ศาสนาซิกข์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศาสนาสิข (ปัญจาบ: ਸਿੱਖੀ) หรือ ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาสำคัญหนึ่งของโลก โดยคำว่าสิขมาจากภาษาสันสกฤต Sikh แปลว่าแนวทางหรือแบบแผน[1][2] ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาอินเดียที่มีต้นกำเนิดในแคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดียในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยคุรุศาสดาพระองค์แรก คุรุนานัก และถูกนิยามว่าเป็นทั้งศาสนาเอกเทวนิยม และ พหุเทวนิยม[3][4][5][6][7]
ชื่อและการออกเสียง
[แก้]การเขียน และการออกเสียงชื่อศาสนาซิกข์นั้น หากเขียนว่า "สิกข์" ในภาษาไทยจะอ่านออกเสียงว่า “สิก" ซึ่งไม่ตรงกับเสียงในภาษาปัญจาบ และจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเพื่อให้อ่านออกเสียง และความหมายถูกต้อง จึงต้องเขียนว่า "ซิกข์" และอ่านออกเสียงว่า "ซิก", หรืองานวิ่งการกุศล ไทย-ซิกข์ มาราธอนซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก็ใช้การเขียนว่า "ซิกข์" ขณะที่ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนมีการสะกดว่า "สิกข์" [8]
ในพจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่าคำนี้สามารถสะกดได้ถึงสี่แบบ ได้แก่ "ซิกข์, สิกข์, ซิก, สิข" [9]
ศาสดา
[แก้]ศาสดา หรือ คุรุ แห่งศาสนาซิกข์มี 10 ท่าน ต่อจากนั้นศาสดาองค์ที่ 10 (คุรุโควินท์สิงห์) ได้ประกาศให้ถือพระคัมภีร์ (คุรุกรันตสาหิบ) เป็นศาสดาตลอดกาลแทน และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก ยกเว้นนิกายนามธารีที่มีการนับคุรุศาสดาต่อ รายนามของคุรุศาสดาที่เป็นที่นับถือทั้ง 10 ท่าน ได้แก่
- คุรุนานัก (Guru Nanak)
- คุรุอังคัต (Guru Angat) หรือ คุรุอังกัต, คุรุอังคัท, คุรุอังขัต, คุรุอังฆัต
- คุรุอมรทาส (Guru Amar Das) หรือ คุรุอามัร ดาส
- คุรุรามทาส (Guru Ram Das) หรือ คุรุรามดาส
- คุรุอรชุน (Guru Arjan) หรือ คุรุอรยัน, คุรุอาร์จัน
- คุรุหรโคพินท์ (Guru Har Gobind) หรือ คุรุฮัรโควินท์
- คุรุหรราย (Guru Har Rai) หรือ คุรุฮัรราย, คุรุหาร์ไร
- คุรุหรกิศัน (Guru Har Krishan) หรือ คุรุฮัรกฤษณ
- คุรุเตฆ์บะฮาดุร (Guru Tegh Bahadur) หรือ คุรุเตค บฮาดัร
- คุรุโควินทสิงห์ (Guru Gobind Singh) หรือ คุรุโควินท์สิงห์
- คุรุครันถสาหิพ (Guru Granth Sahib) หรือ คุรุครันถ์ซาฮิบ
หลังสิ้นสุดสมัยของคุรุโควินทสิงห์แล้ว ท่านคุรุโควินท์สิงห์ได้แต่งตั้งให้ มหาคัมภีร์ คุรุกรันตสาหิบ หรือ คุรุครันถ์ซาฮิบ (Guru Granth Sahib) เป็นคุรุศาสดาอมตะตลอดไป กล่าวคือจะไม่มีการตั้งคุรุศาสดาเป็นบุคคลอีก แต่จะให้ยึดถือพระคัมภีร์เป็นคุรุศาสดาตลอดกาล
คัมภีร์
[แก้]สำหรับชาวซิกข์แล้ว มีคัมภีร์หลักสำคัญเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ คุรุกรันตสาหิบ หรือ คุรุครันถ์ซาฮิบ (Guru Granth Sahib) บางครั้งก็เรียกอีกชื่อว่า อาทิกรันตะ หรือ อาทิ ครันถ์ (Ādi Granth)[10] ตามกาลภาพจริง ๆ แล้ว “อาทิกรันตะ” (แปลตรงตัวว่า ฉบับแรก) หมายถึง คัมภีร์ชิ้นแรกที่เขียนขึ้นโดยคุรุอรชุน เมื่อ ค.ศ. 1604[11] ส่วนคุรุกรันตสาหิบ หมายถึง คัมภีร์รุ่นสุดท้ายที่เพิ่มเติมและรวบรวมจนสมบูรณ์โดยคุรุโควินทสิงห์[10][12] คุรุกรันตสาหิบนั้นยกย่องให้เป็นคัมภีร์ที่เชื่อว่าจริงเสมอตลอดกาล (อกาล) และไม่สามารถโต้แย้งได้ (unquestionable) อย่างไรก็ตาม ศาสนาซิกข์ก็มีคัมภีร์อีกเล่มที่ยกย่องให้ว่าสำคัญเป็นอันดับสอง คือ “ทสัมกรันตะ” หรือ ทาซาม ครันถ์ (Dasam Granth)[10]
นิกาย
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ในศาสนาซิกข์แบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่มีนิกายที่สำคัญ ๆ ๒ นิกาย คือ
นิกายนานักปันถิ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามธรรมของท่านคุรุนานัก (ศาสดาองค์แรก) ผู้นับถือนิกายนี้จะไม่เข้าปาหุล หรือ ล้างบาป และไม่รับ “ก” ทั้ง ๕ ประการ
นิกายนิลิมเล แปลว่า นักพรตผู้ปราศจากมลทิน บางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า “นิกายขาลสา” หรือ “นิกายสิงห์” ผู้นับ ถือนิกายนี้จะดำเนินตามคำสอนของท่านคุรุโควินทร์สิงห์ (ศาสดาองค์ที่ ๑๐) โดยเฉพาะในเรื่องปาหุล หรือล้างชำระล้าง บาป ให้ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ (ขาลสา) และเมื่อรับ “ก” ทั้ง ๕ แล้วก็ใช้นามสิงห์ต่อท้ายได้
นิกายอุทาสี หมายความว่า ผู้วางเฉยต่อโลก
นิกายอกาลี คือ ผู้บูชาพระผู้เป็นเจ้านิรันดร
นิกายสุธเร คือ นักพรตผู้บริสุทธิ์
นิกายทิวเนสาธุ หมายถึง นักบุญผู้เมา (ในพระเจ้า)
นิกายริมเลสาธุ หมายถึง นักบุญผู้ไม่มีมลทิน
นิกายนามธารี แปลว่า ผู้ทรงไว้ หรือผู้เทิดทูลพระนามของพระเจ้า หรือผู้มั่นอยู่ในนามของพระเจ้า ผู้นับถือนิกายนี้จะแต่งตัวขาวล้วน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มของมึนเมา ไม่กินเนื้อสัตว์ กระนั้นก็ตามนิกายอื่น ๆ ที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้กว่า ๒๐ นิกายล้วนมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย[13]
ศาสนสถาน
[แก้]ศาสนสถานของศาสนาซิกข์เรียกว่า คุรุทวารา หรือคนไทยบางคนเรียกว่า โบสถ์ซิกข์, วัดซิกข์ โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่วิหารทองคำ "หริมันทิรสาหิบ" หรือ สุวรรณวิหาร ตั้งอยู่ในเมืองศักดิ์สิทธิ์อมฤตสาร์ ในแคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งโดยคุรุรามดาส คุรุศาสดาองค์ที่สาม
ในประเทศไทย
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Singh, Khushwant (2006). The Illustrated History of the Sikhs. India: Oxford University Press. p. 15. ISBN 978-0-19-567747-8.
- ↑ Nabha, Kahan. Sahib Singh (1930). Gur Shabad Ratnakar Mahan Kosh (ภาษาปัญจาบ). p. 720. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2005. สืบค้นเมื่อ 29 May 2006. (ปัญจาบ)
- ↑ Nesbitt, Eleanor M. (2005). Sikhism: a very short introduction. Oxford University Press. pp. 21–23. ISBN 978-0-19-280601-7.
- ↑ Nirbhai Singh (1990). Philosophy of Sikhism: Reality and Its Manifestations. Atlantic Publishers. pp. 1–3.
- ↑ Opinderjit Kaur Takhar (2016). Sikh Identity: An Exploration of Groups Among Sikhs. Taylor & Francis. p. 147. ISBN 978-1-351-90010-2.
- ↑ http://www.bbc.com/religion/religions/sikhism/
- ↑ W.Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1993). Sikhism and Christianity: A Comparative Study (Themes in Comparative Religion). Wallingford, United Kingdom: Palgrave Macmillan. p. 117. ISBN 0333541073.
- ↑ ศาสนาสิกข์ สะกด ส.เสือ เก็บถาวร 2009-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมสำหรับเยาวชน เครือข่ายกาญจนาภิเษก (เขียนได้สองแบบความหมายเดียวกัน(จาก*ลิ*))
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (สืบค้นออนไลน์) เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 365
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Christopher Shackle and Arvind Mandair (2005), Teachings of the Sikh Gurus, Routledge, ISBN 978-0415266048, pp. xvii–xx
- ↑ William Owen Cole and Piara Singh Sambhi (1995), The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices, Sussex Academic Press, ISBN 978-1898723134, pp. 45–46
- ↑ William Owen Cole and Piara Singh Sambhi (1995), The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices, Sussex Academic Press, ISBN 978-1898723134, pp. 49–50
- ↑ http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=singh_2[ลิงก์เสีย]
- ประวัติศาสนาซิกข์ เก็บถาวร 2016-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [1] เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [2][ลิงก์เสีย]