ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2
พระบรมฉายาลักษณ์ ฉายเมื่อ ค.ศ. 2012
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก
กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร
ครองราชย์14 มกราคม ค.ศ. 1972 – 14 มกราคม ค.ศ. 2024
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9
ถัดไปสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ (1940-04-16) 16 เมษายน ค.ศ. 1940 (84 ปี)
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
พระราชสวามีเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก
(ค.ศ. 1967–2018)
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
มาร์เกรเธอ อเล็กซานดริน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค[1]
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9
พระราชมารดาอิงกริดแห่งสวีเดน
ศาสนาคริสตจักรแห่งเดนมาร์ก
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[2] (เดนมาร์ก: Margrethe Alexandrine Þórhildur Ingrid; มาร์เกรเธอ อเล็กซานดรีน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด; พระราชสมภพ: 16 เมษายน ค.ศ. 1940) เป็นอดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กและกรีนแลนด์ ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระองค์สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1972 จากการสืบราชบัลลังก์ทำให้พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กพระองค์แรกนับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระประมุขแห่งสแกนดิเนเวียในช่วงปี ค.ศ. 1375 ถึง ค.ศ. 1412 ในยุคสหภาพคาลมาร์ โดยพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอเสด็จพระราชสมภพในปี ค.ศ. 1940 แต่พระนางไม่ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐานจนกระทั่ง ค.ศ. 1953 เมื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กได้อนุญาตให้สตรีมีสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ได้ (หลังจากมีความชัดเจนแล้วว่าพระเจ้าเฟรเดอริกไม่ทรงมีรัชทายาทที่เป็นบุรุษ) ในปี ค.ศ. 1967 ทรงอภิเษกสมรสกับอ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาและมีพระราชโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กและเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีนาถทรงโปรดงานด้านโบราณคดี และทรงร่วมการขุดค้นทางโบราณคดีในหลายโอกาส ทั้งในอิตาลี อียิปต์ เดนมาร์ก และอเมริกาใต้[3] พระองค์ทรงมีความสนพระทัยเฉกเช่นเดียวกับพระอัยกาฝ่ายพระราชชนนี คือ สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน ที่ทรงใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการขุดค้นโบราณวัตถุ ใกล้ภูมิภาคอิทรูเรีย ในค.ศ. 1962[4]

ใน ค.ศ. 2022 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงดำรงพระองค์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ที่ทรงรับพระราชอาคันตุกะที่เสด็จเยือนเดนมาร์กอย่างเป็นทางการ 42 ครั้ง และพระนางเองได้เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการใน 55 ประเทศ[5][6] พระนางและพระราชวงศ์เดนมาร์กก็ได้เสด็จเยือนต่างประเทศหลายครั้ง[5] แรงสนับสนุนราชาธิปไตยเดนมาร์กและยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 82 เช่นเดียวกับความนิยมในตัวสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 เอง[4][7]

ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2023 พระนางทรงประกาศระหว่างการพระราชทานพระราชดำรัสวันขึ้นปีใหม่ว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติให้แก่มกุฎราชกุมารเฟรเดอริก พระราชโอรส ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2024 อันตรงกับวันขึ้นครองราชย์ของพระองค์เองเมื่อ 52 ปีก่อน[8] ทั้งนี้ หลังการสละราชสมบัติพระองค์จะยังดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชินีนาถ และจะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ

ชีวิตในวัยเยาว์

[แก้]
สถานที่เสด็จพระราชสมภาพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ณ พระราชวังเฟรเดอริกที่ 8 ในหมู่พระราชวังอามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1940 ณ พระราชวังอามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายเฟรเดอริกและเจ้าหญิงอิงกริด มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรีน และพระราชมารดาของพระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในมกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดนกับมกุฎราชกุมารีมาร์กาเร็ต เจ้าหญิงประสูติเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากกองทัพนาซีเยอรมนีได้ทำการยึดครองเดนมาร์กในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940

พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ณ โบสถ์โฮลเมน กรุงโคเปนเฮเกน เจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระราชบิดาและพระราชมารดาทูนหัว คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายแอกเซิลแห่งเดนมาร์ก, พระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน, มกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน, แเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟ ดยุกแห่งเวสเตร์บอตเติน และ เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสตราเธิร์น

เจ้าหญิงทรงได้รับพระนามว่า "มาร์เกรเธอ" ตามพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดา พระนามว่า "อเล็กซานดรีน" ตามพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระบิดา และพระนามว่า "อิงกริด" ตามพระนามของพระมารดา ตั้งแต่พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระอัยกาทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกษัตริย์แห่งไอซ์แลนด์ ทำให้เจ้าหญิงทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งไอซ์แลนด์จนกระทั่งปี ค.ศ. 1944 เจ้าหญิงจึงมีพระนามเป็นภาษาไอซ์แลนด์ตามโบราณราชประเพณี คือ ธอร์ฮิลดูร์ (Þórhildur)[9](สะกดตามลักษณะตัวอักษร "thorn" ในภาษาไอซ์แลนด์ ที่เที่ยบเท่ากับ "th")

เมื่อเจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระชนมายุ 4 ชันษาในปี ค.ศ. 1944 พระขนิษฐาพระองค์แรกประสูติคือ เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงเบเนดิกเทอทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายริชาร์ดที่ 6 แห่งไซน์-วิตเกนสไตน์-เบอร์เลบูร์กและบางครั้งทรงพำนักที่เยอรมนี พระขนิษฐาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงแอนน์-มารีแห่งเดนมาร์ก ประสูติในปี ค.ศ. 1946 ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และปัจจุบันทรงพำนักอยู่ที่ลอนดอน

ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1947 พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 เสด็จสวรรคตและพระราชบิดาของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอได้ครองราชบัลลังก์สืบต่อในพระนาม "พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก"

รัชทายาทโดยสันนิษฐาน

[แก้]
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก (กลาง)ร่วมกับญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์(ขวา)และตาฮียะห์ นาศิร ภริยา(ซ้าย) ขณะเสด็จประพาสไคโร ประเทศอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1962

เมื่อครั้งประสูติ พระราชวงศ์ฝ่ายหน้าสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กได้เท่านั้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ที่มีการประกาศใช้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 เมื่อสายราชสกุลกลึคส์บวร์คได้รับเลือกให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากราชวงศ์อ็อลเดนบวร์ค ในฐานะที่เจ้าหญิงมาร์เกรเธอไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา ได้มีการสันนิษฐานว่าพระปิตุลาของเจ้าหญิงคือ เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก จะได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในวันใดวันหนึ่ง

กระบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1947 ไม่นานหลังจากพระราชบิดาทรงครองราชบัลลังก์และกลายเป็นที่เข้าใจว่าสมเด็จพระราชินีอิงกริดไม่มีพระประสูติกาลพระบุตรมากไปกว่านี้อีกแล้ว ด้วยกระแสความนิยมในพระเจ้าเฟรเดอริคและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์และบทบาทของสตรีในสังคมเดนมาร์กได้ปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ได้มีการเริ่มต้นกระบวนการที่ซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอได้มีการผ่านเข้ารัฐสภาทั้งสองและจากนั้นด้วยการลงประชามติ ที่ซึ่งกำหนดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1953 พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กฉบับใหม่ได้อนุญาตให้สตรีสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ตามที่สิทธิของบุตรหัวปี ซึ่งสตรีสามารถสืบราชบัลลงก์ได้ถ้าหากไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา เจ้าหญิงมาร์เกรเธอในขณะนั้นจึงทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน

ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 18 พรรษาของเจ้าหญิง ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1958 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงได้รับตำแหน่งในสภาองคมนตรีเดนมาร์ก เจ้าหญิงทรงเป็นประธานในการประชุมสภาในช่วงที่พระมหากษัตริย์ทรงติดพระราชกิจ

ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 เจ้าหญิงทรงร่วมกับเหล่าเจ้าหญิงแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เจ้าหญิงเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งรวมทั้งเสด็จเยือนลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และเสด็จไปที่พาราเมาต์พิกเจอส์ ที่ซึ่งทุกพระองค์ทรงพบปะกับเหล่าคนดังจำนวนมากรวมทั้ง ดีน มาร์ติน, เจอร์รี ลิวอิส และเอลวิส เพรสลีย์

การศึกษา

[แก้]
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอ ในปี ค.ศ. 1966

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงใช้เวลาหนึ่งปีในการเข้าศึกษาที่โรงเรียนนอร์ทฟอร์แลนด์ล็อดจ์ เป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็กผู้หญิงที่แฮมป์เชอร์, อังกฤษ[10] และจากนั้นทรงศึกษาในวิชาโบราณคดีสาขายุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เกอร์ตันคอลลีจ, แคมบริดจ์ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1961 ทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอาร์ฮุสในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1961 และ ค.ศ. 1962 ทรงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสในปี ค.ศ. 1963 และทรงเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1965 เจ้าหญิงทรงเป็นผู้สนับสนุนและเข้าร่วมสมาคมโบราณวัตถุลอนดอน

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงมีความถนัดในภาษาเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สวีเดนและเยอรมัน[11]

อภิเษกสมรส

[แก้]
เคานท์อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา (ซ้าย) และเจ้าหญิงมาร์เกรเธอ(ขวา) ในค.ศ. 1966

ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงอภิเษกสมรสกับนักการทูตชาวฝรั่งเศสคือ เคานท์อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาโบสถ์โฮลเมนในโคเปนเฮเกน อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาได้รับพระอิสริยยศว่า "ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก" (His Royal Highness Prince Henrik of Denmark) เนื่องจากฐานะใหม่ของพระองค์คือเป็นพระราชสวามีในเจ้าหญิงรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์แรกในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 ตามโบราณราชประเพณี พระมหากษัตริย์เดนมาร์กต้องทรงผลัดกันเลือกพระนามว่า เฟรเดอริก หรือ คริสเตียน เจ้าหญิงยังทรงคงฐานะนี้ไว้ โดยทรงสมมติว่าพระนามของพระนางคือ คริสเตียน และดังนั้นทรงตั้งพระนามของพระราชโอรสพระองค์โตว่า เจ้าชายเฟรเดอริก พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ได้รับการตั้งพระนามว่า เจ้าชายโจอาคิม ซึ่งประสูติในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1969

รัชกาล

[แก้]

สืบราชบัลลังก์

[แก้]

เพียงระยะเวลาอันสั้น หลังจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 มีพระราชดำรัสในวโรกาสวันปีใหม่ของประเทศในช่วงปลายปี ค.ศ. 1971 ถึงต้นปี ค.ศ. 1972 พระองค์ก็ทรงพระประชวร คล้ายไข้หวัด หลังจากเสด็จกลับมาประทับผ่อนคลายอิริยาบถเพียงไม่กี่วัน พระองค์มีพระหทัยวายและทรงถูกนำพระองค์มาที่โรงพยาบาลเทศบาลในวันที่ 3 มกราคม หลังจากการรักษาที่เห็นได้ชัด พระอาการของพระเจ้าเฟรเดอริกทรงทรุดลงในวันที่ 11 มกราคม และพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 14 มกราคม

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และทรงกลายเป็นพระประมุขสตรีพระองค์แรกภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระนางทรงได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ณ มุขเด็จแห่งพระราชวังคริสเตียนบอร์กโดยนายกรัฐมนตรีเจนส์ ออตโต คร้าก ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1972 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "พระมหากษัตริย์สวรรคตแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถทรงพระเจริญ" (The King is dead, long live the Queen!) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงสละพระอิสริยยศทุกตำแหน่งของอดีตพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ยกเว้นพระอิสริยยศในเดนมาร์ก ดังนั้นทรงขนานพระนามว่า โดยพระคุณของพระเจ้า, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก : Margrethe den Anden, af Guds Nåde Danmarks Dronning) สมเด็จพระราชินีนาถทรงเลือกคติพจน์ประจำรัชกาลว่า

พระนางมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 มีพระราชดำรัสว่า

บทบาทตามรัฐธรรมนูญ

[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงฉลองพระองค์ชาวแฟโร ดวงตราไปรษณียกรรุ่น FR 302 ของบริษัทโพสตา หมู่เกาะแฟโร ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1997

พระราชกรณียกิจหลักของสมเด็จพระราชินีนาถคือ ทรงเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรในการเสด็จเยือนต่างประเทศและจะทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั้งชาติในประเทศ พระนางมีพระราชกรณียกิจในการเสด็จออกรับเหล่าคณะทูตจากต่างประเทศและทรงรับรางวัลและเหรียญเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีนาถทรงดำเนินการต่าง ๆ โดยทรงตอบรับคำเชิญที่จะให้พระองค์เสด็จไปเปิดนิทรรศการ, ทรงเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ, พิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการ เป็นต้น

ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสาธารณะที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชินีไม่ทรงมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองและไม่ทรงแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใด ๆ แม้ว่าพระนางจะทรงมีสิทธิในการเลือกตั้ง แต่พระนางไม่ทรงทำเช่นนั้นแม้กระทั่งการแสดงพระองค์เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

หลังจากการเลือกตั้งที่ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้รับเสียงข้างมาก สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงใช้สิทธิในการ "ดรอนนิงเกอรุนด์" (Dronningerunde, Queen's meeting, การเข้าเฝ้าพระราชินี) ที่ซึ่งพระนางจะทรงพบปะกับหัวหน้าของแต่ละพรรคการเมืองเดนมาร์ก[13]

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ขณะเสด็จโบสถ์บูดอลฟี เมืองอาร์ลบอร์ก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010

แต่ละพรรคมีทางเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการพระราชวินิจฉัย ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาต่อรองหรือทางเลือกเดียว โดยให้นายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันได้ดำเนินการรัฐบาลของเขาต่อ ในทางทฤษฎีแต่ละพรรคสามารถเลือกผู้นำของตนเองในพระราชวินิจฉัย พรรคสังคมเสรีนิยมเดนมาร์กได้ทำเช่นนี้ในปี ค.ศ. 2006 แต่มักจะเป็นเพียงหนึ่งในพระราชวินิจฉัยซึ่งได้เลือกนายกรัฐมนตรีรวมก่อนที่จะทำการเลือกตั้ง ผู้นำที่ซึ่งในการประชุมสามารถรักษาเสียงข้างมากในโฟลเกททิงจะได้รับพระบรมราชโองการด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ (มันไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ซึ่งพรรคใดพรรคหนึ่งสามารถได้รับเสียงข้างมากด้วยตัวเองได้)

เมื่อจัดตั้งรัฐบาลขึ้น จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากสมเด็จพระราชินี โดยพิธีการ สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงดำรงเป็นหัวหน้ารัฐบาล และพระนางจะทรงเป็นประธานในการประชุมรัฐสภา ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายที่ได้รับการผ่านโดยรัฐสภาจะทำการลงนามในกฎหมาย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ รัฐสภาเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจอย่างเป็นทางการเกือบทั้งหมดของสมเด็จพระราชินีจและพระนางจะทรงมีหน้าที่ทำตามคำแนะนำจากที่ประชุม

นอกเหนือไปจากบทบาทของพระนางในประเทศของพระนางเอง สมเด็จพระราชินียังทรงเป็นพันเอกผู้บัญชาการแห่งกองพันทหารหลวงเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นกองพันทหารราบแห่งกองทัพบริติช ตามธรรมเนียมของพระราชวงศ์ของพระนาง

พระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี

[แก้]

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2012 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงจัดพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี (Ruby Jubilee)[14] พระราชพิธีนี้ประกอบด้วยขบวนรถม้าและการสัมภาษณ์จากโทรทัศน์จำนวนมาก พระราชอาคันตุกะที่มาร่วมพระราชพิธีนี้รวมทั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์และสวีเดน อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ และประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์ เป็นต้น [15]

การสละราชสมบัติ

[แก้]

ในพระราชดำรัสเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2023 สองปีหลังพระราชพิธีกาญจนาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงประกาศสละราชสมบัติในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2024 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 52 ปีการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ทั้งนี้ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมาร ได้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 ในวันเดียวกัน

พระชนมชีพส่วนพระองค์และความสนพระราชหฤทัย

[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กและเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี ในปี ค.ศ. 2010

ที่ประทับอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชินีนาถและพระราชสวามีคือพระราชวังอามาเลียนบอร์กในโคเปนเฮเกน และพระราชวังฟรีเดนส์บอร์ก ที่ประทับในฤดูร้อนของทั้งสองพระองค์คือ พระราชวังกราสเต็นใกล้กับชอนเดนบอร์ก เป็นอดีตที่ประทับของพระราชชนนี สมเด็จพระราชินีอิงกริดซึ่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 2000

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จ และทรงจัดแสดงภาพวาดฝีพระหัตถ์มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[16] ภาพประกอบของพระนางภายใต้นามแฝงว่า "อินกาฮิลด์ กราธเมอร์" เคยนำมาใช้ประกอบในนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับภาษาเดนมาร์กที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1977 และตีพิมพ์ใหม่ในปี ค.ศ. 2002 ในปี ค.ศ. 2000 พระนางทรงใส่ภาพประกอบลงในหนังสือ Cantabile ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมบทกวีที่พระราชนิพนธ์ขึ้นโดยเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี พระนางยังคงประสบความสำเร็จในฐานะนักแปลและทรงมีส่วนร่วมในการแปลนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในภาษาเดนมาร์ก[16] ทักษะอื่น ๆ นอกำจากนี้ที่ทรงมีคือการออกแบบเครื่องแต่งกาย ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายในคณะบัลเล่ต์หลวงเดนมาร์กในเรื่องA Folk Taleและในปี ค.ศ. 2009 ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับภาพยนตร์เรื่อง "De vilde svaner" (the Wild Swans; ห่านป่า) ของผู้กำกับปีเตอร์ ฟลินธ์[17]

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงโบกพระหัตถ์แก่ประชาชนในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 จากซ้ายไปขวา: มกุฎราชกุมารี,เจ้าชายเฟลิกซ์,มกุฎราชกุมาร,เจ้าชายคริสเตียน,สมเด็จพระราชินีนาถ,เจ้าชายนิโคไล,พระราชสวามี,เจ้าชายโจอาคิมและเจ้าหญิงอิซาเบลลา

พระนางยังทรงออกแบบฉลองพระองค์ของพระนางเองด้วยและเป็นที่รู้จักสำหรับฉลองพระองค์ของพระนางที่มีสีสันและบางครั้งทรงเลือกฉลองพระองค์แปลก ๆ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอยังทรงฉลองพระองค์ที่ออกแบบโดยอดีตดีไซนเนอร์ของปิแยร์ บาลเมนคือ อีริค มอร์เทนเซน, จอร์เกน เบนเดอร์, และเบอร์จิเต ทูโลว์[18] พระนางทรงได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 50 คนที่สวมชุดได้ดีที่สุดในช่วงวัย 50 ปีขึ้นไปของนิตยสารการ์เดียนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[19]

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงเป็นผู้สูบบุหรี่จัด และพระนางทรงมีชื่อเสียงจากพฤติกรรมยาสูบของพระนาง[20] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 หนังสือพิมพ์ บี.ที. ของเดนมาร์กได้รายงานว่ามีประกาศจากสำนักพระราชวังที่ระบุว่าในอนาคตสมเด็จพระราชินีจะทรงสูบบุหรี่เฉพาะในเวลาส่วนพระองค์เท่านั้น

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงได้รับแรงสนับสนุนให้ใส่ภาพประกอบในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 พระนางทรงส่งภาพทั้งหมดไปให้เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ซึ่งตกตะลึงเพราะความคล้ายคลึงกันของภาพวาดของพระนางกับแบบของเขาเอง ภาพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ได้ตีพิมพ์ในฉบับแปลภาษาเดนมาร์ก ซึ่งวาดขึ้นใหม่โดยอีริค ฟราเซอร์ จิตรกรชาวอังกฤษ

พระราชโอรส

[แก้]

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าชายเฮนริกมีพระราชโอรสร่วมกัน 2 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระวรชายา/พระชายา และพระโอรส-ธิดา
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก 196826 พฤษภาคม
ค.ศ. 1968
ยังทรงพระชนม์ อภิเษกสมรส วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 กับ
แมรี เอลิซาเบธ โดนัลด์สัน
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายคริสเตียน มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายวินเซนต์แห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงโจเซฟินแห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก 19697 มิถุนายน
ค.ศ. 1969
ยังทรงพระชนม์ อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 กับ
อเล็กซันดรา คริสตินา มันลีย์
ทรงหย่าในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2005
มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายนิโคไลแห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งเดนมาร์ก

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 กับ
มารี อากัท โอดี กาวาลีเย
มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงอะธีนาแห่งเดนมาร์ก

ในปี 2022 สมเด็จพระราชินีนาถประกาศว่าตั้งแต่ต้นปี 2023 ผู้สืบเชื้อสายของเจ้าชายโจอาคิมจะสามารถใช้ได้เฉพาะตำแหน่งเคานต์และเคาน์เตสแห่งมงเปอซาเท่านั้น ส่วนตำแหน่งเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเดนมาร์กก่อนหน้านี้ให้สิ้นสุดลง สมเด็จพระราชินีนาถมีพระประสงค์ที่จะให้พระราชนัดดาทั้งสี่พระองค์ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี โดยไม่ต้องถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดและหน้าที่พิเศษที่สมาชิกราชวงศ์ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้พระราชนัดดาได้เติบโตและพัฒนาตนเองตามความต้องการของแต่ละพระองค์[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 และเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี ขณะเสด็จพระราชดำเนินเยือนวากูร์ หมู่เกาะแฟโร ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2005
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 และเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี ทรงรับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจอร์จ ดับเบิลยู. บุชและลอรา บุช ภริยา ณ พระราชวังฟรีเดนส์บอร์ก ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2005
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHendes Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม3

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดนมาร์ก

[แก้]
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นมหาปรมาภรณ์
  • เหรียญที่ระลึกครบรอบ 100 ปีพระบรมราชสมภพสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 9
  • เหรียญที่ระลึกครบรอบ 100 ปีพระบรมราชสมภพสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10
  • เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระราชินีอิงกริด
  • เหรียญที่ระลึกครบรอบ 50 ปีวาระที่สมเด็จพระราชินีอิงกริดเสด็จถึงเดนมาร์ก
  • Home Guard fortjensttegn
  • Home Guard 25-year mark
  • เครื่องหมายสันนิบาตพลเรือนรุ่งโรจน์
  • เหรียญตราสมาคมกองทุนสำรองเจ้าหน้าที่เดนมาร์ก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์กรีนแลนด์

[แก้]
  • เหรียญเกียรติคุณที่ควรค่าแห่งกรีนแลนด์ ชั้นที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. ลูอีเซอแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
9. ลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ลูอีสแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนและนอร์เวย์
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เฟรเดอริค ฟรานซิสที่ 2 แกรนด์ดยุกแห่งแม็คเลนบูร์ก-ชเวรีน)
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟรเดอริค ฟรานซิสที่ 3 แกรนด์ดยุกแห่งแม็คเลนบูร์ก-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงออกุสตา รอสแห่งคอสทริกซ์
 
 
 
 
 
 
 
5. อเล็คซันดรีเนอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. แกรนด์ดยุกไมเคิล นิโคเลวิชแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
11. แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย มิคาอิลอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงเซชิลแห่งบาเด็น
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
12. สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงโซเฟียแห่งนัสเซา
 
 
 
 
 
 
 
6. สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ฟรานซิสที่ 1 แหรนด์ดยุกแห่งบาเด็น
 
 
 
 
 
 
 
13. วิกตอเรียแห่งบาเดิน สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงลูอีเซอแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
3. อิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าชายฟรีดิช คาร์ลแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงหลุยส์ มาร์กาเร็ตแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงมาเรีย แอนนาแห่งอัลฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "150 years of the House of Glücksborg". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ 2012-04-30.
  3. Scocozza, Benito (1997). Politikens bog om danske monarker (1. udg ed.). København: Politiken. pp. 204–205. ISBN 87-567-5772-7. OCLC 57288915.
  4. 4.0 4.1 Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1977). Burke's Royal Families of the World. MCMLXXVII. Vol. I. London: Burke's Peerage Limited. pp. 62–63. ISBN 0-85011-023-8. OCLC 18496936.
  5. 5.0 5.1 "Stats- og officielle besøg" [State and official visits]. Kongehuset (ภาษาเดนมาร์ก). 2020-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  6. "Statsbesøg til Forbundsrepublikken Tyskland" [State visit to the Federal Republic of Germany]. Kongehuset (ภาษาเดนมาร์ก). 2021-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Stjer, Christian (2012-06-02). "Danskerne er vilde med kongehuset | Voxmeter" (ภาษาเดนมาร์ก). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  8. "Dronning Margrethe abdicerer: Træder tilbage 14. januar" [สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอสละราชสมบัติ: กำหนด 14 มกราคมนี้]. DR (ภาษาเดนมาร์ก). 31 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2023.
  9. "Those Apprentice Kings and Queens Who May – One Day – Ascend a Throne," New York Times. 14 November 1971.
  10. The Illustrated London News, vol. 227, Issue 2 (1955), p. 552
  11. 11.0 11.1 "The Danish Monarchy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-25. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
  12. "radical royalist: January 2012". 13 January 2012. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
  13. Bysted A/S. "The Monarchy today – The Danish Monarchy". Kongehuset.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  14. "Queen Margrethe II of Denmark marks 40 years on the throne". BBC News. Denmark. 12 January 2012.
  15. http://www.theroyalforums.com/34901-queen-margrethes-ruby-jubilee-festivities/
  16. 16.0 16.1 "Margrethe and Henrik Biography". Royalinsight.net. 1940-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  17. http://www.imdb.com/title/tt1499643/
  18. "The Royal Order of Sartorial Splendor: Flashback Friday: Queen Margrethe's Style". Orderofsplendor.blogspot.com. 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  19. "The 50 best-dressed over 50s". The Guardian.
  20. "BBC News". BBC News. 2001-03-23. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  21. "Denmark's Queen Margrethe strips four grandchildren of royal titles". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 28 September 2022. สืบค้นเมื่อ 29 September 2022.
  22. Gettyimages
  23. Ruby Jubilee in Sweden
  24. Boletín Oficial del Estado
  25. Boletín Oficial del Estado
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ ๒ แห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเฮนริก แห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี และเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑
  27. "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (pdf) (ภาษาเยอรมัน). p. 168. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
  28. Photos : Albert II & Margrethe II, Group photo เก็บถาวร 2012-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. Icelandese Presidency Website เก็บถาวร 2014-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Margrethe
  30. Lithuanian Presidency เก็บถาวร 2014-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lithuanian Orders searching form
  31. Official decree, 13/02/2008
  32. Photo เก็บถาวร 2014-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Danish Royal couple with the Slovakian Presidential couple
  33. "Noblesse et Royautes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก
(14 มกราคม ค.ศ. 1972 – 14 มกราคม ค.ศ. 2024)
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10