อิ
ฮิรางานะ |
คาตากานะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดอักษร | i | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของฮิรางานะ |
以 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของคาตากานะ |
伊 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสเรียกขาน | いろはのイ (อิโระฮะ โนะ อิ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสมอร์ส | ・- | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรเบรลล์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูนิโคด | U+3044, U+30A4 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
อิ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า い มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 以 และคะตะกะนะเขียนว่า イ มีที่มาจากส่วนซ้ายของมันโยงะนะ 伊 ออกเสียงว่า แต่ในการพูดจริงอาจแปรเป็น [i̞] หรือ [j] (เหมือนสะกดด้วย ย) ถ้าอิต่อท้ายคะนะที่มีเสียงสระ เอะ จะทำให้เกิดการลากเสียงเป็นสระ เอ
い เป็นอักษรลำดับที่ 2 อยู่ระหว่าง あ (อะ) กับ う (อุ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ い เป็นอักษรลำดับที่ 1 อยู่ก่อน ろ (โระ)
รูปแบบ | โรมะจิ | ฮิระงะนะ | คะตะกะนะ | เสียงอ่าน |
---|---|---|---|---|
ธรรมดา | i | い | イ | อิ |
ī | いい, いぃ いー, い~ |
イイ, イィ イー, イ~ |
อี | |
ทวิอักษร | yi | いぃ | イィ | ยิ |
ye | いぇ | イェ | เยะ |
อักษรแบบอื่น
[แก้]อักษรแบบอื่นของอิคือคะนะขนาดเล็ก ぃ, ィ ใช้สำหรับแสดงเสียงภาษาต่างประเทศของญี่ปุ่นเช่น ウィ (วิ), クィ (ควิ), スィ (ซิ), ティ (ทิ), ディ (ดิ), フィ (ฟิ) หรือใช้สำหรับลากเสียงสระอิให้ยาวขึ้นเป็น อี
ภาษาไอนุใช้คะตะกะนะขนาดเล็ก ィ เป็นพยัญชนะสะกด [ɪ] เหมือนการสะกดด้วย -ย และอ่านออกเสียงต่างจากภาษาญี่ปุ่น เช่น カィ (ไค), クィ (คุย), ケィ (เค็ย), コィ (โค็ย)
นอกจากนี้ ยุคเมจิตอนต้นมีการเสนอให้ใช้คะตะกะนะ ซึ่งมาจากคะตะกะนะ イ ที่กลับหัวลง เพื่อใช้แทนเสียง ยิ หรือ yi แต่การเสนอก็ตกไป [1]
อักขระ | ยูนิโคด | จิส เอกซ์ 0213[2] | ความหมาย |
---|---|---|---|
ぃ | U+3043 | 1-4-3 | ฮิระงะนะ อิ ตัวเล็ก |
い | U+3044 | 1-4-4 | ฮิระงะนะ อิ |
ィ | U+30A3 | 1-5-3 | คะตะกะนะ อิ ตัวเล็ก |
イ | U+30A4 | 1-5-4 | คะตะกะนะ อิ |
㋑ | U+32D1 | 1-12-60 | คะตะกะนะ อิ ในวงกลม |
ィ | U+FF68 | ไม่มี | คะตะกะนะ อิ ตัวเล็ก ครึ่งความกว้าง |
イ | U+FF72 | ไม่มี | คะตะกะนะ อิ ครึ่งความกว้าง |
ลำดับขีด
[แก้]ฮิระงะนะ い มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นตั้งจากมุมบนซ้าย งอขวาเล็กน้อย แล้วตวัดขึ้น
- ขีดเส้นตั้งจากมุมบนขวา งอซ้ายเล็กน้อย โดยสั้นกว่าเส้นแรก
คะตะกะนะ イ มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นโค้งลงทางซ้ายโดยเริ่มจากด้านบน
- ขีดเส้นตั้งจากกึ่งกลางของเส้นโค้งแรกลงล่าง
คันจิ
[แก้]ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าอิ และขึ้นต้นด้วยอิ มีดังนี้
- 以 伊 位 依 偉 囲 夷 委 威 尉 惟 意 慰 易 椅 為 畏 異 移 維
- 緯 胃 萎 衣 謂 違 遺 医 井 亥 域 育 郁 磯 一 壱 溢 逸 稲 茨
- 芋 鰯 允 印 咽 員 因 姻 引 飲 淫 胤 蔭 院 陰 隠 韻 吋
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 「いろは と アイウエオ」 (ญี่ปุ่น)
- ↑ JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น)