ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาลิสบอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาลิสบอน
สนธิสัญญาลิสบอนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรปและสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
พิธีลงนาม
ประเภทแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาฉบับเดิม
วันลงนาม13 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ที่ลงนามอารามเจโรนิมอส, ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส
วันตรา18 ธันวาคม พ.ศ. 2550[1]
วันมีผล1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ผู้ลงนาม28 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป
ภาคีสหภาพยุโรป สหภาพยุโรป
ผู้เก็บรักษารัฐบาลอิตาลี
ภาษา23 ภาษาทางการในสหภาพยุโรป

สนธิสัญญาลิสบอน (อังกฤษ: Treaty of Lisbon) เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาสองฉบับที่เป็นรากฐานทางกฎหมายของสหภาพยุโรป (EU) อันได้แก่สนธิสัญญามาสทริชท์ (พ.ศ. 2536) และ สนธิสัญญาโรม (พ.ศ. 2501) สนธิสัญญาลิสบอนได้รับการลงนามโดยผู้แทนจาก 28 รัฐสมาชิกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552[2]

สาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิการลงมติในคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป จากเดิมใช้ระบบแบ่งช่วงประชากรเพื่อกำหนดจำนวนเสียงลงคะแนน มาเป็นระบบคะแนนเสียงถ่วงน้ำหนักตามประชากรของแต่ละประเทศ การใช้ระบบใหม่นี้ทำให้บรรดาชาติที่มีประชากรเป็นอันดับต้นๆอย่าง เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, สเปน ได้รับผลประโยชน์จากอำนาจลงคะแนนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ชาติที่มีประชากรน้อยสูญเสียอำนาจในการลงคะแนนบางส่วนไป สนธิสัญญาฉบับนี้ยังเปิดทางให้มีร่างกฎหมายสหภาพว่าด้วยสิทธิ ซึ่งบังคับใช้เป็นกฎบัตรสิทธิขั้นพื้นฐาน และยังระบุถึงสิทธิของรัฐสมาชิกที่จะออกจากการเป็นสมาชิกภาพไว้อย่างชัดแจ้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lisbon Treaty: The making of". Council of the European Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2011. After signature by all 27 Heads of State and governments, the Treaty will travel back to Brussels, where it will be officially sealed with the seals of the 27 Member States, on the 18th of December. Then, it will be sent to Rome, the Italian government being the depository of the Treaties.
  2. eur-lex.europa.eu: " Official Journal of the European Union, ISSN 1725-2423 C 115 Volume 51, 9 May 2008, retrieved 1 June 2014

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เว็บไซต์ทางการ

ภาพรวมสื่อ