ข้ามไปเนื้อหา

เบน เฟียริงคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบน เฟียริงคา
ศาสตราจารย์เฟียริงคาใน ค.ศ. 2017
เกิดเบร์นาร์ท ลือคัส เฟียริงคา
(1951-05-18) 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 (73 ปี)
จังหวัดเดรนเทอ ประเทศเนเธอร์แลนด์
สัญชาติชาวดัตช์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน
มีชื่อเสียงจากจักรกลโมเลกุล, ตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์, สเตอริโอเคมี, เคมีแสง
คู่สมรสBetty Feringa
รางวัลNobel Prize in Chemistry (2016)[1] Elf Stadttor (1997)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีอินทรีย์
วัสดุศาสตร์
นาโนเทคโนโลยี
เคมีแสง
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน (1984–ปัจจุบัน)
รอยัลดัตช์เชลล์ (1979–1984)
วิทยานิพนธ์Asymmetric oxidation of phenols. Atropisomerism and optical activity (1978)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกHans Wijnberg [nl]
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงNathalie Katsonis
เว็บไซต์benferinga.com
เบร์นาร์ท เฟียริงคาที่งานแถลงข่าวรางวัลโนเบลในกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ค.ศ. 2016

เบร์นาร์ท ลือคัส "เบน" เฟียริงคา (ดัตช์: Bernard Lucas "Ben" Feringa; เสียงอ่านภาษาดัตช์: [ˈbɛrnɑrt ˈlykɑs ˈbɛn ˈfeːrɪŋɣaː]) เป็นนักเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ชาวดัตช์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนาโนเทคโนโลยีระดับโมเลกุลและตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์ เฟียริงคาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณยาโกบึส วันต์โฮฟฟ์ด้านวิทยาศาสตร์เชิงโมเลกุล[2][3]ประจำสถาบันเคมีสตราติง[4] มหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกของราชสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์[5] เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2016 ร่วมกับเซอร์ เจ. เฟรเซอร์ สตอดดาร์ตและฌ็อง-ปีแยร์ โซวาฌจากผลงานด้านการออกแบบและสังเคราะห์จักรกลโมเลกุล[1][6]

การทำงาน

[แก้]

เฟียริงคาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยโกรนิงเงินใน ค.ศ. 1974[7] และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันเดียวกันใน ค.ศ. 1978 จากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกซิเดชันสารประกอบกลุ่มฟีนอลแบบอสมมาตร[8] จากนั้นจึงเข้าทำงานที่บริษัทเชลล์ในเนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรก่อนจะเข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินใน ค.ศ. 1984 ก่อนจะเลื่อนขึ้นเป็นศาสตราจารย์ในสี่ปีถัดมา งานช่วงแรกของเฟียริงคาเน้นไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์และปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยสนใจสเตอริโอเคมีของปฏิกิริยาเป็นพิเศษ[9] งานด้านสเตอริโอเคมีของเฟียริงคาทำให้เขามีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญกับเคมีแสงในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งทำให้เขาค้นพบมอเตอร์ระดับโมเลกุลที่หมุนทิศทางเดียวและควบคุมด้วยแสงเป็นครั้งแรก[10] ก่อนจะสังเคราะห์ "นาโนคาร์" หรือรถยนต์ที่มีขนาดระดับโมเลกุลที่ขับเคลื่อนโดยใช้ไฟฟ้ากระตุ้น[11] เฟียริงคาจดสิทธิบัตรกว่า 30 ฉบับ ตีพิมพ์งานวิจัยทางวิชาการกว่า 650 ฉบับและถูกนำไปอ้างอิงรวมกว่า 30,000 ครั้ง[12] และเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกมากกว่า 100 คน[13]

เกียรติประวัติ

[แก้]

สมาคมเชิงวิชาการหลายแห่งทั้งในและนอกประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับเฟียริงคาเข้าเป็นสมาชิก โดยใน ค.ศ. 1998 เฟียริงคาได้รับเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกของราชสมาคมเคมี (FRSC; Fellow of the Royal Society of Chemistry) สหราชอาณาจักร ต่อมาใน ค.ศ. 2004 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ชาวต่างชาติของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Academy of Arts and Sciences) หลังจากนั้นเขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกของราชสมาคมศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences) ใน ค.ศ. 2006[14] และดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์วิชาการ (Academy Professor) ในสถาบันเดียวกันใน ค.ศ. 2008 นอกจากนี้ เฟียริงคายังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชสมาคมเคมีแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Royal Netherlands Chemical Society)[15] ใน ค.ศ. 2016 และสมาชิกชาวต่างชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019[16]

นอกเหนือจากสมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ แล้ว เฟียริงคายังได้รับรางวัลอีกหลายรายการจากผลงานวิจัยของเขา[17][18][19][20][21][22] และร่วมเขียนบทความทบทวนวรรณกรรมในวารสารต่าง ๆ และเขียนบางบทในตำราวิชาการด้วย[23] เฟียริงคาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2016 ร่วมกับเซอร์ เจ. เฟรเซอร์ สตอดดาร์ตและฌ็อง-ปีแยร์ โซวาฌจากผลงานด้วยจักรกลโมเลกุล[1] ก่อนหน้านั้นเฟียริงคาก็ได้รับความคาดหมายว่าน่าจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ซีรีส์แอนิเมชันซิตคอม เดอะซิมป์สันส์ ตอนหนึ่งใน ค.ศ. 2010 มีฉากที่ตัวละครทายว่าใครจะได้รับรางวัลโนเบล และตัวละครหนึ่งเขียนทายว่าเฟียริงคาจะได้รับรางวัลในสาขาเคมี[24]

เฟียริงคาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ชั้นเบญจมาภรณ์ (Knight) ใน ค.ศ. 2008 จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์[25] และชั้นตริตาภรณ์จากสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016[26] นอกจากนี้เขายังได้รับสถานะ "พลเมืองกิตติมศักดิ์" จากสภาเมืองโกรนิงเงิน[27] ถนนสายหนึ่งในบ้านเกิดของเขาได้รับชื่อว่า Prof. Dr. B. L. Feringadam[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Staff (20 December 2016). "The Nobel Prize in Chemistry 2016 - Bernard L. Feringa". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
  2. "University of Groningen".
  3. "University of Groningen".
  4. "Stratingh Institute for Chemistry".
  5. "Ben Feringa". สืบค้นเมื่อ 5 January 2015.
  6. Chang, Kenneth; Chan, Sewell (5 October 2016). "3 Makers of 'World's Smallest Machines' Awarded Nobel Prize in Chemistry". New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 October 2016.
  7. Marianne. "Prof. B.L. (Ben) Feringa". www.nwo.nl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
  8. Asymmetric oxidation of phenols. Atropisomerism and optical activity. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-06. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06.
  9. Van Den Berg, M.; Minnaard, A. J.; Schudde, E. P.; Van Esch, J.; De Vries; A. H. M.; De Vries, J. G.; Feringa, B. L. (2000). "Highly enantioselective rhodium-catalyzed hydrogenation with monodentate ligands" (PDF). Journal of the American Chemical Society. 122 (46): 11539–11540. doi:10.1021/ja002507f.
  10. Feringa, Ben L.; Koumura, Nagatoshi; Zijlstra, Robert W. J.; van Delden, Richard A.; Harada, Nobuyuki (1999). "Light-driven monodirectional molecular rotor" (PDF). Nature. 401 (6749): 152–155. Bibcode:1999Natur.401..152K. doi:10.1038/43646. PMID 10490022.
  11. Kudernac, Tibor; Ruangsupapichat, Nopporn; Parschau, Manfred; Maciá, Beatriz; Katsonis, Nathalie; Harutyunyan, Syuzanna R.; Ernst, Karl-Heinz; Feringa, Ben L. (2011). "Electrically driven directional motion of a four-wheeled molecule on a metal surface". Nature. 479 (7372): 208–211. Bibcode:2011Natur.479..208K. doi:10.1038/nature10587. PMID 22071765.
  12. "webofknowledge.com". Webofscience(TM). Thomson Rueters. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  13. "Professor of Chemistry Ben Feringa supervises his 100 th PhD student". University of Groningen. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  14. "Ben Feringa". Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-17. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  15. Ben Feringa benoemd tot erelid KNCV - website of the Royal Netherlands Chemical Society
  16. "2019 NAS Election". National Academy of Sciences. April 30, 2019.
  17. "Laboratorium für Organische Chemie (LOC)".
  18. "Paracelsus Prize". Swiss Chemical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  19. "Nagoya Medal of Organic Chemistry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-27.
  20. "La Fondation Simone et Cino del Duca". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-05.
  21. "Deutsche Bunsengesellschaft für Physikalische Chemie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  22. "Professor Ben Feringa, Laureate 2015 "Chemistry for the Future Solvay Prize"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 2016-01-05.
  23. Mammana, A; Carroll, GT; Feringa, BL (2012). "Circular Dichroism of Dynamic Systems: Switching Molecular and Supramolecular Chirality". Comprehensive Chiroptical Spectroscopy. 2: 289–316.
  24. "MOLECULAR MACHINES: PROF. BEN FERINGA'S JOURNEY TO THE NOBEL PRIZE". คาอือ ลือเวิน. June 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019. The significance of this discovery was such that it didn’t escape the writers of The Simpsons who included Prof. Feringa’s name on a betting pool of possible candidates for the Nobel Prize which appeared in an episode released in 2010.
  25. "Lintjes 2008 University of Groningen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-26. สืบค้นเมื่อ 2019-12-27.
  26. "Nobelprijswinnaar Feringa nu ook Commandeur" (ภาษาดัตช์). Nederlandse Omroep Stichting. 23 November 2016. สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.
  27. "Looking back on the Nobel lecture: Ben Feringa made an Honorary Citizen of Groningen - News - News - University of Groningen". www.rug.nl. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
  28. "Barger-Compascuum eert Nobelprijswinnaar Ben Feringa". 6 April 2017. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]