สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
สำนักงานใหญ่ ณ เจนีวา | |
ชื่อย่อ | ITU |
---|---|
ก่อตั้ง | 17 พฤษภาคม 1865 |
ประเภท | หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ |
สํานักงานใหญ่ | เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
เลขาธิการ | ดอรีน บ็อกดาน-มาร์ติน |
รองเลขาธิการ | Tomas Lamanauskas |
องค์กรปกครอง | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ |
เว็บไซต์ | itu.int |
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telecommunication Union - ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ในกรณีของงานบริการไปรษณีย์
องค์ประกอบสหภาพ
[แก้]สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีสำนักเลขาธิการใหญ่ ซึ่งมีเลขาธิการ (อังกฤษ: Secretary General) เป็นผู้บริหารสูงสุด ในการบริหารจัดการงานรายวันของสหภาพฯ และภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 ภาคส่วน ในภารกิจด้านต่าง ๆ ดังนี้[1][2]
- ภาคการสื่อสารวิทยุ (ITU-R, Radiocommunication Sector) - มีหน้าที่บริหารแถบคลื่นความถี่วิทยุระหว่างประเทศ และทรัพยากรต่างๆ สำหรับการโคจรของดาวเทียม ITU-R มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Bureau, BR) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาการวิทยุระหว่างประเทศ (International Radio Consultative Committee, CCIR)[3]
- ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (ITU-T, Telecommunication Standardization Sector) - การกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม เป็นกิจกรรมที่มีมาช้านานของสหภาพฯ และเป็นภารกิจที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในระดับสากล ITU-T มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Bureau, TSB) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Telephone and Telegraph Consultative Committee, CCITT)[4]
- ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (ITU-D, Telecommunication Development Sector) - จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศในนานาประเทศ อย่างเท่าเทียม พอเพียง และด้วยค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้ ITU-D มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau, BDT)[5]
- ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU TELECOM) - เป็นการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และนิทรรศการระหว่างประเทศ โดยนำเทคโนโลยีชั้นนำ จากอุตสาหกรรมไอซีทีมาจัดแสดง รวมทั้งเชิญรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน และผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ มาร่วมการประชุม เพื่อนำเสนอ และอภิปรายปัญหาการสื่อสารในระดับโลกด้วย[6]
สมาชิก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมาชิกภาพของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมี 3 ประเภท คือ[7]
- ประเทศสมาชิก (Member States) ปัจจุบันมีจำนวน 191 ประเทศ
- ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Sector Members) ปัจจุบันมีจำนวน 572 ราย
- สมาคม (Associates) ปัจจุบันมีจำนวน 153 แห่ง
สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
[แก้]สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU Council) ได้รับการจัดตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของสมาชิกสหภาพฯ ทั้งหมด ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนสมาชิกสหภาพฯ ทั้งหมด ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพฯ โดยให้มีความเสมอภาค ตามจำนวนที่นั่งของสมาชิก ใน 5 ภูมิภาคตามการจัดแบ่งเพื่อการบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ คือ[8]
- ภูมิภาค A - ทวีปอเมริกา
- ภูมิภาค B - ทวีปยุโรป ฝั่งตะวันตก
- ภูมิภาค C - ทวีปยุโรป ฝั่งตะวันออก
- ภูมิภาค D - ทวีปแอฟริกา
- ภูมิภาค E - ทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลีย
ปัจจุบัน สภาบริหารสหภาพฯ มีสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศ[9]
สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีบทบาทในการพิจารณาปัญหาเชิงนโยบาย ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในช่วงที่ยังไม่ถึง กำหนดการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพฯ เพื่อให้การดำเนินงาน นโยบาย และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของสหภาพฯ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในยุคโลกาภิวัตน์ สภาบริหารนี้ มีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับนโยบาย และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ให้แก่สหภาพฯ นอกจากนั้น ยังรับผิดชอบในการดำเนินงานประจำวันของสหภาพฯ การประสานโครงการ และการอนุมัติและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่ายของสหภาพฯ ด้วย
การประชุมระดับโลกว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 (WCIT-12)
[แก้]ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ITU จัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 (WCIT-12) ในดูไบ WCIT-12 เป็นการประชุมระดับสนธิสัญญาเพื่อจัดการกฎระหว่างประเทศแก่โทรคมนาคม รวมทั้งพิกัดอัตราระหว่างประเทศ[10] รัฐมนตรีโทรคมนาคมจาก 193 ประเทศเข้าร่วมประชุม[11] การประชุมครั้งที่ผ่านมาเพื่อปรับระเบียบโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITR) จัดขึ้นในเมลเบิร์นใน พ.ศ. 2531[12]
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ITU เรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือสาธารณะบนเอกสารร่างก่อนหน้าการประชุม[13] มีการอ้างว่า ข้อเสนอจะอนุญาตให้รัฐบาลจำกัดหรือบล็อกสารสนเทศที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตและสร้างระบอบการกำกับการสื่อสารอินเทอร์เน็ตทั่วโลก รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้ที่รับและส่งสารสนเทศต้องระบุตนเอง นอกจากนี้ยังให้รัฐบาลปิดอินเทอร์เน็ตได้หากมีความเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตอาจแทรกแซงกิจการภายในของัฐอื่นหรือาสารสนเทศที่ละเอียดอ่อนอาจถูกแบ่งปันได้[11]
โครงสร้างระเบียบปัจจุบันมีรากฐานอยู่บนโทรคมนาคมเสียง เมื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่งเกิด เมื่อ พ.ศ. 2531 โทรคมนาคมดำเนินการอยู่ภายใต้การผูกขาดระเบียบในประเทศส่วนใหญ่ เมื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้น องค์การอย่าง ICANN จึงกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการทรัพยากรสำคัญอย่าง ที่อยู่อินเทอร์เน็ตและชื่อโดเมน บางคนที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าสหรัฐอเมริกากำกับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป[14]
การเป็นสมาชิกของประเทศไทย
[แก้]ประเทศไทยเริ่มเป็นสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ในสมัยที่ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)[15] ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริหารของสภาสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 7 สมัย คือ [16]
- ปี ค.ศ. 1973-1977
- ปี ค.ศ. 1982-1985
- ปี ค.ศ. 1989-1993
- ปี ค.ศ. 1994-1997
- ปี ค.ศ. 1998-2002
- ปี ค.ศ. 2003-2006
- ปี ค.ศ. 2007-2010 - กรรมการบริหารในภูมิภาค E (เอเซียและออสเตรเลีย)
การเป็นประเทศสมาชิกของประเทศไทยมี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เป็นหน่วยงานอำนวยการในนามประเทศไทยของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารและกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศ [17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""About ITU"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ITU's history"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Radiocommunication Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Standardization Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Development Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-18. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ITU Telecom"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Membership & Overview"". International Telecummunication Union. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""The ITU Council"". International Telecommunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Council of the ITU (2006-2010) "". International Telecommunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "World Conference on International Telecommunications 2012". Itu.int. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
- ↑ 11.0 11.1 "United Nations wants control of web kill switch". news.com.au. November 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ November, 2012.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "International Telecommunication Regulations" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
- ↑ "ITU opens public consultation on internet regulation treaty". 16 August, 2012. สืบค้นเมื่อ November, 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Russia calls for internet revolution". Indrus.in. 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
- ↑
Gray, Vanessa; Kelly, Tim; Minges, Michael (2002), "Bits and Bahts - Thailand Internet Case Study" (PDF), Geneva, Switzerland: International Telecommunication Union, p. 5, สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Thailand elected for membership of ITU Executive Council for 7th consecutive term"". กระทรวงการต่างประเทศ. 2006-12-18. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ https://www.itu.int/online/mm/scripts/gensel9?_ctryid=1000100428&_ctryname=Thailand