อัลฟาและโอเมกา
อัลฟา (alpha; Α หรือ α) และ โอเมกา (omega; Ω หรือ ω) เป็นตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายของชุดตัวอักษรกรีก และเป็นพระสมญานามของของพระคริสต์และพระเจ้าในหนังสือวิวรณ์ ตัวอักษรคู่นี้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์[1] และมักใช้ร่วมกับไม้กางเขน, Chi Rho หรือสัญลักษณ์ในศาสนาคริสต์อื่น ๆ อักษร A (a) และ Z (z) มีความคล้ายคลึงกับอัลฟาและโอเมกา
จุดกำเนิด
[แก้]บันทึกแรกที่เขียนถึงวลี "อัลฟาและโอเมกา" มาจากสำเนาต้นฉบับเก่าบางฉบับของพันธสัญญาใหม่ของศาสนาคริสต์
วลี "เราเป็นอัลฟาและโอเมกา" (ภาษากรีกคอยนี: ἐγώ εἰμί τὸ Ἄλφα καὶ τὸ Ὦ) เป็นพระสมญานามของพระเยซูและพระบิดาในหนังสือวิวรณ์ (วรรค 1:8, 21:6 และ 22:13)[a] ส่วนแรกของวลีนี้ ("เราเป็นอัลฟาและโอเมกา") พบในบทที่ 1 วรรค 8 และพบในทุกสำเนาต้นฉบับของหนังสือวิวรณ์ที่มีวรรค 1:8 หลายสำเนาต้นฉบับในยุคหลังซ้ำวลี "เราเป็นอัลฟาและโอเมกา" ในวรรค 1:11 ด้วย แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสำเนาต้นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดส่วนใหญ่ อันได้แก่ Alexandrine, Sinaitic และ Codex Ephraemi Rescriptus ดังนั้นฉบับแปลสมัยใหม่บางฉบับจึงตัดออกไป นักวิชาการโรเบิร์ต ยัง (Robert Young) กล่าวถึง "เราเป็นอัลฟาและโอเมกา" ใน 1:11 ว่า "[สำเนาต้นฉบับ]เก่าที่สุดตัดออก"[3]
การอ้างอิงที่คล้ายกันพบในอิสยาห์ 44[4][5] เมื่อพระเจ้าทรงตรัสว่าพระองค์เป็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่อื่นในพันธสัญญาใหม่ พระเยซูทรงใช้วลี "เราเป็น" หลายครั้ง โดยเฉพาะในพระวรสารนักบุญยอห์น
ดูเพิ่ม
[แก้]อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- The "I am" of the fourth Gospel by Philip B. Harner ISBN 0-8006-3060-2, 1970
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gauding, Madonna (2009). The Signs and Symbols Bible: The Definitive Guide to Mysterious Markings. New York, NY: Sterling Pub. Co. p. 84. ISBN 9781402770043.
- ↑ Allen, W. Sidney (1987) [1968]. Vox Graeca (third ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 173. ISBN 978-0-521-33367-2.
- ↑ Young, Robert (1977). Young's Concise Commentary on the Holy Bible. p. 180.
- ↑ อิสยาห์ 44:6 -8
- ↑ Interlinear Greek English Septuagint Old Testament (LXX) (ภาษากรีกโบราณ และ อังกฤษ). p. 2432.