละลายเรียกว่าโลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) โลหวิทยากายภาพ เป็นการนำวิทยาการที่เกี่ยวกับโลหะมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์โลหะและโลหะผสมในกิจกรรมการผลิตให้ได้สินค้าและเครื่องจักรที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับสังคมบริโภคยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง โดยมีสาขาย่อยที่เน้นเฉพาะคุณสมบัติทางกลซึ่งเรียกว่าโลหวิทยาทางกล (Mechanical metallurgy)
มหาวิทยาลัย
[แก้]มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมโลหการ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลหการและวัสดุ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลหการ
มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนหลักสูตรใกล้เคียง (วัสดุ การผลิต เหมืองแร่ ฯลฯ)
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ สาขาเทคโนโลยีโลหการ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดถ สาขาวิชาวัสดุขั้นสูง และนาโนเทคโนโลยี
อ้างอิง
[แก้]- http://www.metal.eng.chula.ac.th/
- https://www.facebook.com/MTxCU/
- http://www.mines.utah.edu/metallurgy/BriefDescription.htm[ลิงก์เสีย]
- http://mat.eng.ku.ac.th/
- http://www.mne.psu.ac.th[ลิงก์เสีย]
- http://www.sut.ac.th/Engineering/Metal/ เก็บถาวร 2008-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://eng.sut.ac.th/metal/ เก็บถาวร 2008-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.mme.ea-rmuti.com/ เก็บถาวร 2012-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.eng.su.ac.th/_2012/mse-department.php เก็บถาวร 2014-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.en.rmutt.ac.th/mme/ เก็บถาวร 2010-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.kkc.rmuti.ac.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=27 เก็บถาวร 2013-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน