สาธารณรัฐบาตาเวีย
สาธารณรัฐบาตาเวีย (1795–1801) Bataafse Republiek เครือจักรภพบาตาเวีย (1801–1806) Bataafs Gemenebest | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1795–1806 | |||||||||
สาธารณรัฐบาตาเวียใน ค.ศ. 1797 | |||||||||
สถานะ | สาธารณรัฐบริวารของฝรั่งเศส | ||||||||
เมืองหลวง | กรุงเฮก | ||||||||
ภาษาราชการ | ดัตช์ ฝรั่งเศส | ||||||||
ภาษากลาง | ฟรีเชีย เยอรมัน | ||||||||
เดมะนิม | ชาวบาตาเวีย | ||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐปฏิวัติ | ||||||||
รัฐบาล | |||||||||
• 1795 | คณะกรรมาธิการปฏิวัติ | ||||||||
• 1795–1796 | รัฐสภา | ||||||||
• 1796–1798 | สมัชชาแห่งชาติ | ||||||||
• 1798–1801 | ฝ่ายบริหาร (Uitvoerend Bewind) | ||||||||
• 1801–1805 | สภาแห่งรัฐ (Staatsbewind) | ||||||||
• 1805–1806 | Rutger Jan Schimmelpenninck | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส | ||||||||
19 มกราคม 1795 | |||||||||
16 พฤษภาคม 1795 | |||||||||
5 มิถุนายน 1806 | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1795 | 1,883,009[1] | ||||||||
• 1806 | 2,178,000[2] | ||||||||
สกุลเงิน | กิลเดอร์ | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี |
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
| ||||
---|---|---|---|---|
ราชอาณาจักรแฟรงก์ (คริสต์ศตวรรษที่ 5-10) |
ฟริเซีย (600-734) | |||
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800 | ||||
แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) | อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย) (843–870) | |||
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (870–880) | ||||
แฟลนเดอส์ (862–1384) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ ศตวรรษ ที่ 10–14) |
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี) (880-1190) | |||
บิชอปแห่ง ลีแยฌ (980-1794) ดัชชีบูลียง (988-1795) แอบบีย์ สตาวีลอต -มาลเมดีย์ (1138-1795) |
ดัชชีบราบันต์ (1183-1430) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) |
เคาน์ตี/ ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (963–1443) |
เคาน์ตีฮอลแลนด์ (880-1432) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) | |
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล) (1482–1556) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของสเปน (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1556–1714) |
สาธารณรัฐดัตช์ (1581–1795) | |||
เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1714–1795) | ||||
การปฏิวัติลีแยฌ (1789–1792) |
สหรัฐเบลเยียม (1790) |
|||
ตกเป็นส่วนหนึ่งของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (1795–1804) และ จักรวรรดิฝรั่งเศส (1804–1815) |
สาธารณรัฐ บาตาเวีย (1795–1806) | |||
ราชอาณาจักร ฮอลแลนด์ (1806–1810) | ||||
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (1815-1830) | ||||
ราชอาณาจักรเบลเยียม (ตั้งแต่ 1830) |
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (รัฐร่วมประมุข) |
ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ (ตั้งแต่ 1830) | ||
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (ตั้งแต่ 1890) |
สาธารณรัฐบาตาเวีย (ดัตช์: Bataafse Republiek; ฝรั่งเศส: République Batave) เป็นรัฐสืบทอดจากสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์แห่งมณฑลทั้งเจ็ด โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1795 และสิ้นสุดลงเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1806 เมื่อ หลุยส์ โบนาบาร์ต ได้รับการราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1801 สาธารณรัฐได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เครือจักรภพบาตาเวีย (ดัตช์: Bataafs Gemenebest) โดยคำว่า "บาตาเวีย" เป็นชื่อของกลุ่มชนเจอร์แมนิก ซึ่งเป็นตัวแทนของบรรพบุรุษดัตช์ที่ก่อตั้งดินแดนในแถบนี้ โดยวัตถุประสงค์ในการใช้ชื่อนี้ก็เพื่อปลุกความเป็นชาตินิยม
ในช่วงต้น ค.ศ. 1795 ดินแดนเนเธอร์แลนด์ได้ถูกเข้าแทรกแซงโดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส นำไปสู่การล่มสลายลงของสาธารณรัฐดัตช์เก่า ในขณะที่สาธารณรัฐใหม่นั้นได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากชาวดัตช์ ซึ่งถือเป็นผลพวงจากการปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนโดยประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปฏิวัติในครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศส จึงทำให้สาธารณรัฐบาตาเวียกลายเป็นรัฐบริวารแห่งแรกในบรรดาสาธารณรัฐพี่น้องของฝรั่งเศส และต่อมาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียนในที่สุด การเมืองการปกครองจึงได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสที่สนับสนุนให้มีการรัฐประหารยึดอำนาจอย่างน้อยสามครั้งจนกว่าจะได้ขั้วอำนาจที่ฝรั่งเศสต้องการในขณะนั้น แต่ถึงกระนั้นการร่างรัฐธรรมนูญดัตช์นั้นขับเคลื่อนโดยตรงจากการเมืองภายในประเทศโดยปราศจากอิทธิพลของฝรั่งเศส จนกระทั่งจักรพรรดินโปเลียนได้บังคับรัฐบาลดัตช์ในการรับรองพระอนุชาของพระองค์ หลุยส์ โบนาปาร์ต ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์[3]
การปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นของสาธารณรัฐบาตาเวียนี้ส่งผลในระยะยาวต่อชาวดัตช์ โครงสร้างการปกครองแบบสมาพันธรัฐของสาธารณรัฐดัตช์เก่านั้นได้ถูกแทนที่ด้วยระบบรัฐเดี่ยว โดยรัฐธรรมนูญที่รับร่างกันเมื่อปีค.ศ. 1798 ถูกยอมรับกันว่ามีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งในชั่วขณะหนึ่งได้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยจนกระทั่งการรัฐประหาร ค.ศ. 1801 ทำให้รัฐบาลตกอยู่ในปกครองของกลุ่มอำนาจต่างๆ ซึ่งก็ตามมาด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้นได้ช่วยทำให้การเปลี่ยนผ่านในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปีค.ศ. 1848 โดยโยฮาน รูดอล์ฟ ธอร์เบก ที่มีสาระสำคัญในการจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ นั้นราบรื่นไปได้ด้วยดี โดยได้มีการก่อตั้งกระทรวงต่างๆ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์ที่ยังคงเป็นรากฐานการปกครองมาจวบจนปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าจะมีสถานะเป็นรัฐบริวารของฝรั่งเศส แต่รัฐบาลบาตาเวียในวาระต่างๆ กันที่อยู่ในอำนาจก็พยายามที่จะปกครองประเทศอย่างอิสระเพื่อผลประโยชน์ของชาวดัตช์มากกว่าชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ปกครอง ซึ่งการแข็งข้อนี้นำไปสู่จุดจบของสาธารณรัฐใหม่นี้ ภายหลังจากที่ได้มีการทดลองการปกครองแบบเผด็จการภายใต้การนำของ "Grand Pensionary" ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสายตาของจักรพรรดินโปเลียน แม้แต่กษัตริย์พระองค์ใหม่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งฮอลแลนด์ (พระอนุชาในพระจักรพรรดินโปเลียน) ก็ยังปฏิเสธที่จะอ่อนน้อมต่อรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่จุดจบของพระองค์ในที่สุด
ภูมิหลัง
[แก้]วาระสุดท้ายของสาธารณรัฐดัตช์ซึ่งปกครองเนเธอร์แลนด์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มีมูลเหตุมาจากผลลัพธ์ของสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สี่ โดยพรรคผู้รักชาติ (Patriottentijd) ได้ทำการก่อปฏิวัติต่อการปกครองของสตัดเฮาเดอร์วิลเลิมที่ 5 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกเข้าแทรกแซงจากพระเทวัน (พี่เขย) พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1787 เป็นผลทำให้เหล่าผู้ปฏิวัติได้ลี้ภัยในฝรั่งเศส ในขณะที่ฝั่งเนเธอร์แลนด์โดยระบอบเก่านั้นได้ปรับการปกครองให้เข้มงวดขึ้นโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Grand Pensionary) ลอเรนส์ ปีเตอร์ แวน เดอ สปีเกิล ผู้นิยมระบอบกษัตริย์ และทำให้เนเธอร์แลนด์มีสถานะเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ-ปรัสเซียโดยพฤตินัย และต่อมาได้ลงนามในพระราชบัญญัติรับรอง (Act of Guarantee) อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1788 โดยที่บริเตนใหญ่ และปรัสเซีย เป็นผู้รับรองสถานะ อีกทั้งยังได้ร่วมในกลุ่มไตรภาคีเป็นพันธมิตรกันทั้งสามประเทศ
การปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งรับเอาแนวคิดทางการเมืองต่างๆ มาหล่อหลอมเหล่าคณะผู้รักชาติชาวดัตช์ทำให้ปลุกแนวคิดปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง โดยได้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศส และเมื่อกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสได้เริ่มก่อการเหล่าคณะผู้รักชาติก็มิได้ลังเลเพื่อร่วมปลดปล่อยจากการปกครองอันกดขี่โดยระบอบเก่า ฝั่งเนเธอร์แลนด์ นำโดยสตัดเฮาเดอร์ ก็ได้นำประเทศเข้าร่วมกลุ่มประเทศสหสัมพันธมิตรเพื่อต่อต้านการรุกรานโดยกองทัพของสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่ก็พ่ายแพ้ในที่สุด
การก่อตั้งสาธารณรัฐ
[แก้]สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสได้ลุกลามเข้าสู่เนเธอร์แลนด์ในช่วงฤดูหนาวปีค.ศ. 1794 กองทัพฝรั่งเศสได้รุกข้ามแม่น้ำที่เย็นจนเป็นน้ำแข็งอันเคยเป็นพรมแดนทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากข้าศึกภายนอก และได้รับความช่วยเหลือจากภายใน โดยเฉพาะเหล่าประชาชนจำนวนมากที่ทนไม่ไหวต่อการปกครองในระบอบเก่าโดยต้องการการปลดปล่อย[4]และน้อมรับการช่วยเหลือของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสสามารถตีฝ่าแนวป้องกันของกองทัพสหสัมพันธมิตร ได้แก่ บริเตนใหญ่ และปรัสเซีย ได้อย่างราบคาบ แต่อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นแล้วในหัวเมืองต่างๆ ก่อนที่ทัพฝรั่งเศสจะเข้ามาถึงโดยมีคณะกรรมาธิการปฏิวัติเป็นผู้ปกครองชั่วคราวตามเมืองที่ก่อการสำเร็จ และยังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวด้วยในเวลาไล่เลี่ยกัน[5] วิลเลิมที่ 5 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ได้หลบหนีลี้ภัยที่อังกฤษผ่านทางเรือหาปลาเมื่อ 18 มกราคม ค.ศ. 1795[6]
ที่มา
[แก้]- Israel, J.I. (1995), The Dutch Republic: Its Rise, Greatness and Fall, 1477–1806, Oxford University Press,ISBN 0-19-873072-1 hardback, ISBN 0-19-820734-4 paperback
- Schama, S. (1977). Patriots and Liberators. Revolution in the Netherlands 1780–1813. New York: Vintage books. ISBN 0-679-72949-6.
- Vries, J. de, and Woude, A. van der (1997), The First Modern Economy. Success, Failure, and Perseverance of the Dutch Economy, 1500–1815, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-57825-7
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Volkstelling in de Nederlandsche Republiek, uitgegeven op last der commissie tot het ontwerpen van een plan van constitutie voor het volk van Nederland". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 June 2014.
- ↑ The Netherlands: country population เก็บถาวร 26 ธันวาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jan Lahmeyer. Retrieved on 28 September 2013.
- ↑ Schama, pp. 245–270.
- ↑ Schama, p. 187; Israel, p. 1120.
- ↑ Schama, pp. 188–190.
- ↑ Schama, p. 191.