เทศกาลของชาวยิว
เทศกาลของชาวยิว[1](อังกฤษ: Jewish festival) หรือ วันสำคัญในศาสนายูดาห์ เป็นเทศกาลทางศาสนาของชาวยิวบางเทศกาลเกี่ยวข้องกับฤดูการทำไร่ทำนา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการเลี้ยงดูของพระเจ้าตลอดปีที่ผ่านมา และเป็นโอกาสที่จะถวายคืนแด่พระเจ้า บางเทศกาลเป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าปลดปล่อยพวกเขา เทศกาลเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ชาวยิวจะชื่นชมกับสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ ขณะเดียวกันก็เป็นเวลาที่ร่วมกันสารภาพบาปและชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วย
เทศกาลปัสคา
[แก้]เทศกาลปัสคา มีในวันที่ 14 เดือนนิสาน (อาบีบ) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินของยิว (ตรงกับเดือนมีนาคม/เมษายนในปฏิทินสากล)
เทศกาลปัสคาเป็นงานฉลองที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดี ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ภายใต้การนำของโมเสส ในสมัยพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ ทุกครอบครัวจะฆ่าลูกแกะก่อนวันปัสคาหนึ่งวัน หลายคนเดินทางมาที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อการเฉลิมฉลองนี้ แต่การกินเลี้ยงปัสคานั้น ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันก็เป็นงานเลี้ยงแบบครอบครัว อาหารที่รับประทานกันในงานล้วนเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นทาสในอียิปต์ และการหนีจากอียิปต์ทั้งสิ้น คนในครอบครัวจะเล่าเรื่องที่ทูตสวรรค์ของพระเจ้าละเว้นไม่ฆ่าลูกหัวปีในบ้านชาวยิวที่มีเลือดแกะทาไว้หน้าบ้าน แต่ฆ่าลูกหัวปีของคนอียิปต์ทั้งหมด
ในปัจจุบันคนสะมาเรียเท่านั้นที่ฆ่าลูกแกะบูชาแบบดั้งเดิมในเทศกาลปัสคา พวกยิวไม่ทำเช่นนั้นแล้วตั้งแต่ทหารโรมันทำลายพระวิหารในปี ค.ศ. 70[2]
เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ
[แก้]เทศกาลนี้ฉลองตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 21 เดือนนิสาน (อาบีบ ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคม/เมษายนในปฏิทินสากล) เป็นเวลา 7 วัน ตอนที่พวกยิวหนีออกจากอียิปต์ พวกผู้หญิงไม่มีเวลารอให้ขนมปังฟูขึ้น ดังนั้นขนมปังในงานเลี้ยงปัสคาและมื้ออื่น ๆ ตลอดอาทิตย์นั้นจะเป็นขนมปังไร้เชื้อทั้งสิ้น คือเป็นขนมปังที่ไม่ใส่ยีสต์ สัปดาห์ต่อจากเทศกาลปัสคาจึงถือเป็นเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ[3]
เทศกาลถวายผลแรก
[แก้]จัดขึ้นหลังจากวันสะบาโตหนึ่งวันในช่วงเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ (เราไม่รู้วันที่แน่นอนเพราะชาวยิวนับวันตามจันทรคติ จึงทำให้วันของเทศกาลนี้เปลี่ยนไปทุกปี) ในวันนี้จะมีการถวายข้าวบาร์เลย์ฟ่อนแรกที่ได้จากการเก็บเกี่ยว จึงถือเป็นเทศกาลถวายผลแรก[4]
เทศกาลเพนเทคอสต์ (ฉลองการเก็บเกี่ยว)
[แก้]บางครั้งเรียกว่าเทศกาลสัปดาห์ จัดขึ้นหลังจากเทศกาลปัสคาห้าสิบวัน (คำว่า เพนเทคอสต์ มีรากศัพท์มาจากคำภาษา
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนายูดาห์ |
---|
บทความนี้เกี่ยวข้องกับ ศาสนายูดาห์ | |
พระเป็นเจ้า | |
อโดนาย (ยฮวฮ) | |
ศาสดา | |
โมเสส | |
คัมภีร์ | |
คัมภีร์ทานัค (โทราห์ • ผู้เผยพระวจนะ • ปรีชาญาณ) • คัมภีร์ทาลมุด | |
บุคคลสำคัญ | |
อับราฮัม • อิสอัค • ยาโคบ • โมเสส • อาโรน • ดาวิด • ซาโลมอน • ซาร่าห์ • รีเบคก้า • ราเชล • ลีอาห์ | |
ประวัติ | |
ประวัติศาสนายูดาห์ : วงศ์วานอิสราเอล • แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ • ปัญหาชาวยิว • เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี • การต่อต้านยิว | |
นิกาย | |
ยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ (Haredi • Hasidic • ยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ดั้งเดิม) • ยูดาห์อนุรักษนิยม • ยูดาห์ปฏิรูป | |
พิธีกรรม | |
สุหนัต • สะบาโต • ปัสคา • เซเดอร์ | |
สังคมศาสนายูดาห์ | |
ธรรมศาลายิว • ปฏิทินฮีบรู • วันสำคัญ • ปุโรหิต (รับบี • ฟาริสี • สะดูสี) • ชาวยิว • ศิลปะ • สัญลักษณ์ | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศาสนายูดาห์ในประเทศไทย อภิธานศัพท์ศาสนายูดาห์ | |
ดูหมวดหมู่ |
กรีกที่แปลว่า "ห้าสิบ") ชาวยิวจะถวายขนมปังสองก้อนที่ทำด้วยแป้งข้าวใหม่พร้อมกับเครื่องธัญญบูชาแด่พระเจ้า เป็นเทศกาลฉลองหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวสาลีเสร็จแล้วเพื่อขอบคุณพระเจ้าสำหรับพื้นแผ่นดินและผลิตผลอันเป็นของประทานมาจากพระองค์ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 100 ชาวยิวถือว่าวันเพนเทคอสต์เป็นวันที่พระเจ้าประทานธรรมบัญญัติจากภูเขาซีนาย และในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ก็ถือว่าวันนี้เป็นวันที่พระเจ้าได้ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่บรรดาผู้เชื่อ[5][6]
เทศกาลเสียงแตร (ฉลองปีใหม่)
[แก้]โดยปกติในวันแรกของแต่ละเดือนและแต่ละเทศกาล จะมีการเป่าแตรเป็นสัญญาณ แต่ในวันแรกของเดือนที่เจ็ด (เดือนกันยายน/ตุลาคม) จะเป่าแตรฉลองเป็นพิเศษ เป็นวันแห่งการพักผ่อนและนมัสการ จะมีการถวายสัตวบูชาเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดือนเจ็ดเป็นเดือนที่สำรวมที่สุดของปี หลังจากสมัยที่เคยเป็นเชลยของบาบิโลน ชาวยิวเปลี่ยนเทศกาลนี้ให้เป็นการฉลองปีใหม่ แต่ยังนับเดือนนิสาน (เดือนมีนาคม/เมษายน) เป็นเดือนแรกในปีปฏิทินเหมือนเดิม จุดประสงค์ของเทศกาลนี้ก็เพื่อจะถวายชนชาติอิสราเอลต่อพระเจ้า ให้เป็นที่โปรดปรานต่อพระพักตร์พระองค์ [7]
เทศกาลวันลบมลทิน
[แก้]ในวันที่สิบเดือนที่เจ็ดเป็นวันลบล้างมลทินบาป เป็นวันฉลองพิเศษประจำปีที่คนทั้งชาติจะสารภาพบาปของตน และขอให้พระเจ้าอภัยโทษและชำระล้างพวกเขาให้สะอาดอีกครั้ง พวกเขาจะอดอาหารตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันที่เก้าไปจนถึงวันที่สิบ มหาปุโรหิตจะใส่เสื้อคลุมพิเศษแล้วจะถวายตัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปสำหรับตนเองและครอบครัวของเขา เขาจะพรหมเลือดวัวบางส่วนลงบนหีบพันธสัญญา ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาเดียวตลอดปีที่เขาได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอภิสุทธิสถานของพลับพลาหรือพระวิหาร ที่ซึ่งเก็บหีบพันธสัญญา เขาจะฆ่าแพะเพื่อไถ่บาปของประชาชน และจะไล่แพะตัวที่สองออกไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นการแสดงว่าบาปของพวกเขาถูกรับเอาไปแล้ว[8]
เทศกาลอยู่เพิง
[แก้]เทศกาลอยู่เพิงมีขึ้นหลังจากเทศกาลลบบาปห้าวัน คือในวันที่ 15 ของเดือนเจ็ด (เอทานิมหรือทิชรี ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน/ตุลาคม) เทศกาลนี้เฉลิมฉลองจากการเก็บพืชผลจากสวน (ไม่ใช่จากไร่นา) ซึ่งจะใช้เวลาเจ็ดวัน คือเมื่อชาวไร่เก็บมะกอกเทศและองุ่นแล้ว ประชาชนจะใช้กิ่งไม้ทำเพิงสำหรับตัวเอง พวกเขาจะระลึกถึงเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในถิ่นทุรกันดารหลังจากออกจากอียิปต์ และเป็นการขอบคุณพระเจ้าสำหรับผลิตผลที่เกิดขึ้นในแผ่นดินคานาอัน[9]
เทศกาลฉลองพระวิหาร หรือ เทศกาลคันประทีป
[แก้]เทศกาลนี้รำลึกถึงการชำระและถวายพระวิหารในปี 165 ก่อนคริสต์ศักราช ที่มียูดาสแมคคาบีเป็นผู้นำ เพราะอันทิโกอัสเอฟินาเนสแห่งซีเรียได้ทำให้พระวิหารเป็นมลทินในปี 168 ก่อนคริสต์ศักราช โดยการนำหมูเข้าไปถวายเป็นสัตวบูชาแก่พระซุสในพระวิหาร งานฉลองนี้ยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลคันประทีป เนื่องจากมีการจุดคันประทีปที่บ้านและธรรมศาลาทุกคืน ทุกวันนี้ชาวยิวก็ยังฉลองเทศกาลนี้อยู่โดยเรียกว่าเทศกาล "ฮานุคคาห์"[10]
เทศกาลปูริม
[แก้]เป็นเทศกาลระลึกถึงการที่เอสเธอร์และโมรเดคัยได้ช่วยชาวอิสราเอลที่อยู่ในเปอร์เซีย ให้พ้นจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยพระราชาอาหะสุเอรัส คำว่า "ปูริม" เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า "เปอร์" หมายถึงสลาก เพราะการทอดสลากเป็นวิธีที่ฮามานใช้เลือกวันล้างผลาญชาวยิวเทศกาลนี้ฉลองกันในวันที่ 14 - 15 ของเดือนสิบสอง หรือ อาดาร์ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์/มีนาคม)[11]
เทศกาลปีเสียงเขาสัตว์ (ปีที่ 50)
[แก้]ธรรมบัญญัติระบุว่าในทุกห้าสิบปี (ปีที่ถัดจากปีสะบาโตที่เจ็ด) ทั้งที่ดินและทรัพย์สมบัติ (ยกเว้นบ้านเรือน) ต้องคืนให้กับเจ้าของที่ดินดังเดิม ปล่อยทาสชาวอิสราเอลให้เป็นอิสระ ยกเลิกหนี้สินทั้งหมด และให้แผ่นดินได้พัก แต่เท่าที่ทราบชาวอิสราเอลไม่เคยรักษากฏของปีเสียงเขาสัตว์[12][13] ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาต้องตกเป็นทาสในบาบิโลน 70 ปี[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลปัสกา, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลถวายผลแรก, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ หนังสือกิจการของอัครทูต บทที่ 2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ เทศกาลเพนเทคอสต์ (ฉลองการเก็บเกี่ยว), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลเสียงแตร (ฉลองปีใหม่), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ วันลบบาป, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลอยู่เพิง, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลฉลองพระวิหาร หรือ เทศกาลโคมไฟ, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ เทศกาลปูริม, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- ↑ หนังสือพงษ์ศาวดาร ฉบับที่ 2 36:21, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสือเยเรมีห์ 25:12 ; 34:8-22, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ ปีเสียงเขาสัตว์ (ปีที่ 50), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
- หนังสืออพยพ 11; 12:1-20,43-51; 23:15; 23:16
- หนังสือเลวีนิติ 23:9-14,15-21; 16; 23:24; 23:33-36; 25:8-17; 23-55
- หนังสือกันดารวิถี 10:10; 29:1-6
- หนังสือเอสเธอร์ 3; 7; 9:24-26
- จดหมายของนักบุญยอห์น 10:22