ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลดาเกแนมแอนด์เรดบริดจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์
ชื่อเต็มDagenham & Redbridge Football Club
ฉายาเดอะ แดกเกอส์
ก่อตั้ง1992
สนามเดอะชิกเวลล์ คอนสตรัคชัน สเตเดียม
ความจุ6,078[1]
เจ้าของทรินิตี สปอร์ต โฮลดิงส์
ผู้จัดการดารีล แม็คมาน สาธารณรัฐไอร์แลนด์
ลีกเนชันนัล ลีก
2019–20อันดับ 17, เนชันนัล ลีก
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ (อังกฤษ: Dagenham & Redbridge Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เขตดาเกแนม เมืองบาร์กกิง แอนด์ ดาเกแนม ทางตะวันออกของมณฑลเกรเทอร์ลอนดอน มีฉายาว่า เดอะ แดกเกอส์ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับเนชันนัลลีก ซึ่งเป็นลีกระดับ 5 ในระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1992 จากการควบรวมกิจการของ สโมสรฟุตบอลเรดบริดจ์ ฟอเรสต์ และ สโมสรฟุตบอลดาเกแนม ไว้ด้วยกัน โดยมักถูกสื่อมวลชนและแฟนฟุตบอลเรียกอย่างย่อว่า ดาร์เกแนม และเขียนชื่อสโมสรอย่างย่อว่า แด้ก แอนด์ เรด

สโมสรมีสนามเหย้าคือสนาม เดอะ ชิกเวลล์ คอนสตรัคชัน สเตเดียม และมีคู่แข่งสำคัญในละแวกลอนดอนตะวันออกคือสโมสรฟุตบอลเลย์ตัน โอเรียนท์ โดยผลงานที่ดีที่สุดของสโมสรคือการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 21 ในลีกวัน ฤดูกาล 2010–11

ประวัติสโมสร

[แก้]

ส่วนของเรดบริดจ์ ฟอเรสต์

[แก้]

รากฐานของสโมสรเกิดขึ้นที่แถบลอนดอนตะวันออก ของเกรเทอร์ลอนดอน ​เริ่มจาก ​สโมสรฟุตบอลอิลฟอร์ด​ ที่ก่อตั้งในปี 1881 ได้ย้ายออกจากย่านอิลฟอร์ด ไปยังเลย์ตันสโตน และควบรวมกิจการกับ ​สโมสรฟุตบอลเลย์ตันสโตน​ ในปี 1979 เพื่อก่อตั้งเป็นสโมสรใหม่คือ ​สโมสรฟุตบอลเลย์ตันสโตนแอนด์อิลฟอร์ด​ ต่อมาในปี 1988 ก็ได้มีการควบรวมกิจการกับสโมสรอื่นอีกครั้งโดยรวมกับ ​สโมสรฟุตบอลวอลแทมสโตว์ อเวนิว​ และย้ายไปใช้สนามเหย้าที่วอลแทมสโตว์ แต่มิได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ โดยเลย์ตันสโตนแอนด์อิลฟอร์ด สามารถคว้าแชมป์ลีกระดับสมัครเล่นอิสท์เมียนลีก ฤดูกาล 1988–89 ได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับคอนเฟเรนซ์​ซึ่งเป็นลีกกึ่งอาชีพได้เนื่องจากสนามเหย้าเดิมได้ถูกขายให้กลุ่มนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วและสโมสรไม่สามารถหาสนามเหย้าที่ผ่านมาตรฐานของลีกกึ่งอาชีพ ก่อนที่ในปีต่อมาสโมสรจะเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลเรดบริดจ์ ฟอเรสต์ และทำการยืมสนามวิกตอเรีย โรด ของสโมสรฟุตบอลดาเกแนม มาใช้เป็นสนามเหย้า

ต่อมาสโมสรสามารถคว้าแชมป์อิสต์เมียนลีก ฤดูกาล 1990–91 ได้สำเร็จพร้อมกับเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในระดับคอนเฟเรนซ์ ฤดูกาล 1991–92 โดย เรดบริดจ์ ฟอเรสต์ ได้แข่งขันในคอนเฟเรนซ์อยู่หนึ่งฤดูกาลและจบด้วยอันดับที่ 7

ส่วนของดาเกแนม

[แก้]

สโมสรฟุตบอลดาเกแนม ตั้งอยู่ที่ลอนดอนตะวันออก และเคยแข่งขันในคอนเฟเรนซ์​ ตั้งขึ้นเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรฟุตบอลดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1992 จากการควบรวม สโมสรฟุตบอลเรดบริดจ์ ฟอเรสต์ ในระดับฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ และ สโมสรฟุตบอลดาเกแนม ในระดับอิสธเมียน พรีเมียร์ลีก โดยทั้ง 2 สโมสรกำลังประสบปัญหาเรื่องผู้ชมในสนามที่ลดน้อยลง หลังจากมีการควบรวมกิจการสโมสร และก่อตั้งขึ้นใหม่ในชื่อ ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ สโมสรได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ แทนที่สโมสรเรดบริดจ์ ฟอเรสต์ ที่ถูกยุบไป

การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสโมสรเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1992 ในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ ฤดูกาล 1992–93 โดยดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ บุกไปเอาชนะสโมสรฟุตบอลเมอร์เธอร์ ทิดฟิล 0–2 ที่สนามเพนีดาร์เรน พาร์ก, เวลส์[2] โดยสโมสรวนเวียนอยู่ในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ และตกชั้นไปสู่อิสธเมียน พรีเมียร์ในปี ค.ศ.1996

หลังจากตกชั้นไปสู่อิสธเมียน พรีเมียร์ สโมสรเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาในระดับฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ได้อีกครั้ง ด้วยการคว้าแชมป์อิสธเมียน พรีเมียร์ ฤดูกาล 1999–2000 และกลายเป็นสโมสรที่แข็งแกร่งสโมสรหนึ่งในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ โดยจบฤดูกาลด้วยการคว้าอันดับ 3, รองแชมป์ และอันดับ 5 ใน 3 ฤดูกาลแรกที่กลับเข้ามา

ฤดูกาล 2001–02 สโมสรใกล้เคียงกับการได้เลื่อนชั้นขึ้นไปสู่ฟุตบอลลีกอย่างยิ่ง เมื่อต้องขับเคี่ยวในการคว้าแชมป์กับ สโมสรฟุตบอลบอสตัน ยูไนเต็ด และจบฤดูกาลด้วยการทำคะแนนได้เท่ากัน ทำให้ต้องตัดสินแชมป์กันด้วยผลต่างประตูได้เสีย โดยสโมสรต้องพลาดหวังในการเลื่อนชั้น เมื่อมีผลต่างประตูได้เสียที่เป็นรอง โดยได้เพียงแค่ตำแหน่งรองแชมป์ และต้องเล่นอยู่ในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ต่อไป

แม้จะยังคงต้องเล่นในลีกระดับล่าง แต่ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ ยังคงทำผลงานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยฤดูกาล 2003–04 สามารถสร้างสถิติชนะขาดลอยมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ เมื่อเปิดสนามวิกตอเรีย โรด ถล่ม สโมสรฟุตบอลเฮเรฟอร์ด ยูไนเต็ด ที่เหลือผู้เล่น 10 คน ถึง 9–0 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2004 [3]

เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก

[แก้]

ในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ ฤดูกาล 2006–07 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้สำเร็จ โดยมีคะแนนทิ้งห่างอันดับสองอย่าง ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด ถึง 14 คะแนน และได้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก ซึ่งเป็นลีกอาชีพได้เป็นครั้งแรก

ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ ลงแข่งขันฟุตบอลลีก เป็นนัดแรก เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.2007 ในลีกทู โดยบุกไปแพ้ต่อสโมสร สต๊อกพอร์ต เคาน์ตี 1–0 ที่สนามเอ็ดเจลีย์ พาร์ก [4] และพบกับชัยชนะเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.2007 ในนัดที่ชนะ ลินคอล์น ซิตี ที่บ้านของตัวเอง 1–0[5] ก่อนจะหนีตกชั้นได้สำเร็จด้วยการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 20

ฤดูกาล 2009–10 สโมสรประสบความสำเร็จด้วยการคว้าอันดับที่ 7 ในตารางคะแนน ทำให้ได้สิทธิในการแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกวัน โดยในการแข่งขันเพลย์ออฟรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.2010 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ สโมสรสามารถเอาชนะ ร็อทเธอร์แฮม ยูไนเต็ด ไปได้ 3–2 พร้อมกับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกวัน ได้อย่างเหนือความคาดหมาย

ลีกวัน

[แก้]

ฤดูกาล 2010–11 สโมสรฟุตบอลดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ ลงแข่งขันในฟุตบอลลีกวัน ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรเป็นต้นมา โดยการแข่งขันนัดแรกในระดับฟุตบอลลีกวัน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ.2010 โดยดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์แพ้ให้กับสโมสรเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ 2–0 ต่อมาสโมสรเก็บแต้มแรกได้ในนัดที่เสมอกับ ทรานเมียร์ โรเวอส์ 2–2

สำหรับชัยชนะนัดแรกในลีกวัน เกิดขึ้นในการแข่งขันกับสโมสรฟุตบอล เลย์ตัน โอเรียนท์ โดยดาเกแนมฯ เอาชนะไปได้ 2–0 ด้วยการเหมาทำคนเดียว 2 ประตู จาก โรแม็ง แว็งแซลอต กองกลางชาวฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามตลอดทั้งฤดูกาล สโมสรต้องพบกับความพ่ายแพ้ถึง 23 นัด และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 21 ต้องตกชั้นกลับไปเล่นในฟุตบอลลีกทูในที่สุด

คดีการกำหนดผลการแข่งขัน

[แก้]

ในปี ค.ศ.2013 หนังสือพิมพ์ในอังกฤษได้รายงานข่าวการสืบสวนคดีที่มีการกำหนดผลการแข่งขันในลีกอาชีพระดับล่างของอังกฤษ โดยหน่วยสืบสวนอาชญากรรมของสหราชอาณาจักร (National Crime Agency หรือ NCA) ได้ตามสืบสวนคดีกว่า 1 ปีจนนำไปสู่การจับกุม 3 นักฟุตบอล และกลุ่มนักธุรกิจ ก่อนจะมีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยในคดี [6]

โดย ไมเคิล บัวเต็ง ,ฮาคีม อเดลาคุน และ โมเสส ซไวบู 3 นักฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลไวท์ ฮอว์ก ในลีกสมัครเล่นได้ถูกจับกุม ในข้อหาร่วมกันพยายามติดสินบนเพื่อกำหนดผลการแข่งขันระหว่างเอเอฟซี วิมเบิลดัน และดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ ในการแข่งขันฟุตบอลลีกทูเดือนพฤศจิกายน 2013 [7][8] [9][10] [11][12] โดยศาลเมืองเบอร์มิงแฮม ได้ยกฟ้องฮาคีม อเดลาคุน และลงโทษจำคุกไมเคิล บัวเต็ง และโมเสส ซไวบู คนละ 16 เดือน

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2015

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK อังกฤษ เลียม โอไบรอัน
2 DF อังกฤษ โจช พาสลีย์
3 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ แจ็ค คอนเนอส์
5 DF จาเมกา ไนรอน นอสเวอธี
6 DF ฝรั่งเศส เคลวิด ดิกาโมนา
7 FW อังกฤษ เจมี เคียวตัน
8 MF ตรินิแดดและโตเบโก อังเดร บูโก (กัปตัน)
9 FW ไอร์แลนด์เหนือ แม็ตต์ แม็คคลัวร์
10 MF อังกฤษ แอชลีย์ แชมเบอส์
11 MF อังกฤษ ซาวอน ไฮนส์
12 FW เวลส์ คริสเตียน ดอยจ์
14 MF อังกฤษ แม็ตต์ ริชาร์ด
16 DF อังกฤษ เอียน กายล์
17 MF อังกฤษ โจดี โจนส์
18 MF อังกฤษ แฟรงกี เรย์มอนด์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 FW อังกฤษ อเดโอเย ยูซุฟ
20 MF ฟินแลนด์ นิโก ฮามาไลเนน (ยืมตัวจาก ควีนส์พาร์ก เรนเจอส์)
21 DF อังกฤษ แมตต์ พาร์ทริดจ์
23 MF อังกฤษ แอชลีย์ เฮมมิงส์
25 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เคน เฟอร์ดินานด์
29 DF อังกฤษ อโยโอบิเอเล (ยืมตัวจาก ชาร์ลตัน แอธเลติก)
30 GK อังกฤษ มาร์ค คูซินส์
32 DF ตรินิแดดและโตเบโก จัสติน ฮอยต์
33 DF อังกฤษ โจ วิดโดวสัน
35 GK อังกฤษ ลูอิส มัวร์

ผู้จัดการทีม

[แก้]
ตั้งแต่ ถึง ชื่อ
1992 1994 อังกฤษ จอห์น สติล
1994 1995 อังกฤษ เดฟ คูแซค
1995 1996 อังกฤษ เกรแฮม คาร์
1996 1999 อังกฤษ เทด ฮาร์ดี
1999 2004 อังกฤษ แกรี ฮิลล์
2004 2013 อังกฤษ จอห์น สติล
2013 2015 อังกฤษ เวย์น เบอร์เน็ต
2015 2018 อังกฤษ จอห์น สติล
2018 2019 อังกฤษ ปีเตอร์ เทย์เลอร์
2019 ปัจจุบัน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ดารีล แม็คมาน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. "Ground History". daggers.co.uk. Dagenham & Redbridge Football Club. 17 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-23.
  3. http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/eng_conf/3489720.stm
  4. http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/eng_div_3/6931028.stm
  5. http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/eng_div_3/6963604.stm
  6. http://rakball.net/overview.php?id=71609
  7. http://www.croydonguardian.co.uk/news/10859213.Two_footballers_charged_with_match_fixing/?ref=twtrec
  8. "Two Whitehawk FC players charged with match fixing". The Argus. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
  9. "Match-fixing: Third footballer charged". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  10. "Third former Whitehawk footballer charged in match-fixing investigation". The Argus. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  11. http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-27939919
  12. http://www.independent.co.uk/news/uk/matchfixing-trio-sent-to-prison-9552097.html